เนคเทค ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานเวทีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน

24 May 2004

กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--เนคเทค

ตามที่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มีงานเวทีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินในวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2547 เวลา 08:30 – 12:00 น. ณ ห้องบุษกร (106) อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี

หมายเหตุ ในวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2547 ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดให้มีรถตู้ของศูนย์ฯ บริการรับ–ส่งสื่อมวลชน จากอาคาร สวทช. (โยธี) ถนนพระรามที่ 6 รถตู้จะรอจนถึงเวลา 08:15 น. เดินทางไป อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และรับกลับเวลา 12:50 น. ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ คุณสายพิณ (01) 8991380 , คุณชัยมงคล (06) 5311960 , หรืองานประชาสัมพันธ์และมัลติมีเดีย โทรศัพท์ 02 564 6900 ต่อ 2350-2351

งานเวทีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน(มิติใหม่ของคนพิการทางการได้ยินที่จะมีเครื่องมือสื่อสารและวิธีรับรู้ข่าวสารแบบใหม่) วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2547 เวลา 8:30-12:00 น. ณ ห้องบุษกร อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

หลักการและเหตุผล

ข้อมูลสถิติของคนพิการทางการได้ยินที่เก็บรวบรวมล่าสุดของสำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิคนพิการมีจำนวนคนพิการทางการได้ยินมาลงทะเบียนคิดเป็น 20 % ของคนพิการทั้งหมดซึ่งยังไม่รวมผู้ที่ไม่เปิดเผยตัว ไม่ต้องการลงทะเบียนเพื่อรับการช่วยเหลือ หรือผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันยอดผู้สูงอายุในประเทศไทย ประกาศเมื่อวันผู้สูงอายุแห่งชาติปี 2547 มีจำนวน 7 ล้านคน ซึ่ง 1 ล้านคนเป็นผู้ทุพพลภาพไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้นานติดต่อกัน 6 เดือน ซึ่งได้แก่อัมพาต ตาบอด เข่าอักเสบ หูหนวก หูตึง เป็นต้น

คนพิการทางการได้ยินกลุ่มนี้ มีข้อบกพร่องทางการได้ยิน คือ สูญเสียความสามารถทางการได้ยินตั้งแต่ 26 เดซิเบลขึ้นไปจนกระทั่งหนวกสนิท ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับการบริการพื้นฐานของรัฐในด้านการบริการติดต่อสื่อสาร เช่นบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์สาธารณะ เป็นต้น

หรือแม้กระทั่งการรับรู้ข่าวสารผ่านการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ซึ่งคนพิการกลุ่มนี้เห็นแต่ภาพไม่ได้ยินเสียง ดังนั้นอรรถรสในการดูหนังฟังเพลง หรือการรับรู้ข่าวสารการเป็นไปของสังคม บ้านเมือง จะขาดหายไป ดังนั้น

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นภายในประเทศเพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสใช้เครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันได้จึงขอนำเสนอผลงานที่เป็นเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นโดยใช้โทรศัพท์ข้อความหรือโทรอักษรแทนนอกจากนั้นก็จะนำเสนอเครื่องมือที่ช่วยเข้ารหัสและถอดรหัสอักษรบรรยายใต้ภาพแบบซ่อนได้ ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการดูโทรทัศน์ของผู้ที่สูญเสียการได้ยินซึ่งอยู่ในโลกของความเงียบมาตลอดมาเป็นการอ่านอักษรบรรยายใต้ภาพแทน ผลงานสุดท้ายคือโปรแกรมภาษามือ 3 มิติซึ่งเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาโปรแกรมภาษามือไทยที่จะช่วยให้สร้างภาษามือได้อย่างสมบูรณ์และเหมือนจริงได้การที่ศูนย์ฯ ได้เรียนเชิญทุกท่านมาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ก็เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้คนพิการทางการได้ยินดังกล่าว ได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยินเช่นโทรศัพท์ การรับรู้ข่าวสารทางโทรทัศน์ เป็นต้น

โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายผลักดันให้เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการผลักดันให้คนพิการทางการได้ยินสามารถมีโทรศัพท์ข้อความหรือโทรอักษรไว้ประจำทุกบ้าน

2. เพื่อขอความร่วมมือผลิตรายการโทรทัศน์ทีมีอักษรบรรยายใต้ภาพแบบซ่อนได้เพื่อให้คนพิการทางหูได้รับอรรถรสในการดูหนัง ฟังเพลง

3. เพื่อขอความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมภาษามือ 3 มิติ

เพื่อคนพิการทางการได้ยินใช้เป็นสื่อทางเลือกอีกทางหนึ่ง

กลุ่มเป้าหมาย ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

กำหนดการ

8:30 น.

ลงทะเบียน

9:00 น.

กล่าวเปิดงาน โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

9:15 น.

กล่าวนำ โดย พอ.ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ

ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความรู้สำหรับคนพิการ

9:30 น.

นำเสนอและสาธิตผลงานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการได้ยิน

ประกอบด้วย

1. ระบบคำบรรยายภาพทางโทรทัศน์แบบซ่อนได้ (Closed Caption)

  • แนะนำระบบ-หลักการและการใช้งาน และสาธิตการทำงานอย่างย่อ

โดย อาจารย์ เอกชัย ลีลารัศมี รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • รายงานผลการทำลองใช้ต้นแบบ

โดย โรงเรียนเศรษฐเสถียร และวิทยาลัยราชสุดา

  • นายกสมาคมคนหูหนวก และ ผู้แทนจากมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก,

มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

กล่าวสนับสนุนเพิ่มเติม

  • ตัวแทนนักศึกษาจากวิทยาลัยราชสุดากล่าวถึงความต้องการ Closed Capture

ในรายการทางโทรทัศน์

  • ผู้ผลิตรายการอธิบายการทำงานและความต้องการ
  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

อธิบายแนวโน้มการสนับสนุนการเผยแพร่สู่ผู้ใช้

  • ตอบคำถาม และหารือแนวทางความร่วมมือ

2. เครื่องโทรศัพท์สำหรับคนหูหนวก และเครื่องโทรอักษร

  • แนะนำโทรศัพท์สำหรับคนหูหนวก-หลักการและการใช้งาน และสาธิตการทำงานอย่างย่อ

โดย อาจารย์ เกียรติกูล เจียรนัยธนะกิจ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • รายงานผลการทดลองใช้ต้นแบบ

โดย สมาคมคนหูหนวก โรงเรียนโสตทุ่งมหาเมฆ และวิทยาลัยราชสุดา

  • แนะนำเครื่องโทรอักษร-หลักการและการใช้งานการทดลองใช้

โดย บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

อธิบายแนวโน้มการสนับสนุนการเผยแพร่สู่ผู้ใช้

  • ตอบคำถาม และหารือแนวทางความร่วมมือ

3. ซอฟต์แวร์ภาษามือ 3 มิติ

  • แนะนำผลงานที่ส่งประกวด NSC (National Software Contest)

สาธิตการทำงาน และเสนอแนวทางการพัฒนาต่อ โดย อาจารย์นราธิป เที่ยงแท้

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • ความเห็นจากตัวแทนโรงเรียนโสตศึกษา สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย

และวิทยาลัยราชสุดา

  • เนคเทค อธิบายแนวโน้มการสนับสนุนการพัฒนา

โดย งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และ

ฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

อธิบายแนวโน้มการสนับสนุนการเผยแพร่สู่ผู้ใช้

  • ตอบคำถาม และหารือแนวทางความร่วมมือ

หมายเหตุ

10:00 น.

(โดยประมาณ) พักรับอาหารว่าง

11:45 น.

กล่าวปิดงาน โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

12:00 น.

ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

งานประชาสัมพันธ์และมัลติมีเดีย

โทรศัพท์ 02 564 6900 ต่อ 2350 –2355

โทรสาร 02 564 6901--จบ--

-นท-