รัฐมนตรีคลังอาเซียนและ FTSE Group ร่วมเปิดตัวดัชนี FTSE/ASEAN สร้างแบรนด์ “อาเซียน” ในตลาดทุนโลก

22 Sep 2005

กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

รัฐมนตรีคลังอาเซียนและ FTSE Group ร่วมเปิดตัวดัชนี FTSE/ASEAN สร้างแบรนด์ “อาเซียน” ในตลาดทุนโลกตลาดหุ้นภูมิภาคอาเซียนจับมือ FTSE Group จัดทำดัชนีระดับสากล FTSE/ASEAN สะท้อนภาพ ตลาดของ ภูมิภาค สร้างแบรนด์ของ “อาเซียน” ให้โดดเด่น เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน

วันที่ 21 ก.ย. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนร่วมเปิดตัวดัชนี FTSE/ASEAN ในงาน The ASEAN Finance Ministers’ Investors Seminar ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งกลุ่มประเทศในอาเซียนได้ร่วมกับ FTSE Group จัดทำขึ้นครั้งแรก

ดัชนี FTSE/ASEAN เป็นดัชนีที่เกิดจากการผลักดันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ประเทศในกลุ่มอาเซียนในการสร้างแบรนด์ “อาเซียน” ให้โดดเด่นในแง่การเป็นทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจ และเป็นดัชนีที่ใช้วัดการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอาเซียนโดยรวม นอกจากนี้ ยังทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้มีดัชนีอ้างอิงสำหรับตราสารทางการเงินและเอื้อให้มีสินค้าใหม่ๆ ในตลาดด้วย

โครงการจัดทำดัชนี FTSE/ASEAN เป็นความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน 5 แห่งประกอบด้วย ตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซ่ามาเลเซีย (Bursa Malaysia Berhad) ตลาดหลักทรัพย์ จาการ์ต้า (Jakarta Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ (The Philippine Stock Exchange) ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Stock Exchange) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดัชนี FTSE/ASEAN จะเริ่มใช้และเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 48 เป็นต้นไป ประกอบด้วย:

1) ดัชนี FTSE/ASEAN เป็นดัชนีอ้างอิง (Benchmark Index) สำหรับตลาดหลักทรัพย์ใน อาเซียน 5 แห่ง คำนวณโดยใช้ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ 180 แห่งในตลาดหุ้นทั้งห้าแห่งดังกล่าว

2) ดัชนี FTSE/ASEAN 40 เป็นดัชนีที่สามารถซื้อขายได้ (Tradable Index) สำหรับ กองทุนต่างๆ กองทุนประเภทอีทีเอฟ (Exchange Traded Funds) รวมถึงเป็นหลักทรัพย์อ้างอิงสำหรับ สัญญาอนุพันธ์ (Derivatives Contracts) ต่างๆ เป็นต้น

ดัชนี FTSE/ASEAN เป็นดัชนีระดับสากลชุดแรกที่ออกแบบมาเพื่อใช้อ้างอิงตลาดหุ้นอาเซียน โดยเฉพาะ มีการจัดทำด้วยหลักเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มีการปรับค่าการกระจายหุ้นแก่ผู้ลงทุน รายย่อย (Free Float) และใช้เกณฑ์การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมแบบ ICB (Industry Classification Benchmark)

ตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน 5 แห่งแถลงร่วมกันว่า “โครงการร่วมกันจัดทำดัชนีของตลาด หลักทรัพย์ในอาซียน สะท้อนให้เห็นถึงการผนึกกำลังในระดับภูมิภาค ในการร่วมกันพัฒนาตลาดการเงินของ อาเซียน การมีดัชนีของภูมิภาคที่จัดทำตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ได้การยอมรับในระดับสากลของโดย FTSE Group จะทำให้ชื่อของ “อาเซียน” เป็นที่ยอมรับ น่าสนใจ และรู้จักแพร่หลายในกลุ่มผู้ลงทุน ต่างประเทศมากขึ้น

นายมาร์ก เมคพีซ ประธานกรรมการบริหารของ FTSE Group กล่าวเพิ่มเติมว่า “FTSE รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกให้จัดทำดัชนีใหม่สำหรับตลาดหลักทรัพย์ในอาเซียน อันจะเอื้อให้ผู้ที่ต้องการ ลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงทุนในภูมิภาคได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งโครงการนี้ เป็น อีกผลงานหนึ่งที่เราภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำในระดับนานาชาติ”

ผู้สนใจรายละเอียดต่างๆ เช่น รายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณชุดดัชนี FTSE/ASEAN ความเคลื่อนไหวของดัชนี และรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตามได้จากเว็บไซต์

www.ftse.com/asean และเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนทั้ง 5 แห่ง

เอกสารแนบประกอบข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ ฉบับที่ 200/2548 วันที่ 21 กันยายน 2548

รายชื่อหลักทรัพย์ในดัชนี FTSE/ASEAN40 (ณ 31 ส.ค. 2548)

ลำดับ

หลักทรัพย์

ประเทศ

มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด

มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (สุทธิ* –

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

1

DBS Group Holdings

สิงคโปร์

13,792

10,344

8.30%

2

Singapore Telecom

สิงคโปร์

25,346

10,138

8.10%

3

United Overseas Banking

สิงคโปร์

12,948

9,711

7.80%

4

Overseas Chinese Banking

สิงคโปร์

11,684

8,763

7.00%

5

Malayan Banking

มาเลเซีย

11,155

5,577

4.50%

6

Telekomunikasi Indonesia

อินโดนีเซีย

10,080

5,040

4.00%

7

PTT

ไทย

16,660

4,998

4.00%

8

Tenega Nasional

มาเลเซีย

9,334

4,667

3.70%

9

Singapore Airlines

สิงคโปร์

8,578

4,289

3.40%

10

Singapore Press Holdings

สิงคโปร์

4,183

4,183

3.30%

11

Keppel Corp

สิงคโปร์

5,384

4,038

3.20%

12

Malaysian Intl Shipping

มาเลเซีย

8,777

3,511

2.80%

13

City Developments

สิงคโปร์

4,425

3,319

2.70%

14

PTT Exploration & Production

ไทย

7,640

3,056

2.40%

15

Astra International

อินโดนีเซีย

3,960

2,970

2.40%

16

Sime Darby

มาเลเซีย

3,832

2,874

2.30%

17

Telekom Malaysia

มาเลเซีย

9,312

2,794

2.20%

18

Bangkok Bank

ไทย

5,129

2,513

2.00%

19

IOI

มาเลเซีย

3,347

2,510

2.00%

20

Capitaland

สิงคโปร์

4,571

2,285

1.80%

21

Singapore Technologies Engineering

สิงคโปร์

4,445

2,222

1.80%

22

Advanced Info Service

ไทย

7,177

2,153

1.70%

23

Bank Central Asia

อินโดนีเซีย

4,076

2,038

1.60%

24

Maxis Communications

มาเลเซีย

6,240

1,872

1.50%

25

Genting

มาเลเซีย

3,567

1,819

1.50%

26

Kasikornbank

ไทย

3,588

1,758

1.40%

27

Siam Cement

ไทย

6,973

1,743

1.40%

28

Bank Rakyat Indonesia

อินโดนีเซีย

2,941

1,471

1.20%

29

British American Tobacco (Malaysia)

มาเลเซีย

2,895

1,448

1.20%

30

Sembcorb Industries Limited

สิงคโปร์

2,854

1,427

1.10%

31

Astro All Asia Networks

มาเลเซีย

2,791

1,395

1.10%

32

Commerce Asset Holdings

มาเลเซีย

3,976

1,193

1.00%

33

Resorts World

มาเลเซีย

2,981

1,193

1.00%

34

Neptune Orient Lines

สิงคโปร์

2,777

1,111

0.90%

35

Indosat

อินโดนีเซีย

2,695

1,078

0.90%

36

Phil Long Dist Tel

ฟิลิปปินส์

4,808

962

0.80%

37

Plus Expressways

มาเลเซีย

4,242

848

0.70%

38

Unilever Indonesia

อินโดนีเซีย

3,130

626

0.50%

39

YTL Power International

มาเลเซีย

2,749

550

0.40%

40

Bank Mandiri

อินโดนีเซีย

2,660

532

0.40%

หมายเหตุ: * มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสุทธิที่ผู้ลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนได้

(Investable Mkt. Cap)

ที่มา: FTSE Group

ติดต่อส่วนสื่อมวลชนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร

ลดาวัลย์ กันทวงศ์ โทร. 0-2229 – 2036

กุลวิดา จินตกะวงส์ โทร. 0-2229 – 2037

ณัฐพร บุญประภา โทร. 0-2229 – 2049

วรรษมน เสาวคนธ์เสถียร โทร. 0-2229-2797--จบ--