เบซิงสโตค--6 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ทางเลือกใหม่ของการควบคุมระดับฟอสเฟตอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดภาระในการกินยาของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตระยะสุดท้าย
บริษัท ไชร์ จำกัด (LSE: SHP; Nasdaq: SHPGY; TSX: SHQ) ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ FOSRENOL (lanthanum carbonate) ในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) หลังจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการอนุมัติให้ใช้ควบคุมโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไป (hyperphosphataemia) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) ที่ต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการฟอกไตเพื่อขจัดของเสียและของเหลวจากเลือด (haemodialysis) หรือล้างไตด้วยน้ำยาทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis - CAPD)
ผลิตภัณฑ์ FOSRENOL นำเสนอทางเลือกด้านการรักษาด้วยวิธีง่ายๆแบบใหม่ ให้กับผู้ป่วยประมาณ 1.4 ล้นคนทั่วโลกที่ต้องฟอกไต (1) ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยงจากผลที่ตามมาของการรักษาด้วยวิธี haemodialysis
FOSRENOL เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไปในผู้ป่วย CKD ที่ต้องฟอกไต (2) FOSRENOL มีสารที่สามารถละลายฟอสเฟตได้ในระดับสูง (ตามข้อมูล vitro) (3) และสำหรับผู้ป่วยที่เป็น CKD นั้น ผลิตภัณฑ์ FOSRENOL จะช่วยสลายฟอสเฟตในระหว่างควบคุมอาหารเพื่อลดระดับเซรั่มฟอสเฟตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์ FOSRENOL มีฤทธิ์ต้านเป็นอย่างดี และผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานด้วยการเคี้ยวยาเพียงหนึ่งเม็ดในระหว่างอาหารแต่ละมื้อ (4)
ดร.เดวิด โกลด์สมิธ ที่ปรึกษาด้านไตวิทยาจากโรงพยาบาลกายส์ แอนด์ เซนต์ โธมัส ในกรุงลอนดอน ได้แสดงความยินดีต่อข่าวการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และอธิบายว่า "การควบคุมโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไปให้ได้ผล ยังคงเป็นปัญหายุ่งยากสำหรับผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องฟอกไต เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากยังคงมีระดับฟอสเฟตเกินระดับที่แพทย์แนะนำ คือเกิน 1.78 mmol/L การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ FOSRENOL ในประเทศอังกฤษช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพแบบใหม่ ด้วยคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวดที่จะช่วยลดภาระในการกินยา ซึ่งอาจช่วยให้การจัดการระดับของฟอสเฟตในผู้ป่วยเป็นไปโดยง่ายขึ้น"
ผู้ป่วยกว่า 5,000 คนได้รับการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์ FOSRENOL ในระหว่างรับการรักษาตามโครงการพัฒนาทางการแพทย์แบบครอบคลุม (5) ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนักที่ได้รับการรักษาโดยใช้เวลาถึง 6 ปี (6) ผลิตภัณฑ์ FOSRENOL มีการวางจำหน่ายมากขึ้น โดยปัจจุบันวางจำหน่ายในออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา
"ไชร์รู้สึกยินดีที่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ FOSRENOL ในอังกฤษ นอกเหนือจากความสำเร็จในการเปิดตัวที่เยอรมนีและฝรั่งเศสเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญชนิดนี้มีวางจำหน่ายมากขึ้นทั่วทวีปยุโรป" นายเดวิด มิลตัน รองประธานไชร์ เรนัล บิสิเนส ยูนิต กล่าว "การควบคุมระดับเซรั่มฟอสเฟตอย่างมีประสิทธิภาพถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเป็นความท้าทายสำหรับผู้ป่วยที่เป็น CKD ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการรักษาหลากหลายวิธีมาแล้ว ผลิตภัณฑ์ FOSRENOL นำเสนอทางเลือกด้านการรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้การควบคุมระดับฟอสเฟตเป็นไปอย่างราบเรียบมากขึ้นและง่ายขึ้น เราหวังว่าการเปิดตัวในอังกฤษจะสร้างความสำเร็จให้กับผลิตภัณฑ์ FOSRENOL ที่จำหน่ายในสหรัฐ ซึ่งผู้ป่วย CKD หลายพันคนในประเทศนี้ได้รับประโยชน์อยู่แล้ว"
โรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไป ส่วนใหญ่เป็นผลที่เกิดขึ้นจากโรค CKD อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากไตที่วายไม่สามารถขจัดฟอสเฟตส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฟอสเฟตเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายในระหว่างรับประทานอาหารในแต่ละวัน
หากไม่สามารถจัดการฟอสเฟตให้หมดไปได้ โรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุของอาการที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ การคันอย่างรุนแรง และในระยะยาวผู้ป่วยอาจเผชิญความเสี่ยงด้านสุขภาพที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงความบกพร่องในการสร้างกระดูกในบริเวณไต ภาวะกระดูกบิดเบี้ยวซึ่งทำให้เกิดการเจ็บปวด กระดูกเปราะที่อาจทำให้กระดูกแตกร้าวหรืออาจทำให้พิการ (7) ผลการสำรวจบันทึกทางการแพทย์พบว่า ฟอสเฟตในระดับสูงยังเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดในหัวใจ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตและเสียชีวิต
ในการจัดการระดับของฟอสเฟตในผู้ป่วยเหล่านี้ ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตถูกกำชับอย่างเข้มงวดให้รับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำ ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจมีรสชาติไม่อร่อยและยากที่จะรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน (9) ขณะที่การฟอกไตสามารถขจัดฟอสเฟตที่ผ่านการย่อยได้บางส่วนนั้น การฟอกไตเพียงอย่างเดียวยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ ความจริงแล้ว 75% ของผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตมีฟอสเฟตเกินข้อกำหนดของระบบริเริ่มเพื่อการสร้างคุณภาพของผลที่เกิดจากโรคไต (Kidney Disease Outcomes Quality Initiative - K/DOQI) ที่ระดับ 1.78 mmol/L (5.5 mg/dL) (10) ด้วยเหตุนี้ การบำบัดรักษาด้วยการสลายฟอสเฟตจึงเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นในการควบคุมฟอสเฟต
แม้ยังมีการรักษาตามวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่การจัดการกับฟอสเฟตอย่างมีประสิทธิภาพยังคงเป็นเรื่องท้าทาย ผลิตภัณฑ์ FOSRENOL ช่วยให้แพทย์มีทางเลือกในการรักษาแบบใหม่ เพื่อช่วยจัดการกับโรคเลือดที่มีฟอสเฟตมากเกินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต
ข้อมูลอ้างอิง:
1. Grassman A et al. ESRD patients in 2004: global overview of patient
numbers, treatment modalities and associated trends. Nephrol Dial
Transplant 2005; 20: 2587?2593.
2. Hutchison AJ et al. Long-term efficacy and tolerability of lanthanum
carbonate: results from a 3-Year Study. Nephron Clinical Practice
2006; 102: 61-71.
3. Damment SJP, Webster I. The pharmacology of lanthanum carbonate
(FOSRENOL(R)): a novel non-aluminum, non-calcium phosphate binder.
Poster presented at 36th Annual Meeting of the American Society of
Nephrology, San Diego, 14-17 November 2003.
4. Vemuri N et al. Lanthanum carbonate provides serum phosphorus control
with a reduced tablet burden. Poster presented at ERA/EDTA, Glasgow,
15-18 July 2006.
5. Shire Data on File 08.2644.
6. Hutchison A et al on behalf of the SPD405-309 Lanthanum Study Group.
Evidence for the long-term safety and tolerability of lanthanum
carbonate. Poster presented at 38th Annual Meeting of the American
Society of Nephrology, Philadelphia, 8-13 November 2005.
7. Martin K, Gonzalez A. Strategies to minimize bone disease in renal
failure. Am J Kidney Dis 2001; 38: 1430-36.
8. Block G et al. Re-evaluation of risks associated with
hyperphosphataemia and hyperparathyroidism in dialysis patients:
recommendations for a change in management. Am J Kidney Dis 2000; 35
(6): 1226-1237.
9. Malluche HH, Monier-Fugere M-C. Hyperphosphataemia: pharmacologic
intervention yesterday, today and tomorrow. Clin Nephrol 2000; 54(4):
309-17.
10. Kim J et al. Achievement of proposed NKF-K/DOQI Bone Metabolism and
Disease Guidelines: results from the Dialysis Outcomes and Practice
Patterns Study (DOPPS). J Am Soc Nephrol 2003; 14: 269A.
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
การจัดการโรคเลือดที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไป
ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารเกือบทุกชนิดและถูกดูดซึมจากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเกิดอาหารไตวาย ไตจึงไม่สามารถกรองฟอสเฟตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป แม้ว่าจะมีเครื่องฟอกไตช่วยทำความสะอาดเลือดก็ตาม ขณะที่ผู้ใหญ่ทั่วไปมีฟอสฟอรัสอยู่ในช่วงระหว่าง 2.5 (0.8mmol/L) - 4.5 mg/dL (1.4mmol/L) นั้น ระดับฟอสฟอรัสในเลือดของผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตหลายรายอยู่ในระดับเกิน 6.5 mg/dL (2.1mmol/L) ซึ่งระดับฟอสฟอรัสดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการล้มป่วยและอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกไตอย่างน้อยหนึ่งปี(i) โดยพบว่ามีผู้ป่วยสูงถึง 75% ป่วยเป็นโรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไป (hyperphosphataemia) (ii)
โรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไป จะขัดขวางการทำงานระหว่างระดับแคลเซียมในร่างกาย พาราไธรอยด์ ฮอร์โมน (PTH) และวิตามินดี โดยโรคดังกล่าวหากมีอาการนานเกินไปจะนำไปสู่การเกิดหินปูนในหัวใจ ปอด และหลอดเลือดแดงในระดับสูง (iii) การสะสมของหินปูนแสดงให้เห็นว่าโรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไปส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งคิดเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องฟอกไตที่เสียชีวิตทั้งหมด (iv) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยต้องฟอกไตอายุระหว่าง 25-34 ปีนั้น มีสูงกว่าประชาชนอายุระหว่าง 65-74 ปีที่เป็นประชากรทั่วไปถึง 5 เท่า (v)
นับตั้งแต่ที่การควบคุมอาหารและการฟอกไตไม่สามารถควบคุมระดับฟอสเฟตโดยทั่วไปได้ ผู้ป่วยจึงรักษาโรคเลือดมีฟอสฟอรัสมากเกินไปด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม คือการรับประทานสารช่วยละลายฟอสเฟต (phosphate binding agents) พร้อมกับอาหารและของว่างทุกมื้อ ซึ่งสารดังกล่าวจะดูดซับฟอสเฟตในทางเดินลำไส้ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
FOSRENOL(R) (lanthanum carbonate)
FOSRENOL(R) ทำหน้าที่ยึดเกาะฟอสเฟตที่รับประทานเข้าไปในทางเดินลำไส้ เมื่อเกิดการยึดเกาะแล้วสารประกอบแลนธานัม/ฟอสเฟต (lanthanum/phosphate) จะไม่สามารถผ่านทางเดินลำไส้เข้าไปในกระแสเลือดได้ และถูกกำจัดออกจากร่างกาย โดยมีผลต่อเนื่องที่ทำใให้การดูดซับฟอสเฟตทั้งหมดจากอาหารลดลงอย่างชัดเจน บริษัท ไชร์ ได้จัดทำโครงการวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกเพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ FOSRENOL โดยโครงการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมากกว่า 5,000 ราย (vi) โครงการนี้แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ FOSRENOL เป็นสารยึดเกาะละลายฟอสเฟตที่มีประวัติการรักษาที่ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจสำหรับการใช้ในระยะยาว ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนตุลาคม 2547 ขณะที่เดือนมีนาคม 2548 คณะกรรมการกำกับดูแลสหภาพยุโรปได้มอบใบอนุญาตให้จำหน่าย FOSRENOL ในเชิงพาณิชย์ใน 16 ประเทศสมาชิก ซึ่งการวางจำหน่ายในครั้งนี้นับเป็นขั้นตอนแรกของการอนุมัติให้นำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดทั่วทวีปยุโรป หลังจากนั้นได้มีการวางจำหน่าย FOSRENOL ในออสเตรีย เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอซแลนด์ ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และสวีเดน ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ยุโรปได้เสร็จสิ้นลงเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งส่งผลให้มีการอนุมัติการใช้ยาในอีก 11 ประเทศสมาชิกที่เหลือ ส่วนการจัดจำหน่ายในประเทศอื่นๆในยุโรปและประเทศอื่นๆทั่วโลก กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้ บริษัทได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท ไบเออร์ ยาคูฮิน จำกัด (Bayer Yakuhin Ltd.) ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้มีสิทธิพัฒนา ทำการตลาดและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ FOSRENOL
ผู้ป่วยที่ไตทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพอาจลุกลามไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการติดตามระดับเซรั่มแคลเซียมในช่วงเวลาปกติสำหรับผู้ป่วยที่มีอากาดังกล่าว และควรได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสม
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ตับได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง ดังนั้นจึงควรออกคำเตือนแก่ผู้ป่วย เนื่องจากการขจัดแลนธานัมที่ถูกดูดซึมอาจลดลงได้
ไม่ควรใช้ยา FOSRENOL ขณะตั้งครรภ์
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบรุนแรง แผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ โรคโครนส์ (Crohn's disease) ซึ่งมีอาการลำไส้อักเสบ หรือลำไส้ทำงานไม่ปกติ ไม่ได้รับคำแนะนำให้เข้าร่วมในการทดลองทางการแพทย์ที่มีการใช้ยา FOSRENOL
บริษัทไชร์
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของไชร์ คือการก้าวขึ้นเป็นบริษัทยาชั้นนำเฉพาะด้าน ที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของแพทย์เฉพาะทาง โดยไชร์ มุ่งเน้นธุรกิจในด้านการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้น(ADHD) การรักษาเกี่ยวกับยีนส์ของมนุษย์(HGT) ระบบลำไส้(GI) และเชื้อโรคที่เกี่ยวกับไต โครงสร้างองค์กรที่มีความยืดหยุ่นอย่างมีนัยสำคัญช่วยให้ไชร์ตั้งเป้าหมายด้านการรักษาโรคแขนงใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการรุกเข้าซื้อหุ้น โดยไชร์เชื่อว่า การคัดเลือกลุ่มผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวังด้วยการใช้กลุยุทธ์ที่เหมาะสม และหน่วยงานขายที่มีขนาดย่อย จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่แข็งแกร่ง
กลยุทธ์ที่ไชร์มุ่งเน้นคือ การพัฒนาและทำการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับแพทย์เฉพาะทาง ส่วนความพยายามในการขอใบอนุญาต การควบรวมกิจการและการเข้าซื้อหุ้นของไชร์นั้น บริษัทมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในตลาดระดับบนซึ่งมีมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไชร์ สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของบริษัทที่ www.shire.com
มาตรการคุ้มครองการให้ข้อมูล (SAFE HARBOR) ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปการดำเนินด้านคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคล พ.ศ. 2538
แถลงการณ์ซึ่งครอบคลุมถึงข้อความที่ไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ฉบับนี้ เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในหลายๆด้าน และข้อความที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ผลประกอบการของไชร์อาจได้รับผลกระทบด้วย ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นนั้น ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนที่มีอยู่ก่อนของงานวิจัยด้านเวชภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตและการค้า ผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการแข่งขันซึ่งรวมถึงผลกระทบของเครือข่ายผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น(ADHD)ที่อยู่ในความดูแลของไชร์ สิทธิบัตร ซึ่งรวมถึงความท้าทายทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเครือข่ายผู้ป่วยสมาธิสั้นที่อยู่ในความดูแลของไชร์ ข้อบังคับและการอนุมัติของรัฐบาล รวมถึงวันที่อนุมัติให้จำหน่ายสินค้าตามที่ระบุบน SPD503( รายงานการขยายผลของ guanfacine)(ADHD), SPD465 (รายงานการขยายผลเกี่ยวกับสารแอมเฟตามีนที่มีการทดสอบ 3 ครั้ง) (ADHD), MEZAVANT(TM) (SPD476) (mesalazine) ในยุโรป,และ VYVANSE(TM) (NRP104) (lisdexamfetamine dimesylate) (ADHD) รวมถึงการกำหนดเวลาจากสำนักงานบริหารด้านเวชภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา ความสามารถของไชร์ในการนำเสนอหรือคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่เพื่อการค้าหรือพัฒนา และความเสี่ยงรวมถึงความไม่แน่นอนอื่นๆที่มีรายละเอียดจากระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีกระยะเวลาหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของไชร์ที่อยู่ภายใต้ชื่อบริษัท ไชร์ ฟาร์มาซูติคอลส์ กรุ๊ป ที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับ Form 10-K ในปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค.2548
phosphate product with mortality risk in chronic hemodialysis
patients: A national study. Am J Kidney Dis 1998; 31: 607-617
Disease Guidelines: results from the Dialysis Outcomes and Practice
Patterns Study (DOPPS). J Am Soc Nephrol 2003; 14: 269A
chronic renal disease. Dial Transplant 1998; 27 (12): 767-773
hyperphosphataemia and hyperparathyroidism in dialysis patients:
recommendations for a change in management. Am J Kidney Dis 2000; 35
(6): 1226-1237
chronic renal disease. Am J Kidney Dis 1998; 32 (5) Suppl 3:112-119
Evidence for the long-term safety and tolerability of lanthanum
carbonate. Poster presented at 38th Annual Meeting of the American
Society of Nephrology, Philadelphia, 8-13 November 2005
แหล่งข่าว : บริษัทไชร์
ติดต่อ: ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์:
คลีอา โรเซนเฟลด (ทั่วโลก)
โทร +44 1256 894 160
หรือไบรอัน ไพเปอร์ (อเมริกาเหนือ)
โทร +1-484-595-8252
หรือสื่อมวลชนติดต่อ:
เจสสิก้า เมนน์ (ทั่วโลก)
โทร +44 1256 894 280
หรือ แมทธิว คาเบรย์ (อเมริกาเหนือ)
โทร +1-484-595-8248
หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์:
แซนดร้า จอห์น-ชาร์ลส์ (สหราชอาณาจักร),
โทร +44 207 357 8187
ทั้งหมดจากไชร์
เว็บไซต์: http://www.shire.com
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit