รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา 07.00 น.

03 Nov 2006

กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--ปภ.

1. ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่

1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 388 อำเภอ 32 กิ่งอำเภอ 2,561 ตำบล 15,231 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,152,811 คน 1,168,569 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร

1.2 ความเสียหาย

1) ผู้เสียชีวิต 195 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 คน จังหวัดเชียงใหม่ 7 คน จังหวัดลำปาง 3 คน จังหวัดสุโขทัย 14 คน จังหวัดพิษณุโลก 12 คน จังหวัดพิจิตร 15 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน จังหวัดนครสวรรค์ 12 คน จังหวัดอุทัยธานี 7 คน จังหวัดชัยนาท 8 คน จังหวัดสิงห์บุรี 18 คน จังหวัดอ่างทอง 14 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 31 คน จังหวัดลพบุรี 2 คน จังหวัดสุพรรณบุรี 4 คน จังหวัดปทุมธานี 6 คน จังหวัดปราจีนบุรี 11 คน จังหวัดจันทบุรี 3 คน จังหวัดชัยภูมิ 10 คน ยโสธร 9 คน ร้อยเอ็ด 2 คน จังหวัดพังงา 1 คน และ กรุงเทพมหานคร 2 คน (จากเดิม 179 คน เพิ่มเป็น 195 คน)

2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 54 หลัง เสียหายบางส่วน 10,336 หลัง ถนน

6,445 สาย สะพาน 448 แห่ง ท่อระบายน้ำ 396 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 547 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 3,332,391 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 40,249 บ่อ วัด/โรงเรียน 1,187 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 1,124,774,853 บาท (ไม่รวมทรัพย์สิน บ้านเรือน และความเสียหายด้านการเกษตร)

2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 32 จังหวัด

3. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร จำนวน 66 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 15 เขต ราษฎรเดือดร้อน 1,170,291 คน 367,512 ครัวเรือน แยกเป็น

3.1 จังหวัดนครปฐม น้ำที่ระบายจากคลองพระยาบรรลือไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน น้ำท่วมในชุมชนตำบลบัวปากท่า เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบล ลำพญา เทศบาลตำบลบางภาษี และเทศบาลตำบลบางเลน ระดับน้ำสูง 0.35-1.15 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อำเภอนครชัยศรี มีน้ำท่วมชุมชนตำบลห้วยพลู ตำบลลานตากฟ้า ตำบลบางแก้วฟ้า และตำบลไทยาวาส ระดับน้ำสูงประมาณ 0.25-0.45 ม. อำเภอพุทธมณฑล น้ำท่วมชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองโยง และริมคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำสูง 0.80-1.00 ม.

3.2 จังหวัดพิษณุโลก น้ำในแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ (7 ตำบล) และอำเภอพรหมพิราม (2 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. ระดับน้ำลดลง

3. 3 จังหวัดพิจิตร น้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านลดต่ำลงกว่าตลิ่ง ทำให้ระดับน้ำที่ท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 6 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอวชิรบารมี (3 ตำบล) อำเภอ สามง่าม (3 ตำบล) อำเภอโพธิ์ประทับช้าง (4 ตำบล) อำเภอโพทะเล (8 ตำบล) อำเภอบางมูลนาก (3 ตำบล) และ กิ่งอำเภอบึงนาราง (2 ตำบล) มีระดับลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม. และน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าวเริ่มเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น

3.4 จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมแสง (9 ตำบล) และอำเภอเก้าเลี้ยว (1 ตำบล) และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (5 ตำบล) อำเภอโกรกพระ (7 ตำบล) อำเภอพยุหะคีรี (5 ตำบล) และอำเภอท่าตะโก (3 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.55 ม. ระดับน้ำลดลง

3.5 จังหวัดอุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรัง ของอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.10-0.30 ม. ระดับน้ำลดลง

3.6 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (5 ตำบล) อำเภอมโนรมย์ (4 ตำบล) อำเภอวัดสิงห์ (7 ตำบล) และอำเภอสรรพยา (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.

3.7 จังหวัดลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (8 ตำบล) และอำเภอท่าวุ้ง (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำลดลง

3.8 จังหวัดสระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่

อำเภอดอนพุด (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.80-1.15 ม. และอำเภอหนองแซง (1 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม.

3.9 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภออินทร์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง อำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน ระดับน้ำสูง 0.40-1.80 ม.

3.10 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำใน

7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.70 ม. ส่วนที่อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอสามโก้ (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.40-1.45 ม.

3.11 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีระดับสูงเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ลุ่มริมแม่น้ำในพื้นที่ 16 อำเภอ 3 เทศบาล ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอมหาราช อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอบางปะอิน อำเภอบ้านแพรก อำเภอภาชี อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอวังน้อย อำเภออุทัย อำเภอบางซ้าย เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลเมืองอโยธยา และเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูง 0.20-1.70 ม.

3.12 จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากน้ำที่ท่วมจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง ไหลหลากเข้าทุ่งทำให้ท่วมบ้านเรือนราษฎร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.45-0.65 ม. และอำเภอบางปลาม้า (7 ตำบล) ระดับน้ำสูง 1.00-1.55 ม. ส่วนอำเภอสองพี่น้อง น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ระดับน้ำสูง 1.00-2.10 ม.

3.13 จังหวัดปทุมธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.40-0.50 ม. อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 ม.

มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับอำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม. ระดับน้ำทรงตัว

3.14 จังหวัดนนทบุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำของอำเภอปากเกร็ด และอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.40-0.60 ม. ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำของกรมชลประทานจากทุ่งเจ้าเจ็ดผ่านคลองพระยาบรรลือ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางกรวย อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อย ระดับน้ำสูง 0.50-1.85 ม.

3.15 กรุงเทพมหานคร ปริมาณน้ำในเขตทุ่งฝั่งตะวันออกมีมาก ทำให้มีน้ำท่วมขัง 4 เขต ได้แก่ เขตลาดกระบัง (16 ชุมชน) เขตมีนบุรี บริเวณคลองพังพวย หมู่ที่ 18 แขวงแสนแสบ เขตหนองจอก (10 ชุมชน) และเขตสายไหม บริเวณชุมชนพรพระร่วง และซอยสายไหม 31-35 ระดับน้ำเฉลี่ยสูงประมาณ 0.05-1.50 ม. และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ นอกแนวคันกั้นน้ำมีราษฎรเดือดร้อนใน 11 เขต 33 ชุมชน 2,111 ครัวเรือน

4. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา 06.00 น.

ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้และอ่าวไทย มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุม ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตราย ในการเดินเรือ ในระยะ 1-2 วันนี้ อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ซิมารอน” ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วเมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (3 พ.ย.49) มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฮ่องกงห่างประมาณ 500 กิโลเมตร หรือ ที่ละติจูด 18.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กม./ชม. พายุนี้เคลื่อนตัวไปทางตอนใต้อย่างช้า ๆ โดยมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงอีกและจะไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

5. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น. วันที่ 2 พ.ย.49 ถึง 01.00 น. วันที่ 3 พ.ย.49 วัดได้ ดังนี้ จังหวัดสงขลา

(อ.เมือง)

27.1 มม.

จังหวัดภูเก็ต

(อ.เมือง)

17.1 มม.

6. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 2 พ.ย.49) โดยกรมชลประทาน

  • เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,291 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 171 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 21.35 ล้าน ลบ.ม.
  • เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 9,455 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 55 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 15.01 ล้าน ลบ.ม.
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 899 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 61 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 8.65 ล้าน ลบ.ม.

7. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแนวโน้มสถานการณ์น้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 โดยกรมชลประทาน)

  • ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำสูงสุด 5,960 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่

18 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น. เริ่มลดลงในวันที่ 19 ตุลาคม 2549 และลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึง วันที่

3 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 3,040 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

  • ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีปริมาณน้ำสูงสุด 4,188 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำทรงตัวและเริ่มลดลงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 และลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 3,022 ลบ.ม./วินาที

เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

  • ปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งและผันเข้าทุ่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงระหว่าง จ.ชัยนาท -

จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำผันและล้นตลิ่งเข้าทุ่ง 1,177 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 และมีปริมาณน้ำเข้าทุ่งน้อยลงโดยลำดับมาจนถึง วันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 มีปริมาณน้ำผันและล้นตลิ่งเข้าทุ่ง 391 ลบ.ม./วินาที รวมได้ส่งน้ำเข้าพื้นที่ชลประทาน 1.19 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำทั้งหมด 514 ล้าน ลบ.ม.

  • ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำสูงสุด 3,719 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร 3,099 ลบ.ม./วินาที

8. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที

9. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป