กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--โปร มีเดีย พีอาร์
หุ่นยนต์ทีม IRAP: Araritz สถาบันฯพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คว้าทีมชนะเลิศระดับอุดมศึกษา หุ่นยนต์ทีม Easy โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ชนะเลิศหุ่นยนต์ระดับยุวชน และโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ชนะเลิศโครงงานวิทยาศาสตร์ “โครงงานกุญแจพลังลมเป่า”
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ประกาศทีมชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท ชิงแชมป์ประเทศไทย ระดับอุดมศึกษา และยุวชน เผยเตรียมลุ้น 16 ทีมสุดท้ายอุดมศึกษาแข่งทีมอาชีวะ ABU Robot Contest Thailand ที่จะจัดขึ้น 25-26 มิถุนายน นี้ เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยสู่เวทีนานาชาติ ABU Robot Contest ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยความร่วมมือของสหภาพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Broadcasting Union)
จากการเข้าแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ระดับอุดมศึกษาจาก 76 ทีม ภายใต้ชื่อเกมส์ว่า “จุดไฟศักดิ์สิทธิ์พิชิตกำแพงเมืองจีน” หุ่นยนต์ทีม IRAP: Araritz สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คว้าทีมชนะเลิศระดับอุดมศึกษา หุ่นยนต์ทีม Easy โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ชนะเลิศหุ่นยนต์ระดับยุวชน และโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ชนะเลิศโครงงานวิทยาศาสตร์ “โครงงานกุญแจพลังลมเป่า เทคโนโลยีช่วยคนพิการ” ซึ่งจัดขึ้น ณ เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ
ดร. บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย -ญี่ปุ่น) กล่าวว่า “ส.ส.ท. เผย ทีมที่ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายก็จะเข้าแข่ง ABU Robot Contest Thailand 2005 ซึ่งแข่งกับทีมอาชีวะที่ผ่านเข้ารอบมาเช่นกัน ในระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2548 ที่อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อได้ทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่ง ABU Robot Contest (Asia –Pacific Broadcasting Union) ณ ประเทศจีน ซึ่งใช้เกมส์การแข่งขันว่า “จุดไฟศักดิ์สิทธิ์พิชิตกำแพงเมืองจีน (Climb on the Great Wall Light the holy fire)”
“โดยพิธีเปิดงานและประกาศรางวัลได้รับเกียรติจาก นางพรนิภา ลิมปะพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาเป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัลให้กับทีมชนะเลิศอุดมศึกษา IRAP: Araritz สถาบันฯพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัทที่ให้การสนับสนุนการแข่ง อาทิ โต้โยต้า เด็นโซ เอ็นเอสเค โซนี่ เอ็นอีซี ซูมิโต้โม้ อิเล็คทริค มิตุโต้โย้ สเตนเล่ย์ FATECH เนคเทค เดอะมอลล์ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยมี ดร. บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ ผู้อำนวยการ สมาคม ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย -ญี่ปุ่น) และ รศ. กฤษดา วิศวธีรานนท์ ที่ปรึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมในพิธี เมื่อเร็วๆนี้ ณ MCC Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ” ดร. บัณฑิต กล่าว
รศ. กฤษดา วิศวธีรานนท์ ที่ปรึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ริเริ่มนำการแข่งขันหุ่นยนต์ในประเทศไทย กล่าวว่า “ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.ชิงแชมป์ประเทศไทยในครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประ เทศไทยระดับอุดมศึกษา มีเข้าเข่ง 76 ทีม และการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ยุวชน ประเภทหุ่นยนต์เข้าแข่ง 16 ทีม แข่งภายใต้ชื่อเกมส์ว่า “ตลุยเขาวงกตพิชิตกล่อง ทองคำ” และ การแข่งขัน โครงงาน วิทยาศาสตร์ เข้าแข่ง 16 ทีมในหัวข้อ เทคโนโลยีช่วยคนพิการ”
“หุ่นยนต์ทีม IRAP: Araritz (จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) คว้าทีมชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ระดับอุดมศึกษา โดยนำหุ่นยนต์ 4 ตัวเข้าแข่ง ประกอบด้วย หุ่นยนต์แมนนัว 1 ตัว และ หุ่นยนต์ออโต้ 4 ตัว ที่เป็นระบบเซ็นเซอร์ 1 ตัว ระบบเซอร์โวมอเตอร์ 1 ตัว และมอเตอร์ธรรมดา 1 ตัว และเป็นอีกทีมที่เป็นตัวเก็งร่วมกับอีกหลายทีมเช่นกัน”
รศ. กฤษดา กล่าวเสริม “รองชนะเลิศอันดับหนึ่งระดับอุดมศึกษาหุ่นยนต์ทีม “ลูกเจ้าแม่คลองประปา” มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต หุ่นยนต์ทีม Goal Gear สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้รางวัล TPA Robot Contest of the Year และทีมรองชนะเลิศอันดับสอง และทีม Bangkok 2005 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ได้รางวัลทีมรองชนะเลิศอันดับสองเช่นกัน รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมระดับอุดมศึกษาในปีนี้ได้แก่ หุ่นยนต์ทีม Cigol Trop มหาวิทยาลัยมหิดล”
“ในการแข่งขันระดับอุดมศึกษามีจุดมุ่งหมาย คือ การประดิษฐ์หุ่นยนต์อัตโนมัติและหุ่นยนต์บังคับควบคุมด้วยมือที่คิดค้นประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจะแข่งกันนำลูกบอลเชื้อเพลิงไปใส่ในคบเพลิงให้ถูกต้องและมากที่สุด โดยถ้าสามารถใส่ลูกบอลเชื้อเพลิงในคบเพลิงของแต่ละเสาเป็นแนวทแยงมุมและในคบเพลิงกลางสามารถใส่ในช่องที่เป็นสีของทีมตนเองและช่องสีเขียวได้ และสามารถใส่ลูกบอลเชื้อเพลิงในจานเชื้อเพลิงที่อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุมได้ทั้งหมดก็จะเป็นผู้ “จุดไฟศักดิ์สิทธิ์ พิชิตกำแพงเมืองจีน” และเป็นผู้ชนะในทันที โดยการแข่งขันแต่ละคู่ใช้เวลา 3 นาที”
“การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ยุวชน ประเภทแข่งหุ่นยนต์จากการเข้าแข่งทั้งหมด 16 ทีม ทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ คือ ทีม Easy อัสสัมชัญบางรัก ทีมรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง “ทีมสูงสุมาร” โรงเรียนบางปลาม้าสูงสุมารผดุงวิทย์ และ “ทีมมือใหม่”โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ได้รองชนะเลิศอันดับสอง” ซึ่งเป็นการแข่งขันภายใต้ชื่อเกมส์ “ตลุยเขาวงกตพิชิตกล่องทองคำ” ทีมบุญวาทย์ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ชนะรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม และทีมลูกนวมินทร์ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ชนะรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม”
“ทีมแข่งขันนักเรียน 3 คนและอาจารญที่ปรึกษา 1 ท่าน ในการแข่งขันชุดหุ่นยนต์อัตโนมัติ ซึ่งหุ่นยนต์จะถูกประกอบขึ้นโดยผู้เข้าแข่งขันของแต่ละทีม โดยอุปกรณ์ประกอบด้วยชิ้นส่วนทางกลพื้นฐานของหุ่นยนต์ วงจรควบคุม อุปกรณ์ตรวจวัด (sensors) มอเตอร์ และสายเคเบิลสำหรับเชื่อมต่อกับพอร์ตอนุกรมของคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรมหุ่นยนต์ โดยมีคุณสมบัติดังนี้คือ มีระบบปฏิบัติการ Windows 98, 2000, NT หรือ XP, CPU 80486 ขึ้นไป RAM 16 MB ขึ้นไป มีพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ 1 MB ขึ้นไป มีพอร์ตอนุกรมอย่างน้อย 1 พอร์ต หรือมีอุปกรณ์ USB to Serial หากมีแต่พอร์ต USB” โดยการแข่งขันหุ่นยนต์จะต้องเซ็นเซอร์สีเพื่อนำกล่องทองคำไปวางให้ถูกตำแหน่งสี และเข้าใกล้วงในให้ได้มากที่สุด” รศ. กฤษดา กล่าเสริม
“การประกวดประเภทโครงการวิทยาศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีช่วยเหลือคนพิการ” โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย “โครงงานกุญแจพลังลมเป่าชนะ ได้รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล “โครงงานเครื่องเปิดหนังสือ” ได้รางวัลรอง ชนะเลิศอันดับหนึ่ง และทีมโรงเรียนสุรนารีวิทยาลัย รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง โครงงานห้องน้ำอัตโนมัติ” กล่าวสรุป
Contact: Ms. Ampaporn T.
PR Director,Pro Media PR Co., Ltd.
Tel: (662) 632-8948-9
Fax: (662) 632-8949
Mobile: 01-843-0868
E-mail: [email protected]จบ--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit