กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--รฟม.
ในการออกแบบและการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล นั้น รฟม. ได้ตระหนักและคำนึงถึงความปลอดภัยในทุกขั้นตอน โดยได้นำมาตรฐานความปลอดภัย NFPA 130 หรือ National Fire Protection Association ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทันสมัยที่สุดในการออกแบบระบบขนส่งมวลชนประเภทรางมาใช้ในโครงการฯ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการให้บริการแก่ประชาชน โดยมาตรฐานดังกล่าวที่ รฟม. ได้นำมาใช้เป็นมาตรการความปลอดภัยภายในสถานีและอุโมงค์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. มาตรฐานในการออกแบบเพื่อป้องกันอัคคีภัย
มาตรฐาน NFPA 130 จะกำหนดให้การออกแบบระบบขนส่งมวลชนประเภทรางเช่น ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ครอบคลุมในเรื่องการออกแบบระบบป้องกันเพลิงไหม้ในสถานีและอุโมงค์ ตลอดจนการอพยพประชาชนออกจากสถานีและอุโมงค์ โดยใช้ประกอบกับประกาศและข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. วัสดุที่ใช้ภายในสถานีและอุโมงค์
2.1 วัสดุที่ใช้สำหรับเป็นโครงสร้างที่สถานีหรืออุโมงค์ตลอดจนวัสดุตกแต่งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องกลภายในสถานีทุกแห่งจะกำหนดให้เป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ (Non-Combustible) และ วัสดุที่ไม่ไวไฟ (Non-Framable) ยกเว้นกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย วัสดุที่ไหม้ไฟจะเป็นแบบไม่มีควันพิษ (Non-Toxic) เท่านั้น
2.2 พื้นที่ภายในสถานีจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ส่วนที่เป็นสาธารณะ (Public Area) และพื้นที่ส่วนที่เป็นห้องเครื่องหรือพื้นที่ทำงานของพนักงาน (Non-Public Area) โดยระหว่าง 2 ส่วนจะมีผนังกันไฟได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง และมีประตูกันไฟในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละห้องจะกันไฟได้โดยเฉลี่ยประมาณไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
2.3 บริเวณรอบๆ ช่องเปิดโล่ง (Open Well) จะมีการติดตั้งแผ่นกระจกใส (Glass Fin) เพื่อป้องกันควันไฟที่จะลอยไปจากชั้น Platform ขึ้นสู่ชั้นอื่นๆ ในระหว่างที่ระบบดูดควันแต่ละชั้นกำลังทำงาน
2.4 วัสดุที่ใช้ในสถานีส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นหินแกรนิต ผนังแกรนิต ฝ้าเพดาน เหล็ก Galvanized และ อลูมิเนียม ผนังบางส่วนเป็นแผ่น Stainless Steel หรือแผ่นเหล็ก Galvanized ซึ่งทั้งหมดมีจุดหลอมเหลวที่สูงมากกว่า 600๐C และกินเวลานานมากกว่าที่จะยุบตัวลงมาหรือเสียหาย ดังนั้นจึงมีเวลาพอเพียงที่จะอพยพประชาชนออกจากสถานีตลอดจนไม่มีควันที่เป็นก๊าซพิษ
3. ระบบดับเพลิงภายในสถานีและอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
มาตรฐาน NFPA 130 ได้กำหนดมาตรการการป้องกันอัคคีภัยและการระงับอัคคีภัย ดังนี้
1. ระบบเตือนเหตุอัคคีภัย (Fire Alarm) ซึ่งระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Fighting System) ในสถานีและอุโมงค์ประกอบด้วยระบบต่างๆ ดังนี้
2. ระบบควบคุมควันภายในสถานีและอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
3. ระบบอัดอากาศบันไดหนีไฟ (Escape Stair Case Air Pressurization System) โดยถูกจัดเตรียมไว้ที่บันไดหนีไฟทั้ง 2 บริเวณ คือ
4. มีระบบเปลและรอกกว้านฉุกเฉิน (Stretcher Hoist) บริเวณทางออกฉุกเฉินระหว่างสถานี เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากชั้นล่างสุดในอุโมงค์ขึ้นสู่ชั้นพื้นดิน
4. การอพยพประชาชนจากสถานีและจากอุโมงค์
ตามมาตรฐาน NFPA 130 ที่ รฟม. ใช้เป็นมาตรฐานกำหนดเวลาในการอพยพไว้ ดังนี้
กรณีที่ 1 การอพยพประชาชนจากจุดไกลสุดในชั้นชานชาลาขึ้นมาบนชั้นถัดไปจะต้องสามารถอพยพได้ในเวลาไม่เกิน 4 นาที
กรณีที่ 2 การอพยพประชาชนจากจุดไกลสุดในชั้นชานชาลาขึ้นมาบนพื้นดินหรือ Point of Safety จะต้องสามารถอพยพได้ในเวลาไม่เกิน 6 นาที และบริเวณ Point of Safety จะต้องเตรียมระบบอุปกรณ์ทุกอย่างให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย เช่น ระบบอากาศ ระบบดับเพลิงทุกชนิด และรวมถึงระบบช่วยชีวิตทุกอย่าง เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว รฟม. ยังได้กำหนดให้มีหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนการช่วยเหลือประชากรในกรณีฉุกเฉิน ประกอบด้วย
1. แผนปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน
2. จัดทำแผน กรอบอัตรากำลังที่เหมาะสม
3. กรอบและแผนการฝึกซ้อมเป็นประจำเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
4. แผนมวลชนสัมพันธ์เพื่อชี้แจงประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า เป็นต้น--จบ--
-สส-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit