มอนซานโต้ ยินดีอย่างยิ่งที่เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการเกษตรเป็นหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย

15 Oct 2003

กรุงเทพฯ--15 ต.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์

บริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการเกษตรเป็นหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายจากสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศ รวมถึงประชาชนทั่วไปในขณะนี้

เนื่องจากบริษัทฯ มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลในหัวข้อดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการเกษตร ตามที่แนบมาพร้อมนี้ ซึ่งบริษัทฯ หวังว่า จะเป็นประโยชน์และได้รับความสนใจจากท่าน

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีความยินดีที่จะตอบข้อซักถาม และพร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ท่านอย่างต่อเนื่อง หากท่านมีข้อขัดข้องในการรับเอกสารข้อมูลนี้ กรุณาแจ้งที่คุณสาธิดา หรือศรีเบญจา หมายเลขโทรศัพท์ 0-2252 9871 และขอขอบคุณท่านที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดีมา ณ ที่นี้

พื้นที่เพาะปลูกพืชที่ปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพมีการขยายตัว

อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่หก โดยในปี 2545 มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10

  • ในปี 2545 พื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ คาดว่ามีเนื้อที่ รวมทั้งสิ้น 362 ล้านไร่ โดยมีเกษตรกรที่เลือกใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจำนวน 5.5 - 6 ล้านคนใน 16 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ที่มีเกษตรกรใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจำนวนเพียง 5 ล้านคนใน 13 ประเทศ ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกจำนวน 362 ไร่ดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศจีนหรือสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นพื้นที่ 2 ใน 3 ส่วนของสหราชอาณาจักร
  • ในปี 2545 พื้นที่การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจากปี 2544 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 หรือประมาณ 37 ล้านไร่ ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกดังกล่าว มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ติดต่อกันมา 6 ปี นับตั้งแต่มีการจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์อาหารที่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพเมื่อปี 2539 เป็นต้นมา

  • ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 35 เท่า จาก 10 ล้านไร่ในปี 2539 เป็น 362 ล้านไร่ในปี 2545 และนี่คือหนึ่งในข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการเกษตรกำลังได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของพืชปรับปรุงพันธุ์พบในประเทศกำลังพัฒนา โดยในปี 2545 จากพื้นที่เพาะปลูกพืชปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพจำนวนทั้งสิ้น 362 ไร่ทั่วโลก เป็นพื้นที่ในประเทศกำลังพัฒนา 9 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ส่วน (ร้อยละ 27) อินเดีย ซึ่งเป็นผู้เพาะปลูกฝ้ายรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้เริ่มจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ฝ้ายจากเทคโนโลยีชีวภาพเป็นครั้งแรกในปี 2545 ขณะที่ประเทศ โคลัมเบียและฮอนดูรัสเริ่มเพาะปลูกฝ้ายที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 2545 เช่นกัน
  • ในปี 2545 ประเทศรายใหญ่ 4 ราย มีพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพคิดเป็นสัดส่วนรวมทั้งสิ้นร้อยละ 99 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกพืชปรับปรุงพันธุ์จำนวน 240 ล้านไร่ (ร้อยละ 66 ของพื้นที่การเกษตรที่ใช้ เทคโนโลยีชีวภาพทั่วโลก) อาร์เจนตินาจำนวน 13.5 ล้านไร่ (ร้อยละ 23) คานาดา 21 ล้านไร่ (ร้อยละ 6) และจีน 13 ล้านไร่ (ร้อยละ 4)
  • จีนมีพื้นที่เพาะปลูกพืชปรับปรุงพันธุ์ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงสุดในแต่ละปี โดยมี พื้นที่เพาะปลูกฝ้ายปรับปรุงพันธุ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เป็นครั้งแรก หรือมากกว่า ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 51) ของพื้นที่เพาะปลูกฝ้ายทั้งประเทศที่มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 25 ล้านไร่ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรยากจนจำนวน 5 ล้านคน
  • ในปี 2545 พืชเศรษฐกิจหลักระดับโลกที่ปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ ถั่วเหลือง ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูก 222 ล้านไร่ (ร้อยละ 62 ของพื้นที่เพาะปลูก ถั่วเหลืองทั่วโลก) ช้าวโพด 76 ล้านไร่ (ร้อยละ 21)และฝ้าย 42 ล้านไร่ (ร้อยละ 12)
  • ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2539 - 2545 มีการเพาะปลูกพืชปรับปรุงพันธุ์ คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,451 ล้านไร่ทั่วโลก
  • ในปี 2545 เกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเกษตรมีจำนวนทั้งสิ้น 5.5 - 6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ซึ่งมีจำนวน 5 ล้านคน โดยมีเกษตรกรยากจนที่เพาะปลูกฝ้ายปรับปรุงพันธุ์ในประเทศจีนและอาฟริกาใต้คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชปรับพันธุ์ในปี 2545 ทั้งหมด
  • ในปี 2545 ประชากรโลกกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในประเทศที่ทำการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งส่งผลให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า พื้นที่การเกษตรและจำนวนเกษตรกรที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2546 นี้--จบ--

-รก-