สมาคมสมาร์ทการ์ดแห่งเอเชียแปซิฟิกเผยอนาคตของบัตรชำระเงินผ่านธนาคาร เตรียมขับเคลื่อนมาตรฐาน EMV ในงาน “อีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004”

10 Aug 2004

กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--เพนเนอร์-แมดิสัน

สมาคมสมาร์ทการ์ดแห่งเอเชียแปซิฟิกเผยอนาคตของบัตรชำระเงินผ่านธนาคาร เตรียมขับเคลื่อนมาตรฐาน EMV ในงาน “อีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004”ผู้ให้บริการการชำระเงินผ่านบัตรชั้นนำของโลกร่วมผลักดันการเปลี่ยนไปสู่บัตรสมาร์ทการ์ดในประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชำระเงินผ่านบัตรของธนาคารไปสู่บัตรสมาร์ทการ์ดตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานของ อีเอ็มวี (EMV - Europay - MasterCard - Visa) เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเรื่อยมาจนถึงประเทศไทย และกำลังจะเป็นหัวข้อสำคัญในการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในเรื่องการเปลี่ยนมาใช้ระบบบัตรชำระเงินแบบอีเอ็มวี (EMV migration) ครั้งที่ 3 ซึ่งจะ จัดขึ้น ณ โรงแรมอินเตอร์ คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-26 สิงหาคม ศกนี้ 'อีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004'

(EMV Thailand 2004) จะเป็นงานประชุมที่รวบรวมผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันการเงินที่ออกบัตร และสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตในการทำธุรกรรม หน่วยงานภาครัฐบาลผู้ออกกฎข้อบังคับ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัตรชำระเงินซึ่งเป็นผู้ที่ตระหนักดีว่าบัตรสมาร์ทการ์ดที่ใช้ชิพ (smart chip-based payment card) นั้นได้รับ การยอมรับจากทั่วโลกว่าสามารถแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยของบัตรเครดิตแบบแถบแม่เหล็ก และกลโกงทางระบบเอทีเอ็ม รวมทั้งเข้าใจดีถึงโอกาสในอนาคตของธุรกิจการชำระเงินแบบใหม่ว่าขึ้นอยู่กับบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สามารถบรรจุแอพพลิเคชั่นได้หลายตัว (multi-application cards)

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ร่วมมือกับประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศทั่วโลก เพื่อเปลี่ยนบัตรเครดิต เดบิต และเอทีเอ็มที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เป็นสมาร์ทการ์ด ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันภัยในการทำธุรกรรมของผู้ถือบัตรทั้งที่จุดให้บริการ (point-of-sale) และผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ ในขณะเดียวกัน สมาร์ทการ์ดแบบ 'ไลฟ์สไตล์' ที่บรรจุแอพพลิเคชั่นได้มากมายซึ่งมีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้จะนำเสนอรูปแบบการให้บริการใหม่ทั้งหมดแก่ผู้ใช้ทั่วไป ตลอดจนธุรกิจต่างๆ โดยสามารถให้บริการ ฟังก์ชั่นอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้เพื่อการชำระเงินอีกด้วย

นาย ที. วี. เซชาดริ ผู้จัดการฝ่าย Technology & Operations ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “มาสเตอร์การ์ดเป็นผู้สนับสนุน และเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาการให้บริการชำระเงินผ่านสมาร์ทการ์ดตามมาตรฐานอีเอ็มวี เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีให้กับสมาชิกบัตรของเรารวมทั้งให้การสนับสนุนด้านการตลาด และมอบความยืดหยุ่นแก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้ออกโปรแกรมสมาร์ทการ์ดต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ปัจจุบัน ผู้ถือบัตรสมาร์ทการ์ดของมาสเตอร์การ์ดมีจำนวนมากกว่า 180 ล้านรายทั่วโลกและ 23 ล้านรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งแสดงให้เห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงมาใช้สมาร์ทการ์ดอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต การประชุม อีเอ็มวีไทยแลนด์ 2004 นับเป็นเวทีสำคัญสำหรับพวกเราที่จะเน้นถึงข้อบังคับต่างๆ และแสดงให้เห็นกรณีทางธุรกิจ

สำหรับการใช้สมาร์ทการ์ดมาสเตอร์การ์ดยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับสมาคมสมาร์ทการ์ดแห่ง เอเชียแปซิฟิก (APSCA) ในการประชุมในประเทศไทยครั้งนี้”

นายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย แปซิฟิก จำกัด กล่าวว่า "เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้ร่วมจัดการการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเรื่องการเปลี่ยนมาใช้ระบบบัตรชำระเงินตามมาตรฐานอีเอ็มวี (EMV migration) ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในฐานะที่วีซ่าเป็นแบรนด์ของบัตรชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย เราจึงมุ่งหวังให้มีการนำชิพอีเอ็มวีที่ประสบความสำเร็จมาแล้วมาใช้ในตลาดบัตรชำระเงินในประเทศไทย เนื่องจากเราเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง Thai Chip Working Group ในปี พ.ศ. 2545 ธนาคารและร้านค้าส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงสามารถรับบัตรวีซ่าที่ติดชิพอีเอ็มวีของ นักท่องเที่ยวทั่วโลก ปัจจุบัน วีซ่าให้บริการบัตรวีซ่า สมาร์ทการ์ด จำนวนมากกว่า 20 ล้านใบ และติดตั้งเครื่องอ่านบัตร อีเอ็มวี ชิพ เทอร์มินัล (EMV chip terminals) จำนวน 330,000 เครื่องทั่วทั้งภูมิภาค วีซ่ายังคงสนับสนุนสมาชิกด้วยโปรแกรม วีซ่า สมาร์ท และจะทำงานร่วมกับภาครัฐบาล ร้านค้า และพันธมิตรต่างๆ ต่อไปเพื่อ ความสำเร็จของการเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทการ์ด"

นายมาโคโต เซคิเน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจซีบี อินเตอร์ชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นับตั้งปี พ.ศ. 2523 เจซีบี อินเตอร์เนชั่นแนล ได้สนับสนุนการสร้างแบรนด์เจซีบีอย่างจริงจังในประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดยุทธศาสตร์สำคัญในการขยายฐานสมาชิกผู้ถือบัตรในภูมิภาคเอเชีย จุดมุ่งหมายของเจซีบีสำหรับ การเปลี่ยนมาเป็นบัตรติดชิพอีเอ็มวีในประเทศไทย คือ พยายามคงอัตราการเติบโตของธุรกิจในอุตสาหกรรม บัตรเครดิตเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็จัดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน อีเอ็มวี โปรแกรม เจ/สมาร์ท ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพให้สอดคล้องไปกับความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนมาใช้บัตรอีเอ็มวี” และได้กล่าวเสริมอีกว่า “เจซีบีกำลังริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในธุรกิจต่างๆ ของพันธมิตรในประเทศไทย และสนับสนุนการเปลี่ยนระบบการชำระเงินเพื่อช่วยให้พันธมิตรของเราได้รับประโยชน์ในการขยายโอกาสทางธุรกิจจากระบบการชำระเงินโดยบัตรสมาร์ดการ์ทตามมาตรฐานอีเอ็มวี โดยใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการเปลี่ยนระบบไปสู่สมาร์ทการ์ดตามมาตรฐานอีเอ็มวี และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้ออกบัตรเจซีบี และได้รับอนุญาตในการทำธุรกรรมบัตรของเจซีบี เราเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในตลาดที่กำลังเติบโตนี้ได้อย่างแน่นอน”

ดร. ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการ สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศต่างๆ มากมายในการเปลี่ยนบัตรเครดิต เดบิต และเอทีเอ็มให้เป็นสมาร์ทการ์ดซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความปลอดภัยมากขึ้นจากกลโกงของมิจฉาชีพ และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้จากบัตรที่บรรจุแอพพลิเคชั่นได้หลายตัว สมาคมธนาคารไทยรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมจัดงานประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกี่ยวกับการเปลี่ยนมาใช้ระบบบัตรชำระเงินแบบอีเอ็มวีครั้งที่ 3 นี้ และหวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนความรู้และพบปะกับบุคคลในแวดวงธุรกิจสำคัญมากมาย”

นายสุขดี จงมั่นคง ประธาน ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตกล่าวว่า “ระบบการชำระเงินแบบอีเอ็มวีนี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งลูกค้า และธุรกิจบัตรเครดิตของไทย เทคโนโลยีชิพ (chip technology) ไม่เพียงแต่จะช่วย สนันสนุนโปรแกรมด้านการตลาด แต่ยังจะช่วยป้องกันกลโกงของมิจฉาชีพและช่วยให้ลูกค้าวางใจได้ใน ความปลอดภัยเมื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ประเทศเพื่อนบ้านของเราหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้ใช้ระบบดังกล่าวแล้วและได้รับประโยชน์มากมาย อีเอ็มวีนี้จึงนับเป็นระบบการชำระเงินสำหรับโลกอนาคตอย่างแท้จริง”

นายเกรก โพท ประธาน สมาคมสมาร์ทการ์ดแห่งเอเชียแปซิฟิก กล่าวเพิ่มเติมว่า “การบริหารจัดการ การลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการเปลี่ยนมาใช้ระบบการชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ตามมาตรฐานอีเอ็มวี การที่จะทำให้เกิดการตระหนักถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้บัตรอีเอ็มวีนั้น ทุกฝ่ายต้องเข้าใจถึงข้อได้เปรียบของอีเอ็มวี กำหนดความต้องการของธุรกิจ ประเมินค่าใช้จ่ายของการนำระบบเข้ามาใช้ และคำนวณระยะเวลาที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน และเพื่อที่จะจัดการผลกระทบด้านเทคนิคใน การเปลี่ยนแปลงไปสู่บัตรในระบบอีเอ็มวีนั้น ต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งเรื่องการออกบัตร การรับบัตรที่ร้านค้า รูปแบบการชำระเงิน รวมทั้ง บัตร เครื่องมือรูดบัตร (เทอร์มินอล) ระบบเครือข่าย และ เครื่องคอมพิวเตอร์หลักของระบบ (host)”

ผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมในงาน ‘อีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004’ จะได้รับฟังประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมา และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และจะได้รับทราบถึงประสบการณ์ในการนำโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ดตามมาตรฐานอีเอ็มวีเข้าไปใช้ในประเทศต่างๆ ในยุโรป ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เกี่ยวกับงานอีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004

อีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004 จัดขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่บัตรสมาร์ทการ์ดตามข้อกำหนดอีเอ็มวีของ อุตสาหกรรมการชำระเงินผ่านบัตรของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับเป็นประสบการณ์ ของการเปลี่ยนไปสู่อีเอ็มวีในประเทศต่างๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานอีเอ็มวีในตลาดอื่นๆ อีเอ็มวี ไทยแลนด์ 2004 จัดขึ้นโดย มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล เจซีบี อินเตอร์เนชั่นแนล และสมาคมสมาร์ทการ์ดแห่งเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับการสนับสนุนจาก ACI Worldwide & SVOA, Thales, Keycorp, Oberthur Card Systems, Ingenico, TMicroelectronics, Chanwanich Security Printing และ Hypercom

เกี่ยวกับอีเอ็มวี

อีเอ็มวี (EMV) ย่อมาจาก Europay – MasterCard – Visa ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเทคโนโลยีชิพสู่สภาพแวดล้อมของระบบการชำระเงินนานาชาติโดยเป็นการพัฒนาข้อกำหนดร่วมกันสำหรับสมาร์ทการ์ดและเครื่องอ่านสมาร์ดการ์ดสำหรับการชำระเงิน อีเอ็มวี เป็นมาตรฐานหรือข้อกำหนดระดับโลกของสมาร์ทการ์ดและผู้ผลิตเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ดทั่วโลก เกี่ยวกับวีซ่า

วีซ่าเป็นผู้บุกเบิก EMV และเป็นผู้สร้างมาตรฐาน Global Platform สำหรับทั่วโลก วีซ่ามีบทบาทอย่างสูงในการสร้าง มาตรฐานโลกสำหรับ Chip Migration วีซ่าริเริ่มก่อตั้ง Thai Chip Working Group ในปี พ.ศ. 2545 และเป็นตัวจักรในการ ขับเคลื่อนการพัฒนา Chip Migration ของประเทศไทยด้วยการกำหนดแนวทางสำหรับการปรับปรุงจุดรับบัตร ทั้งนี้เป็นผลให้ความต้องการของธนาคารต่างๆ ในประเทศไทยส่วนใหญ่สามารถทำขั้นตอนของ EMV Chip Transaction และได้ติดตั้งเครื่องรูดบัตร ที่สามารถใช้กับบัตรที่ติด Chip เรียบร้อยแล้วกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนเครื่องอ่านบัตร ทำให้ในขณะนี้ร้านค้าส่วนใหญ่ในประเทศไทยสามารถรับบัตรวีซ่าที่ติด Chip จากผู้ถือบัตรวีซ่าทั่วโลก ปัจจุบัน วีซ่าเป็น Brand ของบัตรชำระเงินอันดับหนึ่งของประเทศไทยโดยครองส่วนแบ่งตลาด 70% วีซ่าจะรักษาความเป็นผู้นำในด้าน EMV Chip Migration อย่างต่อเนื่องด้วยการทำงานร่วมกับธนาคารและบริษัทบัตร ร้านค้าสมาชิก หน่วยงานราชการ และพันธมิตรอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนไปสู่ Chip ทางวีซ่าได้จัดทำ แผนนโยบายภูมิภาค สร้างแรงจูงใจและการลงทุนในระดับภูมิภาคในเรื่องของ Chip มีระยะเวลา 7 ปีขึ้นมา วีซ่าได้จัดทำโครงการ Visa Smart เพื่อลดการจ่ายเงินลงทุน เทคโนโลยีและอุปสรรคด้านการตลาดซึ่งธนาคารหรือบริษัทออกชิพการ์ด ธนาคารผู้ให้บริการด้านร้านค้า และร้านค้าทั่วไปต้องเผชิญอยู่ในการพัฒนา Chip Migration เพื่อผลักดันการพัฒนา Visa Smart Debit และ Credit Card ในภูมิภาคนี้ โครงการนี้ได้มุ่งเน้นการวางแผนและการพัฒนาระบบชิพการ์ดในหลายด้าน ปัจจุบัน วีซ่าและสมาชิกของวีซ่า ได้ออกบัตรวีซ่าในรูปแบบ EMV Chip Card มากกว่า 20 ล้านบัตร และติดตั้งเครื่องอ่าน EMV Chip มากกว่า 330,000 เครื่อง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เว็บไซต์ของวีซ่าอยู่ที่ www.visa-asia.com.

เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด

มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในด้านบริการระบบชำระเงิน ซึ่งมีการบริการหลายรูป และสนับสนุนนวัตกรรมต่างๆ ทั่วโลก เช่น การถอนเงินสด ระบบเงินอีเล็คทรอนิคส์ การทำธุรกรรมอิเล็คโทรนิคส์ระหว่างธุรกิจ และโปรแกรมการใช้จ่ายแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบชำระเงินอิเล็คโทรนิคส์ มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคซึ่ง Brand ด้านการชำระเงินที่ได้รับการยอมรับประกอบด้วย Master Card, Maestro และ Cirrus และได้นำไปใช้ในสถาบันการเงิน ผู้บริโภค และนักธุรกิจมากกว่า 210 ประเทศ ผลงานด้านการเผยแพร่โฆษณาของมาสเตอร์การ์ด (Priceless) เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากกว่า 96 ประเทศ และ 47 ภาษา สนใจข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาดูที่ www.mastercardinternational.com มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นที่รู้จักกว้างขวางในเอเชียและแปซิฟิกเป็นเวลานานในด้านผู้นำด้านความรู้ บริษัทได้ใช้ทรัพยากรระบบต่างๆ เพื่อการพัฒนาให้เข้าใจถึงระบบชำระเงินของตลาดต่าง ๆ และสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค ด้วยการวิจัยโดยองค์กรอิสระ ผลงานวิจัยเหล่านี้ได้แก่ MasterIndex of Consumer Confidence, MasterIndex of Retail, MasterIndex of Travel, Consumption Facilities Index of China and Asia/ Pacific Merchant Smart Card ที่ปรากฎให้เห็นทุกวันนี้ สิ่งที่มาสเตอร์การ์ดนำเสนอล้วนเป็นที่ต้องการของนักวิเคราะห์ สถาบันการศึกษา และผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในสถาบันการเงิน หน่วนงานรัฐบาล และหน่วยงานนานาชาติต่างๆ

เกี่ยวกับเจซีบี

เจซีบี ชื่อนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้นำการชำระเงินนานาชาติได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “ธุรกิจการ์ด” ในปี พ.ศ. 2503 และเริ่มขยายตลาดสู่ต่างประเทศในปี พ.ศ. 2524 ทำให้ขยายธุรกิจเกือบ 189 ประเทศ รวมถึงจำนวนผู้เป็นสมาชิกภาครัฐบาล 51.6 ล้านคน และนักธุกิจทั่วไปประมาณ 11.71 ล้านคน ซึ่งเป็นสมาชิกอยู่ทั่วโลก ส่วนกลยุทธ์การเจริญเติบโตสู่สากลนั้น เจซีบีได้เข้าร่วมเป็น พันธมิตรกับผู้นำธนาคารต่างๆ และสถาบันการเงินมากกว่า 320 แห่ง ส่งผลให้สมาชิกการ์ดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศญี่ปุ่น เจซีบีไม่เพียงแค่การชำระเงินเท่านั้น แต่เป็นเจ้าของ JCB Card Issuer และ acquirer การทำงาน และการบริการสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ปรัชญาของเจซีบี คือ “บริการจากใจ” สโลแกนนี้ส่งผลให้คุณภาพการบริการสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องในอนาคตกับ

ลูกค้า นักธุรกิจและหุ้นส่วนต่างๆ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้ามาที่เว็บไซต์ของ เจซีบี โกลบอล ที่ www.jcbglobal.com และเจซีบีอินเตอร์เนชั่นแนล ที่ www.jcbinternational.com

เกี่ยวกับสมาคมธนาคารไทย

สมาคมธนาคารไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 มีบทบาทอย่างมากในการเป็นตัวแทนของกลุ่มธนาคารเพื่อเข้าร่วมในการอภิปรายร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และองค์กรต่างๆ ของภาครัฐบาล ในการร่างนโยบายหลักด้านเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนการนำไปใช้ นอกจากนี้สมาคมธนาคารไทยยังทำหน้าที่สนับสนุนธนาคารที่เป็นสมาชิกด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน สมาคมฯ ได้รับความร่วมมือจากชมรมต่างๆ มากมาย อาทิ ชมรมธนาคารนานาชาติ (International Banking Club) ชมรมไทยฟอเร็กซ์ (Thai Forex Club) ชมรมนักบัญชีธนาคาร (Banking Accountants Club) เป็นต้น

เกี่ยวกับสมาคมสมาร์ท การ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APSCA)

สมาคมสมาร์ท การ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APSCA) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไรเพื่อองค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมบัตรสมาร์ท การ์ดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เอพีเอสซีเอ มีความชำนาญระดับมืออาชีพด้านบัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่งครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และปัจจุบันมีองค์กรสมาชิกกว่า 60 องค์กรใน ฮ่องกง จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย สมาคมฯ ให้บริการด้านข้อมูล คำปรึกษา การแนะนำ และทำหน้าที่เชื่อมโยงองค์กรต่างๆ และองค์กรของภาครัฐบาล รวมทั้งผู้ดำเนินการกำหนดรูปแบบสมาร์ทการ์ด และซัพพลายเออร์ต่างๆ เพื่อมอบโอกาสที่ดีเยี่ยมในการแก้ไขปัญหา อำนวยความสะดวกในการหาสมาชิกของบัตรสมาร์ท การ์ด และริเริ่มการพัฒนาธุรกิจให้กับสมาชิกของสมาคม นอกจากการจัด กิจกรรมพิเศษต่างๆ การสัมมนา การฝึกอบรม และการประชุมที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกแง่มุมในเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ดกว่า 70 ครั้งแล้ว สมาคมฯ ยังช่วยเหลือในด้านนโยบายระดับชาติในการชำระเงินผ่านบัตร โครงการบัตรสมาร์ทการ์ดของภาครัฐบาล และพัฒนาธุรกิจของสมาชิกสมาคม ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมสมาร์ทการ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรุณาไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.apsca.org สมาคมฯ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสมาร์ทเท็กซ์ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสภาและสมาคมต่างๆ ในวงการบัตรสมาร์ท การ์ด ที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อให้บริการระดับมืออาชีพแก่สมาชิกกว่า 500 องค์กรในกลุ่มสมาร์ทเท็กซ์ ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ www.smartex.com

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

เกรก โพท สมาคมสมาร์ทการ์ดแห่งเอเชียแปซิฟิค อีเมล์ [email protected]

อาจรีย์ สุวรรณกูล บริษัท เพนเนอร์-แมดิสัน จำกัด

โทร 0-2716-5246 ต่อ 121 โทรสาร 0-2716-5250

อีเมล์ [email protected]จบ--

--อินโฟเควสท์ (นท)--