การไฟฟ้านครหลวงจับมือไทยธนาคารเตรียมตั้งบริษัทจัดการพลังงาน ชิงเค้ก 1.7 หมื่นล้านบาท

12 Jun 2003

กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--กฟน.

นายชลิต เรืองวิเศษ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยถึงความร่วมมือเบื้องต้น (MOU) เพื่อเตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดการ พลังงาน (ESCO) ร่วมกับนายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ว่า กฟน.ได้ดำ เนินโครงการนำร่องร่วมกับไทยธนาคาร ในการเตรียมจัดตั้งบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและดำเนิน การจัดการอนุรักษ์พลังงานอย่างครบวงจร ให้แก่อาคารและโรงงานควบคุมต่างๆ โดยทีมงานจากทั้ง 2 องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน กล่าวคือ ธนาคารไทยธนาคารจะมีบทบาทหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ในการลงทุนรวมทั้งจัดหาแหล่งเงิน ทุนให้กับลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ ขณะที่ทีมบุคลากรของการไฟฟ้านครหลวง มีประสบการณ์และศักยภาพด้านเทคนิคและวิศวกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบและติดตั้งระบบตลอดจนอุปกรณ์ในการอนุรักษ์พลังงานให้แก่ลูกค้า

รวมถึงบริษัทยังจะ ประกันผลการประหยัดพลังงานให้อีกด้วย ผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวงกล่าวว่า การลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นกับ ไทยธนาคารครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำ เนินธุรกิจต่อเนื่องของ กฟน. นอกเหนือจากการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดการพลังงาน หรือ ESCO

ในครั้ง นี้ ถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับภาระหน้าที่และความชำนาญของ กฟน.เพราะที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลาย แห่งได้ว่าจ้างให้ กฟน. เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการพลังงานอยู่ก่อนแล้ว ทำให้คาดว่าในสิ้นปี 2546 บริษัทนี้จะมีรายได้ประมาณ 60-100 ล้านบาท“ กฟน.มีประสบการณ์ในเรื่องการจัดการด้านพลังงานไฟฟ้ามากว่า 40 ปีฉะนั้นในเรื่องของความชำนาญและผลงาน ถือว่า ไม่เป็นรองใครในขณะที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 400 กิโลวัตต์ขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้ต้องวางแผนและจัดการด้าน การอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า4,000 ราย ทั่วประเทศ ถือเป็นตลาดที่กว้างเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่ปรึกษาซึ่งปัจจุบัน มีอยู่เพียงไม่กี่รายแต่ที่ผ่านมา การอนุรักษ์พลังงานจะต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำให้เงินต้นทุน ซึ่งลูกค้าหลายรายจะ ติดปัญหาเรื่องของเงินลงทุน

ฉะนั้นการที่ กฟน. ร่วมมือกับไทยธนาคารในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ง่าย ขณะที่ธนาคารและ กฟน. ได้ลูกค้าเพิ่ม ถือว่าทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น ในลักษณะของ Win Win Situation “นายชลิต กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับบริษัทร่วมทุนในครั้งนี้ จะดำเนินการให้กับลูกค้าทั้งประเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในพื้น ที่รับผิดชอบของกฟน.อันได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรีหรือสมุทรปราการเท่านั้น และในอนาคต กฟน. จะขยายธุรกิจอื่นที่เกี่ยว ข้องไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ทางด้านนายพีรศิลป์กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนำร่องเพื่อเตรียมจัดตั้งบริษัทจัดการพลังงานนี้ได้กำหนดระยะเวลาในการดำ เนินการเตรียมความพร้อม 1 ปี โดยทีมงานจะให้คำปรึกษา จัดหาเงินลงทุนและดำเนินการจัดการอนุรักษ์พลังงานแก่ลูกค้าที่เข้า ร่วมโครงการ ได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 เป็นต้นไป และเมื่อครบ 1 ปี แล้วทั้งสององค์กรจะประเมินผลงานของการดำเนิน การเบื้องต้นและจะนำเสนอผู้บริหารของทั้งสององค์กร เพื่อพิจารณาในแผนการร่วมมือเพื่อจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการต่อไป “เป็นความภูมิใจของธนาคารไทยธนาคาร ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องเพื่อจัดตั้งบริษัทจัดการพลังงาน เนื่อง จากถือเป็นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจไทยสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยัง สอดคล้องกับมาตรการในการอนุรักษ์พลังงานของประเทศอีกด้วย” นายพีรศิลป์กล่าว สำหรับตลาดด้านการจัดการอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบันมีอาคารและโรงงานควบคุม ที่จัดอยู่ในกลุ่มเป้าหมายของการอนุรักษ์ พลังงานตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ทั่วประเทศจำนวน 4,100 แห่ง โดยบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด ได้ประมาณการตลาดของการอนุรักษ์พลังงาน ไว้ที่ระดับ 17,000 ล้านบาท--จบ--

-ปส-