กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--สกว.
“ไวรัส” แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ไวรัสหลายชนิดนำมาซึ่งโรคติดต่อร้ายแรง ที่สร้างความสูญเสียให้กับมนุษย์ เช่น “โรคซาร์” “เอดส์” “ตับอักเสบ” “ไข้หวัดนก” ฯลฯ ซึ่งการรับมือกับโรคเหล่านี้ นอกเหนือจากการป้องกันและรักษาแล้ว “การศึกษาวิจัย” เพื่อทำความเข้าใจถึงกลไกและวงจรการดำรงชีวิตของไวรัสในระดับเซลล์และระดับโมเลกุล ถือเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญในการต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง
เมธีวิจัยอาวุโส ศ.นพ. ยง ภู่วรรณ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมวิจัย ได้ทำการศึกษาวิจัยด้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคสำคัญในคนไทย ภายใต้ทุนสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในวงวิชาการ และสามารถนำไปใช้ประกอบการวินิจฉัย รักษา รวมถึงวางแนวทางป้องกันทั้งในระดับประชาชนและระดับนโยบายได้อย่างเป็นรูปธรรม
ในวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม นี้ ระหว่างเวลา 9.30-15.10 น.ณ ห้องประชุมมงคลนาวิน ตึก สก. ชั้น 10 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีการประชุมสัมมนาเรื่อง “เมธีวิจัยอาวุโส ศ.นพ. ยง ภู่วรรณ” เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงนำเสนอผลการวิจัยด้านไวรัสวิทยา จำนวน 9 เรื่อง ใน 3 ประเด็นคือ (รายละเอียดในกำหนดการ)
(1)
ไวรัสตับอักเสบ
(2)
ไวรัสไข้หวัดนก H5N1
(3)
ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคติดต่อชนิดใหม่ ๆ ในคนไทย
กำหนดการประชุมสัมมนา
“เมธีวิจัยอาวุโส ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ”
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2547 เวลา 9.30-15.10 น.
ห้องประชุมมงคลนาวิน ตึก สก. ชั้น 10
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
09.30 น.
พิธีเปิด
10.00 น.
เสนอผลงาน เมธีวิจัยอาวุโส รวม 3 ปี
ศ.นพ. ยง ภู่วรรรณ
10.40 น.
(1) ไวรัสโรคปอดบวม : การติดเชื้อในเด็กไทย
ผศ. นพ. รุจิภัตต์ สำราญสำรวจกิจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
11.00 น.
(2) ไวรัสตับอักเสบ ซี : การแยกจีโนไทป์และระบบภูมิคุ้มกันโดยวิธีการทางอนุชีวโมเลกุล
ผศ. ธีพร ชินชัย คระแทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
11.20 น.
(3) ไวรัสตับอักเสบ บี : การแยกจีโนไทป์และความสัมพันธ์กับอาการทางคลินิก
ผศ. นพ. พิสิฐ ตั้งกิจวาณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
11.40 น.
(4) ไวรัสตับอักเสบ บี : การแยกปริมาณและจีโนไทป์ด้วยเทคโนโลยีใหม่
นายสัญชัย พยุงภร นิสิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
12.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.10 น.
(5) ไข้หวัดนก : ความเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลของเชื้อไข้หวัดนก H5N1
ผศ.น.สพ. ดร. อลงกรอมรศิลป์ คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ
13.40 น.
(6) ไข้หวัดนก : สายพันธุ์ไข้หวัดนกในเสือโคร่งและเสือดาวในเมืองไทย
สพ.ญ. จุฑาทิพย์ เขียวเจริญ คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ
13.55 น.
(7) ไข้เลือดออก : การเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ในเด็กที่ป่วย
รศ. พญ. วรนุช จงศรีสวัสดิ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
14.15 น.
(8) โรคท่อน้ำดีตีบตัน : กลไกและการดำเนินของโรค
ผศ.นพ. ไพศาล เวชชพิพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
14.35 น.
(9) โรคท้องเสีย : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบจีโนไทป์ไวรัสโรคท้องเสียในประเทศไทย
น.ส. อภิรดี เทียมบุญเลิศ แผนกกุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย
14.55 น.
สรุปและปิดงาน
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ สกว.--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit