ไอบีเอ็มระดมความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา และองค์กรธุรกิจชั้นนำร่วมอุทิศพลังประมวลผลพีซีเหลือใช้เพื่อสนับสนุนโครงการ World Community Grid

24 May 2006

กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--ไอบีเอ็ม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สหยูเนี่ยนและคอมพิวเตอร์ เป็นพันธมิตรกลุ่มแรกในประเทศไทย ที่ร่วมสร้าง Virtual Donation แห่งเทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้ง

ไอบีเอ็มประกาศในวันนี้ว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต,สหคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน สมัครเข้าเป็นพันธมิตรในฐานะผู้ร่วมบริจาคพลังประมวลผลเหลือใช้ของคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรให้แก่โครงการ World Community Gride เพื่อเป็นอีกพลังสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้ง(Grid Computing)สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมโลก

นางสุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า"ไอบีเอ็ม ประเทศไทย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือและการแสดงเจตนารมณ์ร่วมจากหน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา ตลอดจนถึง องค์กรธุรกิจชั้นนำในประเทศดังกล่าวทั้ง 3 แห่ง ซึ่งต่างตระหนักถึงคุณค่าของเทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้ง(Grid Computing)ระบบมาตราฐานเปิด(Open Standards)และได้สละพลังทางด้านมนุษยธรรม ระบบการศึกษา รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ไอบีเอ็มประกาศจุดยืนแน่ชัดในการแสวงหาความร่วมมือกับภาครัฐ และสังคมโดยรอบในการสร้างนวัตกรรม(Innovation)อันจะเป็นการสร้างคุณประโยชน์นานับประการให้แก่มวลมนุษย์ทุกเชื้อชาติเผ่าพันธ์ในท้ายที่สุด"

โครงการ World Community Gride เป็นโครงการที่ไอบีเอ็มร่วมกับหลายหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาและโครงการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมชั้นนำของโลก ในการประยุกต์เทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้งมาสร้างคุณประโยชน์ที่มุ่งบรรเทาและช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ทั้งทางด้านการแพทย์สาธารณสุข ในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อเข้าถึงสาเหตุของโรคติดต่อร้ายแรงอย่างเอดส์ อัลไซเมอร์ มะเร็งและโรคอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุสำคัญคร่าชีวิตมนุษยชาติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการวิจัยเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรง มลพิษในบรรยากาศโลก และการแก้ปัญหาทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอาหารสำหรับประชากรโลก ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบัน มีสมาชิกที่ร่วมอุทิศพลังประมวลผลเหลือผ่านทางโครงการ World Community Gride แล้วรวมมากกว่า 180,000 คน / แห่ง และมีอุปกรณ์พีซีที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 324,000 เครื่อง คิดเป็นพลังประมวลผลจำนวนมหาศาลที่หากต้องใช้เวลาในการสร้างพลังนั้นขึ้น ต้องใช้เวลามากกว่า 40,731 ปี ประมวลผลต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยความละเอียดในการคำนวณที่ซับซ้อน รวมถึงในกรณีที่เราจะทำการวิจัยงานต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวอาจต้องใช้เวลานานจึงจะคำนวณจนเสร็จ เพียงแค่ใช้โครงข่ายของWorld Community Grid สามารถร่นระยะเวลาการทำงานจากระดับเวลาปีเป็นวันได้

ปัจจุบัน มีโครงการเพื่อช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมได้ใช้ประโยชน์จากพลังประมวลผลของ World Community Grid อาทิ โครงการ Human Proteome Folding ซึ่งเป็นโครงการวิเคราะห์โครงสร้างโปรตีนที่มีผลต่อยีนส์มนุษย์อันเป็นสาเหตุของโรคภัยร้ายแรงต่าง ๆ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวสามารถสร้างผลงานในการวิจัยค้นคว้าโปรตีนได้มากกว่า 50,000โครงสร้าง โดยใช้เวลาไปเพียงไม่กี่เดือนแต่สามารถใช้พลังประมวลผลไปมากเทียบเท่ากับพลังประมวลผลที่ต้องใช้เวลาถึง 100 ปี และ FightAIDS@Home ซึ่งเป็นโครงการสืบเนื่องจากโครงการ Human Proteome Folding ที่มุ่งค้นคว้าวิจัยยาต้านทานไวรัส HIV

ทางด้านมาตรการความปลอดภัยของระบบในโครงการWorld Community Grid ระบบได้ทำการตรวจหาไวรัสอย่างสม่ำเสมอ มีการทำเข้ารหัสความปลอดภัยให้กับทุกชิ้นงานที่ส่งมาประมวลผลและจัดเก็บที่เครื่องพีซีที่เข้าร่วมโครงการ และทุกครั้งที่บุคคลเปิดเครื่องให้ระบบเข้ามาดึงพลังประมวลผล จะต้องผ่านการควบคุมที่เรียกว่า Biometric Access Control ก่อนจะเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์กลาง และไอบีเอ็มยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของระบบไอทีทำการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ เพื่อเฝ้าระวังจัดการกับความผิดปกติหรือความไม่ชอบมาพากลของทุกธุรกรรม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

คุณอรอุมา วัฒนะสุข

โทร. 02-273-4117 อีเมล์: [email protected]