สกว. ขอเชิญร่วมงาน “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : เส้นทางสู่อนาคต”

19 Apr 2005

กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--สกว.

การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนับเป็นแนวการศึกษาที่ค่อนข้างใหม่สำหรับแวดวงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ ทั้งในแง่ของการเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่า เรื่องราวของคนในท้องถิ่นผ่านเวทีเสวนา อันเป็นการเริ่มใช้ “พยาน” มาประกอบกับ “หลักฐาน” ที่เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นการเล่าเรื่องราวของ “ท้องถิ่น” ก็ยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่เช่นเดียวกัน เพราะส่วนใหญ่เรื่องราวประวัติศาสตร์ของชาติไทยมักเป็นเรื่องของผู้คนที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติ และราชวงศ์ต่าง ๆ การหันมาให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่นและเรื่องราวของท้องถิ่นจึงเป็นการหักเลี้ยวที่สำคัญ เป็นการเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นการทำให้ลูกหลานยุคปัจจุบันได้เริ่มเรียนรู้และเห็นความสำคัญของรากเหง้าเผ่าพันธุ์ที่ไปที่มาของเขา อันนำไปสู่การสร้างสำนึกของความผูกพันและรักท้องถิ่นแผ่นดินเกิด และเป็นการทำให้ทุกฝ่ายได้หันไปค้นหา “พลังของท้องถิ่น” ที่เคยมีมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ภูมิปัญญา ฐานทรัพยากร หรือสายใยความผูกพันของผู้คนที่จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปในอนาคต

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยฝ่ายชุมชนและสังคม ได้ให้การสนับสนุนชุดโครงการวิจัย “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ จนกระทั่งปัจจุบัน รวม ๓๙ โครงการ อาทิ ชุดโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์จากความเปลี่ยนแปลงภายในของสังคมท้องถิ่นเอง โดยการทำงานร่วมกันของนักวิจัยหลากหลายสาขาวิชา และการใช้กระบวนการศึกษาที่มีชาวบ้านในสังคมท้องถิ่นเข้ามาร่วมงานวิจัยอย่างเข้มข้น จนก่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพที่สลับซับซ้อนในความเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆของสังคมท้องถิ่นอย่างชัดเจน

แม้ว่าในปัจจุบันวงวิชาการโดยรวมจะตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่าเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศชาติ แต่รูปธรรมของการคืนประวัติศาสตร์ให้แก่สังคมท้องถิ่นยังไม่ปรากฏขึ้น ดังนั้นสกว.จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) โครงการจัดตั้งสถาบันรามจิตติ และคณะนักวิจัยจากชุดโครงการ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” กำหนดให้มีการประชุมวิชาการ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : เส้นทางสู่อนาคต” ขึ้น เพื่อแพร่เผยผลการวิจัย และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนี้ งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2548 นี้ ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดยคาดหวังว่าผลจากการจัดงานดังกล่าว จะสามารถจุดประกายความคิด และขับเคลื่อนให้ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ได้เข้าไปสร้างปัจจุบันและอนาคตที่เข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นไทยได้อย่างยั่งยืน

ภายในงานจัดให้มีการนำเสนอและอภิปรายผลงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งการเสวนาและปาฐกถา ในหัวหน้าที่น่าสนใจ อาทิ การปาฐกถาเรื่องการสร้างสำนึกท้องถิ่นท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์,เส้นทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย, ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นไทย, วิธีศึกษา : บทเรียนจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น,การถอดบทเรียน “ครูผู้สร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”,และปาฐกถาเรื่อง “พรุ่งนี้ของท้องถิ่นไทย” เป็นต้น โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ครูและอาจารย์ผู้สอนวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับมัธยม-อุดมศึกษา สภาวัฒนธรรมจังหวัด ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องและสนใจใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการฟื้นสำนึกรักท้องถิ่น รวมถึงผู้สนใจทั่วไป กว่า 600 คน

คณะผู้จัดจึงขอเชิญท่านเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว (รายละเอียดตามกำหนดการ) และหวังอย่างยิ่งที่จะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในการเผยแพร่ผลการศึกษา เนื้อหาสาระข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนต่อไป

กำหนดการการประชุมวิชาการเรื่อง

“ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : เส้นทางสู่อนาคต”

วันที่ 25-27 เมษายน 2548

ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)

และโครงการจัดตั้งสถาบันรามจิตติ

วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘ ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียนและรับเอกสารการประชุม

๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย คุณปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

๐๙.๑๐ – ๐๙.๒๕ น. รายงานความเป็นมาของโครงการและการจัดประชุม โดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย

ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนและสังคม สกว.

๐๙.๒๕ - ๐๙.๔๐ น. เปิดการประชุม โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

๐๙.๔๐ - ๑๐.๓๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “การสร้างสำนึกท้องถิ่นท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์”

โดย ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก

๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕ – ๑๑.๐๐ น. การนำเสนอวิดีทัศน์ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือทุนทางสังคม”

๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. การอภิปราย เรื่อง “เส้นทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย”

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ

ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคอีสาน

อาจารย์ ชูพินิจ เกษมณี

ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคกลาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น

ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้

ดำเนินรายการ โดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย

๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. การนำเสนองานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็น “การเปลี่ยน

แปลงฐานทรัพยากร ระบบความรู้ กับวิถีการทำมาหากินในท้องถิ่น”

ห้อง ๑ - หอประชุมเล็ก

พัฒนาการการใช้ทรัพยากรในทะเลสาบสงขลา : ศึกษากรณีชุมชนประมงพื้นบ้าน

โดย ดร.เลิศชาย ศิริชัย

พลวัตประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงตำบลคลอง

ด่าน โดย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข

วัฒนธรรมปลาและอาชีพประมงในชุมชนลุ่มแม่น้ำชี

โดย นายสัตวแพทย์ ดร. วรพล เองวานิช

ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ ดร. อานันท์ กาญจนพันธ์

ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น

ห้อง ๒ – ห้องประชุม ๑ หอไทยนิทัศน์

"ของหน้าหมู่" ประวัติศาสตร์ตัวตนของชุมชนกลางหุบเขาแม่แจ่ม

โดย คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก

ความหลากหลายทางชีวภาพกับชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำชี โดย ดร.ศุภชัย สมัปปิโต

วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุธัญญา ทองรักษ์

ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด

โดย อาจารย์ อิงตะวัน แพลูกอินทร์

ผู้ร่วมอภิปราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุลีพร วิรุณหะ

ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ห้อง ๓ - ห้องประชุม ๒ หอไทยนิทัศน์

รูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนลุ่มน้ำชี

โดย อาจารย์ ไพบูลย์ บุญไชย

ชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ

และสังคม-วัฒนธรรม พลวัตและการท้าทาย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เสาวภา พรสิริพงษ์

สืบสร้างประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอัมพวาสวนนอก ตำบลบางนางลี่

โดย คุณอนุสรณ์ อุณโณ

ผู้ร่วมอภิปราย

ดร. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์

ผู้ดำเนินรายการ

อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี

หมายเหตุ

อาหารว่างในห้องประชุม

พิธีกรประจำวัน

อาจารย์ธวัช มณีผ่อง

วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๘ ๐๙.๐๐ - ๑๐.๑๕ น. ปาฐกถา เรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นไทย”

โดย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

๑๐.๑๕ - ๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐ - ๑๒.๑๕ น. การนำเสนองานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็น “กลุ่มชาติพันธุ์ : หยั่งรากใน

ท้องถิ่น”

ห้อง ๑ - หอประชุมเล็ก

ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรสาธารณะของชุมชนริมฝั่ง

แม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดย อาจารย์ธวัช มณีผ่อง

ประวัติศาสตร์ชุมชนไทใหญ่ ท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทยลุ่มน้ำแม่กก

แม่อายและแม่มาว อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดย อาจารย์ เรณู อรรฐาเมศร์

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นการจัดการทรัพยากรส่วนรวมของชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำลาง-น้ำ

ของ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย คุณอารยะ ภูสาหัส

ประวัติศาสตร์ชุมชนในเชียงใหม่ : การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

โดย รองศาสตราจารย์ สมโชติ อ๋องสกุล

ผู้ร่วมอภิปราย

คุณพรพิไล เลิศวิชา

ผู้ดำเนินรายการ

คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก

ห้อง ๒ – ห้องประชุม ๑ หอไทยนิทัศน์

ขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจีย กีซี) : พ่อค้าคนจีนผู้สร้างประวัติศาสตร์หาดใหญ่และ

หัวเมืองภาคใต้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ

คนจีนกับการขยายตัวของเมืองบริเวณลุ่มน้ำชี

โดย อาจารย์ นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร

การศึกษาสถานที่สำคัญของท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำชีโดยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธัญญา สังขพันธานนท์

สืบสร้างประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอัมพวาสวนนอก ตำบลนางลี่ โดย

คุณเดช พุ่มคชา

ผู้ร่วมอภิปราย รองศาสตราจารย์ ฉลอง สุนทราวณิชย์

ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ

ห้อง ๓ - ห้องประชุม ๒ หอไทยนิทัศน์

ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อการเข้าถึงทรัพยากรของคนเมืองน่าน

โดย ดร. ชูศักดิ์ วิทยาภัค

เมื่อกะเหรี่ยงสวนผึ้งลุกขึ้นพูด โดย คุณวุฒิ บุญเลิศ

ย้อนรอยอดีตชนเผ่าซู โดย คุณเบญจมาศ ชุมวรฐายี

ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด โดย

คุณศักดิ์ชัย ชาตาดี

ผู้ร่วมอภิปราย

ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ

ผู้ดำเนินรายการ

อาจารย์ ชูพินิจ เกษมณี

๑๒.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๓๐ – ๑๕.๑๕ น. การอภิปราย “วิธีศึกษา : บทเรียนจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”

รองศาสตราจารย์ สมโชติ อ๋องสกุล

อาจารย์ เรณู อรรฐาเมศร์

นายสัตวแพทย์ ดร.วรพล เองวานิช

อาจารย์ มนัสสวาส กุลวงศ์

อาจารย์นิรันดร์ เรือนอินทร์

อาจารย์ สารูป ฤทธิ์ชู

ผู้ดำเนินรายการ

รองศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

๑๕.๑๕ – ๑๕.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง

๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. การอภิปราย “แนวคิดหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”

ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์

รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช

ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

พิธีกรประจำวัน คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก

วันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. การนำเสนองานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็น

“รัฐไทยกับท้องถิ่น : การเบียดขับและชักเย่อ”

ห้อง ๑ พื้นที่เศรษฐกิจ - หอประชุมเล็ก

ประวัติศาสตร์ชาวบ้านทุ่งสาน ในเขตอำเภอพรหมพิราม และวัดโบสถ์

จังหวัดพิษณุโลก โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ

เศรษฐกิจท้องถิ่นลุ่มทะเลสาบสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวและยางพารา

ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๓๙ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติ ตันไทย

เศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการในลุ่มน้ำชี โดย ดร.ชินสัคค สุวรรณอัจฉริยะ

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิถีวัฒนธรรมริมน้ำย่านตลาดพูลจากคลองบางหลวงถึง

คลองด่าน โดย อาจารย์ มนัสสวาส กุลวงศ์

เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในมิติประวัติศาสตร์

โดย อาจารย์ประมวล มณีโรจน์

ผู้ร่วมอภิปราย

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น

ห้อง ๒

พื้นที่การเมือง - ห้องประชุม ๑ หอไทยนิทัศน์

การเมืองท้องถิ่นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๓๔

โดย อาจารย์ สารูป ฤทธิ์ชู

ประวัติศาสตร์ชุมชนบริเวณป่าพรุควนเคร็งในเขตรอยต่อจังหวัดพัทลุง

สงขลาและนครศรีธรรมราช โดย อาจารย์สมคิด ทองสง และคุณพิเชฐ แสงทอง

พลวัตประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงตำบลคลองด่าน

โดย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข

เมื่อกะเหรี่ยงสวนผึ้งลุกขึ้นพูด โดย คุณวุฒิ บุญเลิศ

ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์

ผู้ดำเนินรายการ

ดร.เลิศชาย ศิริชัย

ห้อง ๓ พื้นที่กายภาพ และพื้นที่วัฒนธรรม - ห้องประชุม ๒ หอไทยนิทัศน์

การศึกษาวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน

ริมฝั่งลุ่มน้ำชี โดย อาจารย์ สักรินทร์ แซ่ภู่

การขยายตัวของชุมชนเมืองลุ่มน้ำชี โดย อาจารย์ ถนอม ตะนา

พัฒนาของพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา

ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๔๒-๒๕๔๒ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอี่ยม ทองดี และ

อาจารย์ ชัยวุฒิ พิยะกุล

การแสดงพื้นบ้าน : การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม

บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา กรณีศึกษาหนังตะลุงและโนราหลังปฏิรูปการปกครองสมัย

รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๓๗-ปัจจุบัน) โดย อาจารย์ พิทยา บุษรารัตน์

ผู้ร่วมอภิปราย

รองศาสตราจารย์ ดร. มรว. อคิน รพีพัฒน์

ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ

หมายเหตุ

อาหารว่างในห้องประชุม

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. การถอดบทเรียน “ครูผู้สร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”

อาจารย์ อิงตะวัน แพลูกอินทร์

อาจารย์ จรรยา พนาวงศ์

อาจารย์ สุวิทย์ มาประสงค์

ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “พรุ่งนี้ของท้องถิ่นไทย”

โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

พิธีกรประจำวัน อาจารย์ ธวัช มณีผ่อง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

โทร.0-2619-6188,6199701--จบ--