โซโฟสรายงานบัญชีดำสิบอันดับไวรัสและไวรัสปลอมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549

03 Mar 2006

กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--โซโฟส

โซโฟสรายงานบัญชีดำสิบอันดับไวรัสและไวรัสปลอมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549

โทรจัน ฮอร์ส กลับมาครองชาร์ตอีกครั้งด้วยการจู่โจมแบบสแปม

โซโฟส องค์กรชั้นนำในการปกป้องธุรกิจให้ปลอดภัยจากไวรัส สปายแวร์ และสแปม รายงานผลการจัดอันดับไวรัสและไวรัสปลอม ที่ก่อเหตุวุ่นวายสร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจต่างๆ รอบโลกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2549

โดยรายงานนี้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเครือข่ายของศูนย์ตรวจตราไวรัสต่างๆ รอบโลก เปิดเผยถึง โทรจัน ฮอร์ส ชื่อ Clagger-G ซึ่งกระโดดเข้ามาในชาร์ตของเดือนนี้ว่า มันแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามเพื่อเจาะข้อมูลทางการเงินได้ใช้เทคโนโลยีผสมระหว่างมัลแวร์ และสแปม ส่วน Nyxem-D ซึ่งรู้จักกันในนาม หนอนลามก Kama Sutra ได้ไต่ขึ้นจากอันดับ 4 มาครอบอันดับ 2 แสดงให้เห็นความสำเร็จของการใช้เซ็กส์มาเป็นตัวล่อให้คนใช้คอมฯ ติดไวรัสดังกล่าวได้

สิบอันดับไวรัสประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีดังนี้

1. Netsky-P

13.9%

2. Nyxem-D

9.3%

3. Bagle-Zip

8.8%

กลับเข้ามาในชาร์ตอีกครั้ง

4. Zafi-B

8.4%

5. Mytob-FO

6.0%

6. Mytob-EX

3.7%

7. Bagle-CH

2.7%

ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก

8. Clagger-G

2.6%

ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก

9. Netsky-D

2.4%

10. Mytob-BE

2.3%

อื่นๆ

39.9%

Nyxem-D นั้นถูกตรวจพบเจอเมื่อวันที่ 18 มกราคมและยังก่อกวนอย่างไม่หยุดยั้ง โดยนับได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9.3% ของมัลแวร์ที่ได้รับการรายงานในเดือนนี้ หนอนอีเมล์ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่แฝงมาในรูปแบบของสิ่งลามกอนาจาร เพื่อพยายามที่จะแพระระบาดให้มากที่สุด รวมถึงเทคนิคการทำให้ซอฟต์แวร์ด้านซิเคียวริตี้ต้องหยุดทำงานไปด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม หนอนที่ขึ้นชื่อกระฉ่อนอย่างนี้ก็ไม่สามารถสู้ความแรงของไวรัส Netsky-P ที่รักษาอันดับอยู่ในชาร์ตอย่างเหนียวแน่นและกลับมาครองอันดับหนึ่ง หลังจากหลบอยู่ในเงาความแรงของ Sober-Z มาเป็นเวลา 3 เดือนด้วยกัน หนอนตัวนี้ได้ถูกโปรแกรมให้หยุดแพร่ระบาดในวันที่ 6 มกราคม 2549 ส่วน Netsky-P ได้ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2547 และได้ก่อกวนผู้ใช้คอมฯ ที่ไม่ระมัดระวังตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สิ่งที่น่าฉงนสร้างความประหลาดใจได้มากที่สุดเห็นจะเป็นโทรจันฮอร์ส ชื่อ Clagger-G ที่กลับผุดขึ้นมาอีกครั้ง มาอยู่ในอันดับ 8 ของเดือนกุมภาพันธ์นี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสแปมชนิดระบาดไปสู่คนใช้คอมฯ จำนวนมากๆ ก็สามารถไต่อันดับได้ไม่แพ้ไวรัสจำพวกมัลแวร์ที่แพร่ระบาดด้วยตัวมันเอง

“ในการที่ โทรจัน Clagger สามารถปรากฏตัวอยู่ในการจัดสิบอันดับไวรัสนี้ มันจะต้องใช้เทคนิคการสแปมไปยังอีเมล์ทั่วโลกเป็นล้านๆ อีเมล์” กล่าวโดย แคโรล เทรีอุล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านซิเคียวริตี้ของโซฤส “โทรจัน ฮอร์ส มันไม่สามารถที่จะแพร่ระบาดด้วยตัวมันเองได้นั้น นับเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของมัลแวร์ที่ได้รับการรายงานไว้ทั้งหมด เทคนิดที่ใช้แทนที่จะเป็นการกระหน่ำให้ระบาดไปสู่ผู้ใช้คอมฯ เป็นจำนวนมากๆ ผู้เขียนโทรจัน ส่วนใหญ่เล็งความสนใจไปยังกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ เพื่อที่จะฉ้อฉลเงินสดและข้อมูลสำคัญเฉพาะบุคคล”

Bagle-Zip ได้กลับเข้ามาครองอันดับ 6 ในขณะที่ Bagle-CH ที่ได้รับการตรวจเจอเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ได้กลับเข้ามาในชาร์ตอยู่ที่อันดับที่ 7

“ธุรกิจต่างๆ และบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้ทำการปกป้องอย่างจริงจัง เหมือนกับการรอคอยที่จะให้หนอนไวรัสเหล่านี้มาสร้างความเสียหายให้กับเน็ตเวิร์กของคุณ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ยังง่ายที่จะควบคุมถ้าหากได้มีการสร้างนโยบายด้านรักษาความปลอดภัยไว้แล้ว” กล่าวเสริมโดย แคโรล

การวิจัยของโซโฟสแสดงให้เห็นว่า 1.1% หรือ 1 ใน 90 อีเมล์เป็นไวรัส โดยโซโฟสที่ได้ตรวจพบ และปกป้องไวรัสต่างๆ ที่เป็นภัยร้ายแฝงตัวในอีเมล์เป็นจำนวนรวม 119,192 อีเมล์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึง 1,132

การจัดสิบอันดับของไวรัสปลอมและจดหมายส่งต่อ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ไว้ดังนี้

1. Hotmail hoax

15.5% ครองอันดับหนึ่งนานถึง 20 เดือน

2. A virtual card for you

9.4%

3. Meninas da Playboy

7.5%

4. Bonsai kitten

7.2%

5. Budweiser frogs screensaver

4.8%

6. MSN is closing down

3.8%

7. Olympic torch

3.3%

ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก

7= WTC Survivor

3.3%

9. Bill Gates fortune

2.9%

10. Applebees Gift Certificate

2.3%

อื่นๆ

40.0%

“ไวรัสปลอมที่เกี่ยวกับคบไฟโอลิมปิกได้แพร่ระบาดในหมู่ผู้ใช้คอมฯ ในเดือนนี้โดยอาศัยกระแสของความตื่นเต้นของคนทั่วโลกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว” กล่าวเสริมโดย แคโรล “หลายๆ คนต่างก็พากันแตกตื่นเมื่อได้เผชิญหน้ากับไวรัสปลอมตัวนี้เพราะว่ามันเตือนผู้ใช้ให้ระวังตัวกับอีเมล์ที่ใช้หัวข้อว่า 'Invitation' - claiming that it is 'the most destructive virus ever' อีเมล์เหล่านี้ไม่เพียงแค่โอเว่อร์โหลดแบนด์วิธเท่านั้น แต่มันยังทำให้สูญเสียเวลาและทำให้ผู้ที่รับอีเมล์ดังกล่าวกังวลโดยเปล่าประโยชน์”

โซโฟสได้จัดทำข้อมูลอัพเดทฟรีอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับมัลแวร์และ ข่าวทั่วไปเกี่ยวกับซิเคียวริตี้โดยการใช้บริการป้อนข้อมูลโดยเทคนิค RSS ผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sophos.com/feeds

ภาพกราฟฟิกของสิบอันดับไวรัสติดชาร์ตของโซโฟส สามารถดาวน์โหลดได้ที่

www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

สำหรับข้อมูลแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึง นโยบายต่อต้านไวรัสปลอม สามารถสืบค้นได้ที่ www.sophos.com/virusinfo/bestpractice/

เกี่ยวกับโซโฟส

โซโฟส เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอโซลูชั่นส์ในด้านการจัดการ และการพัฒนาระบบป้องกันภัยคุกคามจากไวรัส สปายแวร์ สแปม ครอบคลุมด้านธุรกิจ การศึกษา และหน่วยงานราชการ โซโฟสมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ใน สหราชอาณาจักร มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไว้วางใจได้ ง่ายต่อการใช้ โดยผลิตภัณฑ์ของโซโฟสได้ทำการปกป้องผู้ใช้คอมฯ กว่า 35 ล้านรายในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 20 ปี กอปรกับเครือข่ายศูนย์วิเคราะห์ภัยคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทางองค์กรสามารถตอบรับได้อย่างรวดเร็วกับภัยคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าภัยดังกล่าวจะมีความซับซ้อนอย่างไร รวมถึงความสามารถในการชนะใจลูกค้าซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดในแวดวงอุตสาหกรรมนี้

สื่อมวลชนสามารถติดต่อเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สุรัตน์ ตัณ

โทรศัพท์/โทรสาร: 02-673-6808

มือถือ: 01-752-4809

อีเมล์: [email protected]จบ--

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit