เวิร์มบั๊กแบร์-บี ติดอันดับหนึ่งบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ ประจำเดือนมิถุนายน

01 Jul 2003

กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)

เวิร์มบั๊กแบร์-บี ติดอันดับหนึ่งบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ ประจำเดือนมิถุนยน

และในรายงานการจัดอันดับไวรัสคอมพิวเตอร์ในครึ่งปีแรกของปี 2546 จากโซโฟส

โซโฟส บริษัทชั้นนำด้านการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ชั้นนำระดับโลก รายงานถึงการจัดอันดับไวรัสคอมพิวเตอร์ในครึ่งปีแรกของปี 2546 พบว่า แนวโน้มของไวรัสใหม่มีเพิ่มมากขึ้น โดยรวมแล้ว โซโฟสได้ค้นพบ และสามารถปกป้องไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ๆ ได้กว่า 3,855 เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 17.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ไวรัสตัวเด่นที่สุดที่ค้นพบคือ เวิร์มบั๊กแบร์ โดยคิดเป็นจำนวนถึง 12% จากจำนวนรายงานที่โซโฟสได้รับทั้งหมด ถึงแม้ว่ามันเป็นเพียงไวรัสตัวใหม่ที่ถูกค้นพบเมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมาในต้นเดือนมิถุนายน เทียบกับรายงานของเวิร์มบั๊กแบร์-เอ ซึ่งเป็นเวิร์มต้นฉบับ คิดเป็นจำนวนเพียง 2.5%

รายงานผลสรุปการจัดอับดับไวรัสคอมพิวเตอร์ประจำครึ่งปีแรกของปี 2546 จากทีมงานฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิคของโซโฟสมีดังนี้ โดยไวรัสที่ถูกค้นพบมากที่สุดจะถูกจัดอยู่ในอับดับหนึ่ง

1. W32/Bugbear-B

11.6%

(Bugbear variant)

2. W32/Sobig-C

9.7%

(Sobig variant)

3. W32/Klez-H

8.4%

(Klez variant)

4. W32/Sobig-B

5.3%

(Sobig worm)

5. W32/Sobig-A

3.3%

(Sobig worm)

6. W32/Avril-B

3.2%

(Avril variant)

7. W32/Bugbear-A

2.5%

(Bugbear worm)

8=. W32/Avril-A

2.3%

(Avril worm)

8=. W32/Fizzer-A

2.3%

(Fizzer worm)

10. W32/Yaha-E

1.8%

(Yaha variant)

อื่นๆ

49.6%

"ถึงแม้ บั๊กแบร์-บี จะถูกค้นพบทีหลังกว่าไวรัสตัวอื่นๆ แต่มันได้ก่อความปั่นป่วนมากกว่าไวรัสตัวอื่นๆ ที่ค้นพบก่อนหน้านี้ในครึ่งปีแรกของปีนี้" มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของ โซโฟส แอนตี้-ไวรัส เอเชีย กล่าว "บั๊กแบร์-บี ติดอันดับไวรัสที่หนึ่งที่ได้ก่อความปั่นป่วนให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของตัวอีเมล์ทุกๆ ครั้งที่ส่งออกไปด้วยตัวมันเอง รวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนอีเมล์ที่อยู่ของผู้ส่งได้อีกด้วย"

นอกจากนี้ไวรัสที่ได้รับรายงานมากที่สุดเป็นอันดับสอง เป็นจำนวนเกือบ 10% ของรายงานที่ได้รับทั้งหมดคือ เวิร์มโซบิ๊ก-ซี (SoBig-C) โดยการแฝงตัวเป็นอีเมล์จากบิลล์ เกทต์ ไมโครซอฟท์ ถึงแม้จะมีขอบเขตการแพร่กระจายที่จำกัด เพราะมันถูกเขียนขึ้นให้หยุดทำงาน ภายใน 1 อาทิตย์หลังจากที่ถูกแพร่กระจายออกมา โดยรวมแล้ว เวิร์มโซบิ๊ก จำนวน 5 ตัวได้ถูกแพร่กระจายภายในปีนี้ โดยทั้งสายพันธุ์ เอ และบี ก็ติดอยู่ในการจัดอับดับท้อปเท็นด้วย จึงนับได้ว่า เวิร์มโซบิ๊ก ที่มีช่วงอายุสั้น ได้ก่อผลกระทบมากที่สุดให้กับเครือข่ายธุรกิจในปีนี้

ในทางตรงกันข้ามกับการคุมคามแบบชั่วคราว คือ เคลซ-เอช (Klez-H) ถึงแม้มันจากถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนมีนาคม ปี 2545 แต่มันก็สามารถครองอันดับสามได้ในปีนี้

ความเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

  • จำนวนไวรัสที่ถูกค้นพบใหม่มีสูงถึง 17.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่านักเขียนไวรัส ไม่รู้สึกสะทกสะท้านกับข่าวการถูกตัดสินจำคุก ของ มร.ไซม่อน เวลเล่อร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนเวิร์มอีเมล์ถึง 3 ตัว โดย มร.เวลเล่อร์ ถูกศาลประเทศอังกฤษตัดสินให้ถูกจำคุกเป็นเวลา 2 ปี เมื่อเดือนมกราคมปีนี้
  • ไวรัสจำนวน 8 ตัวที่ถูกจัดอยู่ใน 10 อันดับไวรัส มีวิธีการแพร่กระจายมากกว่า 1 วิธี โดยใช้วิธีรวมทั้งด้านการส่งอีเมล์ ไออาร์ซี (Internet Relay Chat) การใช้ข้อมูลร่วมในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ/หรือ การใช้ข้อมูลร่วมแบบ P2P จะเห็นได้ว่าผู้เขียนไวรัสไม่พึ่งแค่การใช้อีเมล์ในการแพร่กระจายไวรัสอีกต่อไป ดังนั้นผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรที่จะติดตั้งซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัส และทำการอัพเดทอยู่สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะถูกส่งมาในรูปแบบใด
  • ในเดือนมกราคม เวิร์มสแลมเมอร์ (Slammer) เป็นเวิร์มอินเทอร์เน็ตที่ก่อความปั่นป่วนมากที่สุดขณะนั้น โดยมันมุ่งจู่โจมจุดบกพร่องของโปรแกรม วินโดวส์ 2000 ของไมโครซอฟท์ ซึ่งทำให้อินเทอร์เน็ตบางส่วนทำงานช้าลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งเครื่องเอทีเอ็มบางส่วนในอเมริกาก็ถูกกระทบไปด้วย โซโฟสเตือนให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดตั้งโปรแกรมแก้ไขจุดบกพร่อง (Patches) จากบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ทันทีที่โปรแกรมเหล่านี้ถูกเผยแพร่ออกมา
  • อาวิล ลาวิน (Avril Lavigne) เป็นไวรัสเกี่ยวกับดาราดังที่ขึ้นชื่อประจำปีครึ่งปีแรกนี้ โดยเวิร์ม Avril 2 ตัวคิดเป็นจำนวน 5.5% ของจำนวนรายงานไวรัสทั้งหมด แต่เวิร์ม อิ๊คกลู (Igloo) ซึ่งอ้างว่าเป็นอีเมล์แนบรูปที่ไม่รับการอนุญาตให้เผยแพร่ของ Catherine Zeta-Jones, Shakira, Sarah Michelle Gellar และ Sandra Bullock ไม่ติดอยู่ในการจัด 10 อันดับไวรัสในครึ่งปีแรกนี้
  • ไวรัสบางตัวใช้หัวข้อข่าวในสถานการณ์ปัจจุบันในการแพร่กระจาย อาทิ เวิร์ม โคโรเน็กซ์ (Coronex) ซึ่งแฝงตัวเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโรคซาร์ส และ เวิร์ม แกนด้า (Ganda) ซึ่งแฝงตัวเป็นรูปภาพลับเฉพาะจากสายสืบในสงครามอีรัก แต่เวิร์มเหล่านี้ไม่สามารถแพร่กระจายได้มากนัก

สรุปผลรายงาน ไวรัสหลอก ประจำครึ่งปีแรกของปี 2546

ไวรัสหลอกยังคงก่อความสับสนให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง JDBGMGR ซึ่งแพร่กระจายโดยใช้หลายภาษา โซโฟสย้ำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทำการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ว่าคำเตือนไวรัสที่จริงหรือหลอกโดยสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ ของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสต่างๆ

ไวรัสหลอกที่โซโฟสที่ได้รับรายงานเข้ามาในช่วงครึ่งปีแรก มีดังนี้

1. JDBGMGR

16.7%

2. WTC Survivor

14.0%

3. Meninas da Playboy

8.2%

4. Hotmail hoax

6.7%

5. Budweiser frogs screensaver

5.7%

6. Bonsai kitten

5.1%

7. A virtual card for you

4.1%

8. Nokia giveaway

2.6%

9. Applebees Gift Certificate

2.5%

10. Bill Gates fortune

2.2%

อื่นๆ

32.2%

"ไวรัสหลอกก่อความปวดหัวมากๆ นอกจากนี้ยังทำให้เสียเวลา เงิน และ แบนด์วิธ โดยเปล่าประโยชน์ และสามารถทำให้คุณเสียหน้าแก่เพื่อนร่วมงานด้วย" มร. คัสซิ่นส์ กล่าวเสริม "มันน่าเสียดายที่ ไวรัสหลอก JDBGMGR ยังคงครองตำแหน่งอย่างเหนียวแน่นในการจัดอันดับ 10 ไวรัสหลอก เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังคงเชื่ออีเมล์ที่พวกเขาได้รับอย่างง่ายดาย"

ส่วนในเดือนมิถุนายนนี้ โซโฟสได้ค้นพบไวรัสใหม่ รวมถึงเวิร์ม และโทรจัน ฮอร์ส เป็นจำนวน 824 ตัว โดยรวมเป็นจำนวนไวรัสทั้งสิ้น 82,872 ตัวที่โซโฟสสามารถป้องกันได้ การจัดบัญชีดำไวรัสประจำเดือนมิถุนายน มีดังนี้

1. W32/Bugbear-B

30.0%

2. W32/Sobig-C

25.0%

3. W32/Klez-H

3.8%

4. W32/Sobig-B

3.8%

5. Dial/PecDial-B

1.8%

6. W32/Rox-A

1.3%

7. W32/Flcss

1.2%

8. W32/Bugbear-A

1.1%

9. W32/Opaserv-G

1.1%

10. W32/Lovgate-E

0.9%

อื่นๆ

30.0%

ส่วนการจัด 10 อันดับไวรัสหลอกประจำเดือนมิถุนายน มีดังนี้

1 JDBGMGR

13.3%

2 Meninas da Playboy

12.5%

3 Nokia giveaway

10.0%

4 Hotmail hoax

9.2%

5 Budweiser frogs screensaver

4.8%

6 Bonsai kitten

4.5%

7 A virtual card for you

4.2%

8 Frog in a blender/Fish in a bowl

3.5%

9 Applebees Gift Certificate

3.0%

10 WTC Survivor

2.5%

อื่นๆ

32.5%

โซโฟส ได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไวรัส ที่ได้รับการอัพเดทอย่างทันเหตุการณ์ เพื่อให้บริการแก่เครือข่ายอินทราเน็ต และเว็บไซด์ขององค์กร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กรนั้นๆ สามารถค้นหาข้อมูลที่ทันเหตุการณ์เกี่ยวกับไวรัสต่างๆ ได้อยู่สม่ำเสมอ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการนี้ สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/virusinfo/infofeed/

ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/safecomputing

ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:

โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com

สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์

หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์

ผู้อำนวยการบริหาร

บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore

โทร.0-2260-5820 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8

Tel: +65 429 0060

Email: [email protected]

Email: [email protected]

Web Site: www.sophos.com--จบ--

-รก-