กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--เอ พี เอ็ม กรุ๊ป
เอพีเอ็ม กรุ๊ป หนุนธุรกิจไทยเห็นความสำคัญ พัฒนาองค์กรคู่บุคลากรไปพร้อมกัน แนะมองประเทศต้นแบบอย่างอเมริกา สิงคโปร์ เห็นความสำคัญการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างแรก ส่งผลฝ่าวิกฤต สร้างตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิม 30-80%
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ เอพีเอ็ม กรุ๊ป ผู้ให้บริการธุรกิจฝึกอบรม และพัฒนาองค์กร และบุคลากร กล่าวว่าในภาวะปัจจุบันหลายประเทศในโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรืออีกหลายประเทศชั้นนำ ที่เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในองค์กรธุรกิจ หรือแม้แต่หน่วยงานภาครัฐเอง กันอย่างมากมาย โดยมองความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรว่า มีส่วนสำคัญที่ส่งให้ธุรกิจเกิดการพัฒนา และส่งผลถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศพัฒนาในที่สุด
"ความเข้าใจของคนไทยส่วนมากยังไม่ถูกต้องนัก โดยมองว่าองค์กรที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากร พัฒนาองค์กร เป็นองค์กรที่มีปัญหา จึงต้องมีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยในการพัฒนา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น ในการพัฒนาองค์กรส่วนใหญ่มีตดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งกว่าเดิมมากกว่า ในขณะที่ประเทศชั้นนำในโลกเห็นความสำคัญที่ต้องมีองค์กรภายนอกเข้ามาช่วยในการพัฒนาองค์กร และ บุคลากร ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีผู้ให้บริการลักษณะนี้อยู่กว่า 1000 องค์กร ในสิงค์โปร์มีอยู่กว่า 200 องค์กร ทั้งนี้เพราะเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์กรว่า จะต้องมีบริษัทที่ปรึกษาภายนอกเข้ามาช่วย เห็นได้ชัดอย่างสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ส่งผลให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเร็ววัน"
ซึ่งที่ผ่านมานั้น เอพีเอ็ม มุ่งการพัฒนาในภาพรวม 3 อย่างคือ การเป็นที่ปรึกษาทำงานร่วมกับลูกค้าในการบริหารจัดการ ต่างๆจากการเป็นที่ปรึกษาของบริษัทอื่นที่เขียนเอกสารให้ลูกค้าแล้วให้ลูกค้านำไปปฎิบัติเท่านั้น ซึ่งไม่เกิดผลดีอะไร บทบาทที่ 2 เป็นการทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นเป็นภาพที่จับต้องได้ว่าองค์กรนั้น เป็นองค์กรที่ดีมีการพัฒนาในระดับไหน เก่งตรงไหน โดยมรเครื่องมือในการวัดองค์กร และบุคลากรอย่างไร ซึ่งเป็นรูปแบบที่เริ่มได้รับความนิยมมากในต่างประเทศในปัจจุบัน ตลอดจนเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบโครงการและวิธีการสอนบุคลากรให้เข้ากับระบบใหม่ที่ควรเป็น
"หากจำเป็นก็ต้องแก้ทั้งระบบโครงสร้างผ่านทางการพัฒนาบุคลากรในลักษณะเลินนิ่งโซลูชั่น สอนคนให้เข้าได้กับระบบใหม่ โครงสร้างใหม่ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบการเป็นพี่เลี้ยง หรือเทรนงานที่หน้างานเมื่อจำเป็น"
ในส่วนของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาต่างเห็นความสำคัญของการปรับระบบการทำงาน ปรับโครงสร้างภายในด้วยการนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ จึงเกิดเป็นความเท่าเทียมกันในด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยี ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน เรียกร้องการบริการที่ดีเนื่องจากความทันสมัย ทางด้านเทคโนโลยีสามารถหาได้เท่าเทียมกัน
"ในประเทศสิงคโปร์มีการกำหนดเป็นแนวทางไว้ว่าทุกปี ภาครัฐต้องมีการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 4-5 อย่างทุกปี เช่นการพัฒนาภาวะผู้นำ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในยุควิกฤตได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแต่องค์กรธุรกิจเท่านั้น ภาพที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดอยู่ในรูปแบบการประชุม ที่เน้นการสื่อสารโต้ตอบกันแทนการมีประธานเป็นกำหนดการประชุมเพียงคนเดียว"
อริญญากล่าวว่า การพัฒนาองค์กรธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาครัฐ พร้อมกับอย่างที่หลายประเทศทำกัน จึงน่าจะเป็นทางออก และเป็นคำตอบของประเทศไทยในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันได้อย่างดี โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลากรในองค์กรก่อนเป็นอย่างแรกทั้งนี้ เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันเทคโนโลยี่เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ทันกันหมด
"ก่อนหน้านี้คนไทยยังไม่ให้ความสำคัญของการพัฒนาองค์กร เห็นได้จากลูกค้า เอพีเอ็ม ก่อนหน้านี้เป็นองค์กรจากต่างชาติที่อยู่ในประเทศทั้งสิ้น มาในระยะหลังธุรกิจไทย เริ่มเห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์กรโดยเน้นที่บุคลากรกันมากขึ้น แต่ยังเป็นในปริมาณไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นองค์กรขนาดใหญ่อย่างกลุ่มชินวัตร บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย ธนาคารชั้นนำต่างๆ"
อย่างไรก็ตามอริญญา กล่าวว่าจากการวิจัยพบว่าองค์กรชั้นนำในเมืองไทยสามารถฟื้นจากภาวะวิกฤตได้เป็นเพราะองค์กรเหล่านั้น ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรในองค์กรก่อน ตามมาด้วยการมองความต้องการของลูกค้าว่าต้องการได้อะไรจากธุรกิจเหล่านั้น คือความต้องการลูกค้าเป็นโจทย์ และนำมาปรับแผนงาน ปรับโครงสร้างภายในใหม่ หาฐานลูกค้าใหม่ หาบริการใหม่ๆเข้ามานำเสนอ
"จากการได้เข้าไปสัมผัสองค์กรใหญ่ในปัจจุบันพบว่าบริษัทเหล่านั้นใช้วิธีการฝ่าวิกฤต ด้วยการสร้างชื่อองค์กรให้เป็นที่รู้จักของต่างชาติ ตลอดจนการสร้างแบรนด์ไปพร้อมกันทำอย่างไร จะบริหารแบรนด์ที่มีอยู่อย่างไร กลายเป็นการพัฒนาองค์กรผ่านการสร้างแบรนด์"
ในส่วนสหรัฐอเมริกาพบว่า ทุกปีผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรในสัดส่วน 20-30% ต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปี หรือต้องมีการพัฒนาใน 1-2 ขั้นตอน การพัฒนาทุกปีว่าจะพัฒนาเรื่องอะไรเป็นสำคัญในปีนี้ ทั้งนี้พบว่าองค์กรธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างจริงจัง และเป็นผลสำเร็จทั้งในสหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจเพิ่มขึ้น 30-80% อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนขององค์กรไทยเองก็ควรหันมาให้ความสำคัยการพัฒนาองค์กรควบคู่พัฒนาบุคลากรไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ธุรกิจไทยก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งต้องเริ่มต้นจากากรสร้างตัวเลขยอดขายในธุรกิจของตัวเองให้เพิ่มขึ้นมากก่อน
Sorakom Tridej
Marketing Coordinator
APM Group
Tel: 0-2656-9310
Fax:0-2656-9322
www.apm.co.th--จบ--
-นห-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit