มูลนิธิฯเพื่อการรักษาสุนัขจรจัด ขอเชิญร่วมบริจาคทรัพย์ เพื่อเป็นทุนดำเนินงานของมูลนิธิฯ เพื่อการรักษาสุนัขจรจัด

25 Aug 2003

กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--มูลนิธิฯเพื่อการรักษาสุนัขจรจัด

ในปัจจุบันสุนัขจรจัดมีอยู่มากมายในสังคมของเราและในขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์เหล่านี้ ได้เข้ามาร่วมกันช่วยแก้ใขปัญหาให้ลดลง อาทิเช่น จะเป็นการควมคุมประมาณการเพิ่มขึ้นของสุนัขจรจัด หรือจะเป็นการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าฟรี และอื่นๆ แต่ปัญหาที่ดูแล้วว่าน่าจะเป็นปัญหาที่หนักพอสมควร คือผัญหาสวัสดิภาพของสัตว์ป่วยที่ถูกทอดทิ้งตามท้องถนน

ดังนั้นทางมูบนิธิฯได้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ช่วยประชาสัมพันธ์และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เช่น สมาคมพิทักษ์สัตว์และผู้พอเห็นสัตว์ป่วย สัตว์ป่วยเหล่านี้เขามีความเป็นอยู่ที่ทุกข์ทนทรมานสัตว์ป่วยเหล่านี้ไม่มีใครเหลียวแล สัตว์ป่วยเหล่านี้บางตัวก็ ช่วยตัวเองได้แต่บางตัวก็นอนรอความช่วยเหลือจากผู้พบเห็นเดินทางผ่านไป ผ่านมาและบางครั้งสัตว์ป่วยเหล่านี้ก็ ต้องนอนรอความตาย

จุดประสงค์เพื่อการรักษาสุนัขจรจัด 1.เพื่อช่วยสัตว์ป่วยและเป็นที่พักฟื้นของสัตว์ป่วยทั่วกรุงเทพฯ 2.เพื่อการช่วยสัตว์ป่วยพร้อมทั้งเป็นหน่วยรถเคลื่อนที่เร็วเพื่อช่วยเหลบือสัตว์ตามที่สรธารณะต่างๆและสัตว์ที่ถูกกักขัง ทำร้าย 3.พร้อมจะเป็นคลีนิคเคลื่อนที่ พร้อมที่จะบำบัดสัตว์ป่วยทุกชนิด

หลักการและเหตุผล 1.

มีการควมคุมพลเมืองในการทำหมัน

1.1 มูลนิธิฯมีนโยบายทำหมันเพศผู้ให้กับสุนัขจรจัดพร้อมทั้งตัดเขี้ยวทิ้งเพื่อเป็นการลดปริมาณสุนัขจรจัดเหตุผลในการทำหมันเพศผู้เพราะว่า

  • สุนัขเพศผู้ ไม่มีอัตราเสี่ยงถึงชีวิต
  • สุนัขเพศผู้สามารถใช้ไหมละลายได้โดยไม่ต้องตัด
  • สุนัขเพศผู้ไม่ต้องห่วงเรื่องการติดเชื้อหรือไส้ทะลักตาย
  • สุนัขเพศผู้เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วไม่ต้องพักฟื้น กลับได้เลย
  • สุนัขเพศผู้ มีอัตราการทำร้ายมนุษย์มากกว่าสุนัขเพศเมีย จึงสมควรตัดเขี้ยวเพื่อป้องกันการกัด และลดความน่ากลัวสุนัขจรจัดลงได้
  • การตอนสุนัขเพศผู้ใช้เวลาน้อยมากแค่ 15 นาที นายสัตวแพทย์ 1 คน สามารถทำหมันสุนัขเพศผู้ได้ 24-30 ตัว/วัน ซึ่งการทำหมันสุนัขเพศเมียนั้นจะใช้เวลามากกว่า ดังนั้นหากรณรงค์ทำหมันเพศผู้ 200,000 ตัว จะใช้เวลาน้อยกว่า การรณรงค์ทำหมันเพศเมีย โดยสามารถทำได้หมดภายในเวลา 2-3 ปีเท่านั้น ข้อเสียของการทำหมันสุนัขเพศผู้ก็มีบ้างคือ หลังการตอน 3-4 เดือนจะมีอสุจิค้างท่ออยู่ ซึ่งสามารถผสมพันธ์ได้แต่ก็เพียงระยะแรกเท่านั้น 2.การสร้างโรงเรือนสุนัขมีความคิดเห็นอย่างไร

ทางมูลนิธิฯมีความต้องการส่งเสริมให้ปลูกสร้างโรงเรือนขนาดย่อมตามวัดชานเมือง โดยสร้างโรงเรือนชั้นเดียว โครงสร้างเหล็กแข็งแรง มุงด้วยตาข่ายพื้นทำง่ายๆ แบ่งเป็นคอกอนุบาลหมาเล็ก, ขนาดกลาง, และหมาป่วย โดยจะปล่อยให้สุนัขเหล่านั้นวิ่งเล่นในคอกของตัวเอง จัดให้มีอาบน้ำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง โดยรอบๆ โรงเรือนมีมุ้ง, มีที่ดักยุง, และมีรางน้ำอยู่รอบๆ เพื่อป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสุนัขโดยให้แต่ละวัดมีโรงเรือนจุสุนัขจรจัดไม่เกิน 200 ตัว/วัด มีการจัดค่าอาหารและยารักษาโรค ประกอบกันมีสถานที่รองรับการรักษาในทุกพื้นที่เพียงเพิ่มจำนวนคลินิก เพื่อการรักษาสุนัยจรจัด จำนวน 40 แห่งเท่านั้น ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณปีละหลายร้อยล้านบาท 3.การร่วมมือกับชุมชน

  • จัดให้มีการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า 50 บาท
  • จัดให้มีการฉีดยาฆ่าพยาธิ-เห็บหมัด 100 บาท
  • จัดให้มีอาสาสมัครในชุมชนให้ช่วยกันจัดการดูแลรักษาตลอดจนให้ความรู้แก่เหล่าอาสาสมัครเหล่านี้ด้วย
  • จัดให้มีคลินิกนอกชานเมือง รวมไปถึงโรงพยาบาลที่อยู่โดยรอบ 40 แห่ง ให้ช่วยเหลือสุนัขจรจัด โดยคิดค่ารักษาในราคาถูก ถ้าตัวไหนป่วยหนักให้ส่งมาให้ทางมูลนิธิฯรับผิดชอบ ไม่ต้องเสียเงินในการจัดจ้าง
  • ทำหมันเพศผู้,เพศเมีย
  • ฉีดยาคุม
  • ฉีดวัคซีนรวม 6 โรค ได้แก่ Distemper, hepatitis, Leptospirosis Parvovirus, Parainlleuenza, Coronavirus 4.การร่วมมือกับโรงเรียน

ให้ความรู้กับนิสิตนักศึกษา โดยจัดวิทยากรให้ความรู้ ได้แก่ นายสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาวุโส โดยให้ความรู้ตามโรงเรียนสามัญ, อาชีวะ, ชุมชนวัด, อาสาสมัครของมูลนิธิ โดยประมาณการครั้งแรกเดือนละ 2 ครั้ง และให้ความรู้กับอาสาสมัคร อาสาสมัครของมูลนิธิฯอบรม เดือนละ 1 ครั้ง นอกจากนั้นทางมูลนิธิฯยังมีโครงการหนังสือหมุนเวียนช่วยเหลือสุนัขจรจัด เพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • เป็นการส่งเสริมการอ่าน มุ่งเข้าสู่ประชาชน, นิสิต, นักศึกษา, เยาวชนทั่วไปให้รักการอ่าน
  • ส่งเสริมกิจกรรมในมหาวิทยาลัย, วิทยาลัย, โรงเรียนสามัญ, โรงเรียนอาชีวะศึกษาต่างอ ๆ เพื่อเป็นทุนการศึกษาและกิจกรรมของชมรมโดยจะแบ่งรายได้กองทุนละ 30 บาท/เดือนให้กับเยาวชนเหล่านี้
  • ส่งเสริมให้กับปัญญาชนโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่มีความเข้าใจในชีวิตของสัตว์เร่ร่อนและสุนัขจรจัด เมื่อเวลาผ่านไปทุกคนเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีจิตใจรักสัตวืไม่ทอดทิ้งสัตว์ให้เป็นปัญหาสังคมต่อไป

ในกรณีที่พบเห็นสุนัขจรจัดตามท้องถนนที่เป็นโรค ป่วย ถูกรถชน เราสามารถช่วยเหลือได้โดย

  • แจ้งผ่านทางสมาคมอื่น เช่น สมาคมพิทักษ์สัตว์
  • แจ้งผ่านทางมูลนิธิฯ จะจัดหน่วยรถเคลื่อนที่ไปรับมารักษา
  • แจ้งผ่านทางสถานีวิทยุชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน
  • แจ้งผ่านทางวิทยุกระจายเสียง จส. 100 สวพ. 91
  • แจ้งผ่านศูนย์เครือข่ายพญาอินทรีย์ ซึ่งมีกว่า 10,000 กว่าคน
  • แจ้งผ่านมูลนิธิฯร่วมกตัญญู
  • แจ้งผ่านทางมูลนิธิฯปอเต็กตึ๊ง
  • นำมาส่งด้วยตนเอง 5.ปัญหาและอุปสรรคที่พบในปัจจุบัน

1. ขาดเงินทุนสนับสนุน ในส่วนนี้ได้ตั้งกองทุน 300 บาทขึ้น พบว่าเงินที่บริจาคเข้ามาจากกองทุนมีน้อยมากเดือนนึงได้ประมาณ 5,000-6,000 บาทเท่านี้ ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่านั้นมากทางมูลนิธิฯมีวัตถุประสงค์ตั้งกองทุน 300 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุนัขเร่ร่อน โดยการเผื่อแผ่เป็นเงินทุนเพียงเล็กน้อย เพียงวันละ 10 บาท มูลนิธิฯต้องการภาพของความร่วมมือของประชาชน กองทุน 300 บาท ถ้า 100 คนจะได้เงิน 30,000 บาท ทางมูลนิธิฯต้องการ 3,000คน ประมาณ 900,000 บาทได้เพื่อมูลนิธิฯจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีงบประมาณในการจัดจ้างบุคลากรที่มีคุณภาพ มีการรณรงค์จัดหน่วยรถเคลื่อนที่ ตลอดจนการออกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถทำงานบรรลุตามเป้าหมายได้จริง

2. ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าทางกทม. หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่ควบคุมปัญหาเหล่านี้ไม่มีงบประมาณจัดสรรให้เอกชนใดๆ ทั้งสิ้น แต่มีความต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากมูลนิธิฯมาก เช่น การรณรงค์ทำหมันเพศผู้,เพศเมีย ต้องการให้มูลนิธิฯเป็นที่รองรับสุนัขจรจัด ที่เจ็บป่วยในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งหมดมีเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากระบบาราชการไทยเป็นอุปสรรคในการทำงาน จึงไม่สามารถช่วยอะไรในด้านนี้ได้

3. ความร่วมมือจากประชาชน ประเด็นนี้พบว่าสุนัขจรจัดและสัตว์เร่ร่อนส่วนใหญ่ ภาระของคนจนและคนชั้นกลางแทบทั้งสิ้นและหลายๆ คนก็ไม่มีเงินในเรื่องการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อส่งไปยังโรงพยาบาลตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานได้รับการสนับสนุนจากองค์กรของรัฐซึ่งก็ไม่ได้ให้ความสำคัญสุนัขจรจัดอย่างแท้จริง มีการคิดค่าใช้จ่ายจริงเหมือนสุนัขที่มีเจ้าของทางมูลนิธิฯมีวัตถุประสงค์ลดภาระของกลุ่มคนเหล่านี้ลงโดยในระยะเวลา 6 เดือนเต็มที่ผ่านมาก็สามารถช่วยเหบือสัตว์ได้จำนวนมาก ปัจจุบันคิดค่าผ่าตัดตัวละ 500 บาท ค่าฉีดยารักษาตัวละ 150 บาท ในขณะที่มูลนิธิฯมีภาระมากก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่มีฐานะ เราจึงควรปลูกจิตสำนึกในการเลี้ยงดูเพราะว่าคนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์ต่างประเทศเป็นหลักจึงควรปลูกจิตสำนึกให้คนเหล่านี้หันมาเลี้ยงสุนัขไทยมากขึ้น ทางมูลนิธิฯจึงเชิญชวนให้ประชาชนสนับสนุนในเรื่องนี้แต่ยังได้รับการสนับสนุนน้อยอยู่ไม่เป็นที่แพร่หลาย

4. การจัดหาทุนยังไม่มีอาสาสมัครที่แท้จริง เพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์งานให้มีประสิทธิภาพ และเรื่องเกี่ยวกับโครงงานเพื่อเปลี่ยนทัศนคติคนทั่วไปเพื่อให้เข้าใจสุนัขจรจัดและสุนัขเร่ร่อนอย่างแท้จริง ความร่วมมือระหว่างองค์กรในประเทศปัจจุบันมีองค์กร กทม. ที่เกี่ยวข้องอยู่ เช่น สมาคมพิทักษ์สัตว์ สมาคมสงเคราะห์สัตว์ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงสุด 6. ปัญหาและอุปสรรคทางมูลนิธิฯและแนวทางแก้ไข 6.1 ด้านการทำงาน

งานด้านการรักษาภายในของมูลนิธิฯ มีสัตว์ป่วยและได้รับอุบัติเหตุได้เข้ามาทางมูลนิธิฯ ทุกวัน ส่วนใหญ่แล้วป่วยหนักถึงหนักมาก ทางมูลนิธิฯ มีนายสัตวแพทย์เพียงทางเดียว ซึ่งม่ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์มา 16 ปี ก็จริง แต่ยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือศัลยกรรมกระดูก เครื่องอุตร้าซาวด์ และประสบการณ์ในการผ่าตัดในบ้างเรื่อง วันหนึ่งจะต้องดูแลสัตว์ป่วยประมาณ 40 ตัว ในหวอด ซึ่งแนวโน้มมีมากขึ้นเรื่อยๆ

แนวทางแก้ไข

1. ต้องมีบุคลากรนายสัตวแพทย์ ที่มีประสบการณ์เพิ่ม

2. ต้องมีเครื่องมือศัลยกรรมกระดูกและห้อง Lab เพิ่มมียาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าในปัจจุบัน 6.2 บุคลากรที่ดูแลมูลนิธิฯ

มีเจ้าหน้าที่เพียง 3 คน ซึ่งวันหนึ่งจะต้องทำงานถึง 12 ช.ม.เต็ม เข้างาน 8.30น.-20.30น. และมีงานทำทั้งวัน ค่อนข้างจะหนักสำหรับบุคลากรของมูลนิธิฯ จะต้องทุ่มเทและเสียสละเป็นอย่างมาก

แนวทางแก้ไข ถ้ามีบคุลากรส่วนนี้เพิ่มขึ้น จะช่วยลดตารางการทำงานลงเชื่อว่าจะได้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีและสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย 6.3 ปัญหาด้านอาหารสัตว์ป่วยที่มีอยู่ในหวอด

เนื่องจากสุนัขส่วนใหญ่ไม่เคยชินกับอาหารเม็ด จำเป็นต้องใช้อาหารสดเป็นจำนวนมาก (ต้องใช้ตับ+ข้าว+ซีโครงไก่) เพื่อฟื้นฟูร่างกายสุนัขเหล่านี้ แต่ทางโรงพยาบาลต้องประหยัดค่าใช้จ่าย

แนวทางแก้ไข ต้องขอรับบริจาคอาหารสด, อาหารกระป๋อง จากผู้มีจิตเมตตา ซึ่งก็ยังไม่ได้รับมาเลย 6.4 ค่าจัดการภายในโรงพยาบาลสัตว์ของมูลนิธิฯ

โรงพยาบาลสัตว์ของมูลนิธิฯเป็นโรงพยาบาลสัตว์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอาคารพาณิชย์ 7 ชั้น พร้อมลิฟท์ สามารถจุสัตว์ได้ 350 ตัว ก็จริง แต่ว่าทางโรงพยาบาลสัตว์ของมูลนิธิฯ ไม่มีเงินในการทำกรงเหล่านั้น ปัจจุบันกรงได้รับการหมุนเวียนมาเป็นเวลานาน ประมาณ 50 กรงเท่านั้น มีการใช้วัสดุหยาบๆ ในการทำกรงและไม่มีกรงสแตนเลสอย่างดีทั้งยังไม่มีตู้อบสำหรับสัตว์ป่วยที่ต้องการเข้าไปพักฟื้น ทำให้สัตว์ที่ป่วยหนักมีเปอร์เซ็นต์ตายค่อยข้างสูง อีกทั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางโรงพยาบาลมีเครื่องช่วยหายใจรุ่นเก่า BIRD ที่ผ่านการใช้งานถึง 30 ปีแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือสองยังไม่มีระบบท่อออกซิเจน ที่ใช้ในโรงพยาบาลที่ทันสมัย

แนวทางแก้ไข เพิ่มปรมาณกรงเพื่อรองรับสุนัขเพิ่ม และเครื่องช่วยหายใจที่มีประสิทธิภาพรวมถึงตู้อบสำหรับสัตว์ป่วยด้วย 6.5 ห้องผ่าตัด

ห้องผ่าตัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยชีวิตในระหว่างการผ่าตัด โคมไฟที่ใช้เป็นรุ่นเก่ามือสองผ่านการใช้งานมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ไม่มีห้อง Lab ที่ใช้ตรวจวัดค่าต่างๆ ได้ ไม่มีเครื่องผ่าตัดกระดูกที่ทันสมัยและไม่มีเครื่องอุตราซาวด์ ปัจจุบันมูลนิธิฯมีเครื่องเอ็กซ์เรย์ 100MA 1เครื่อง, เครื่องเอ็กซ์เรย์ 30MA 2 เครื่อง

แนวทางแก้ไข ปรับปรุงห้องผ่าตัด โดยเพิ่มอุปกรณืที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องผ่าตัดกระดูกที่ทันสมัยและเครื่องอุลตร้าซาวด์ 6.6 ปัญหาด้านสาธารณสุขการออกพื้นที่

ขาดการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าที่ดี เนื่องจากทางมูลนิธิฯมีเจ้าหน้าที่อยู่ 4 คนเท่านั้น บุคลากรเหล่านี้ได้ผ่านงานมา 7 เดือน เต็มซึ่งได้ออกพื้นที่ตามวัดและชุมชนต่างๆ 100 แห่ง โดยจัดแบ่งเจ้าหน้าที่ทำงานออกไปติดป้ายประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ให้รถกระจายเสียนล่วงหน้าอีก 1 สัปดาห์ ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ในการออกพื้นที่แต่ละครั้งมีสุนัขจรจัดจัดประมาณ 50-70 ตัว ส่วนใหญ่ต้องไล่จับกันเอง ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากประชาชน มากนัก ทำให้เจ้าหน้าที่เหน็ดเหนื่อยมาก วัตถุประสงค์ของการออกพื้นที่ ก็เพื่อต้องการยกระดับให้กับสุนัขจรจัดเหล่านี้ให้ดีขึ้น โดยการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าและเห็ด-หมัด ฟรี แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง ยอดเงินที่ได้รับบริจาคเทียบไม่ได้กับค่าใช้จ่ายจริง

แนวทางแก้ไข

  • จำเป็นต้องมีอาสาสมัครในวัดหรือชุมชนใกล้วัด
  • ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนรวมมากขึ้น
  • ต้องให้สื่อมวลชนทางวิยุกระจายเสียงล่วงหน้าเป็นระยะเวลหนึ่ง
  • ต้องมีบุคลากรมากกว่านี้ 6.7 สื่อเป็นตัวช่วยในการทำความเข้าใจกับประชาชน

ประชาชน ส่วนใหญ่แล้วเข้าใจผิดคิดว่าพวกเรานำสุนัขจรจัดไปฆ่าเป็นอาหารหรือจับไปกักขังหน่วงเหนี่ยวเหมือนที่ภาค กทม. ทำอยู่หรือจับไปทำหมันแล้วเสียชีวิต บางพื้นที่ที่ออกไปจะมีเด็กๆ เข้าไปขวางนำสุนัขไปซ่อน อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขชุมชนและไม่เข้าใจเจตนารมย์ในการควบคุมสุนัขจรจัดเคลื่อนที่ที่ทางมูลนิธิฯ ตั้งขึ้น จึงขาดความร่วมมือจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่

แนวทางแก้ไข ประชาสัมพันธ์ผ่านสือให้ประชาชนเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของมูลนิธิในการออกพื้นที่ 7.ทรัพยากรบุคคลภายในมูลนิธิฯ

มูลนิธิฯมีเจ้าหน้าที่ธุรการ 4 คน ส่วนใหญ่จบการศึกษาไม่สูงมากนักขาดประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้การประสานงาน, การติดต่องานไม่ได้ผลเท่าที่ควร จำเป้นจะต้องปรับลักษณะการทำงานของเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทางมูลนิธิฯมีพนักงานขับรถ 3 คน ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรู้เส้นทางใน กทม. มากนัก จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรที่รู้เส้นทางเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เจ้าหน้าที่หารายได้ 3 คน เจ้าหน้าที่งานช่าง 3 คน ซึ่งทั้งหมดประสิทธิภาพยังไม่ได้สูงสุด ทำให้งานฝ่ายรายได้ยังไม่คืบหน้ามากนัก

แนวทางแก้ไข จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพ บุคลากรเพิ่มขึ้น แต่บุคลาการที่รักสัตว์และทุ่มเทงานด้านนี้หาได้ยากมาก ทางมูลนิธิฯ ต้องการบุคลากรที่ทุ่มเทและเสียสละในการทำงานมากกว่าที่เป็นอยู่

7.1เครือข่าย ทางมูลนิธิฯ ได้ประสานและทำงานร่วมกับองค์กรส่วนใหญ่ อาทิเช่น สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย ได้ส่งมาให้ทางโรงพยาบาลรักษา เป็นเวลา 2 ปีแล้ว, กลุ่มSOS ประมาณ 1 ปี, สถานีร่วมด้วยช่วยกันประมาณ 6 เดือน, ศูนย์พญาอินทรีย์ ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่ มีเครือข่ายมาก มีสมาชิก 10,000 กว่าคน สถานี จส.100 มูลนิธิร่วมกตัญญู, มูลนิธิปอเต็กตึ้ง, มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์, หน่วยงานราชการในเขตต่างๆ เช่น เขตประเวศ, เขตบางนา, เขตพระโขนง, เขตสวนหลวง รวมทั้งประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และปรมณฑล, กลุ่มผู้รับเลี้ยงสุนัขจรจัด 3,000 คน ซึ่งกระจายอยู่โดยรอบ ซึ่งในอนาคตมูลนิธิฯ จะมีเครือข่ายที่เป็นสมาชิกส่งสัตว์ป่วยอยู่ไม่ต่ำกว่า 10,000 กว่าคน ส่วนใหญ่จะเป็นอาสาสมัครที่กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ และชุมชนตัวเอง

ในแต่ละปีทางมูลนิธิจะทำหมันเพศผู้ ให้ได้มากที่สุด ในปีแรกถ้าเรามีงบประมาณมากพอก็ประมาณการว่า ในปีแรก 10,000 ตัว ในปีที่ 2 ;30,000 ในปีที่3 ;100,000 ตัว ในปีที่4 ;200,000 ตัว ปัญหาประชากรสุนัขจรจัดจะลดลงได้ ภายใน 5 ปี ในปีแรกอาจจะลดลง 2% ปีที่ 2 อาจจะลดลง 15% ปีที่ 3 อาจจะลดลง 25% ปีที่4 อาจจะลดลง 50% ก็จะสามารถควมคุมได้ประมาณ 80%-90%

กิจกรรมที่มูลนิธิได้จัดทำอยู่ คือ 1.ออกพื้นที่ช่วยสุนัขจรจัดที่เจ็บป่วย 2.จัดรถเคลื่อนที่รับรักษาสุนัข แมวจรจัด ตามวัด แหล่งชุมชน

2.1 ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ประมาณ 2,500 ตัว

2.2 ฉีดยาป้องกันเห็บ-หมัด ประมาณ 2,500 ตัว

2.3 อาบน้ำยารักษาโรคเรื้อนสุนัข ประมาณ 1,000 ตัว

2.4 รับรักษาสุนัข แมวจรจัด เข้าพักรักษา ณ โรงพยาบาลได้นำสุนัขหรือแมวที่มีอาการหนักจากการออกพื้นที่มาตรวจรักษาต่อยังโรงพยาบาล สุนัขและแมวถูกส่งมารักษาจากสมาคม กองทุนพิทักษ์สัตว์อื่นๆ ตลอดจนจากประชาชนที่มีจิตเมตตานำสัตว์ที่เจ็บป่วยมารับการรักษาจากสถิติของสัตว์ที่ได้ถูกส่งมาพักรักษาเป็นจำนวนมากขึ้น โดยคิดเฉลี่ยในอัตรา 50-70 ตัว/เดือน และสามารถแยกตามลักษณะของการรักษาได้ดังนี้

  • ผ่าตัด สุนัข แมว ประมาณ 700 ตัว
  • ทำหมันสุนัข แมว
  • โรคอื่นๆ เช่น พยาธิหนอนหัวใจ ลำไส้อักเสบฯ
  • โรคเรื้อนที่เป็นหนักต้องพักรักษาตัว เป็นต้น 3.รณรงค์หาเจ้าของรับเลี้ยงดูสุนัขจรจัดตามวัด-ชุมชนต่างๆ เมื่อรักษาหาย 4.ขยายพื้นที่ให้บริการโดยเปิดคลีนิกรักษาสัตว์นำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในมูลนิธิฯ 5.แจกใบปลิวตามสถานที่ต่างๆ 6.จัดหาอาสาสมัครมูลนิธิฯ ช่วยเหลือสัตว์ป่วย 7.ร่วมมือกับคลีนิกและโรงพยาบาลสัตว์ที่มีอยู่ ทั่วไปช่วยรับรักษาสุนัขจรจัดและร่วมกันจัดกิจกรรมควบคุมและป้องกัน ภายในเขตพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ 8.ร่วมมือกับสมาคมพิทักษ์สัตว์, สมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์, กลุ่มคนรักสัตว์, กลุ่ม SOS, จส.100, ร่วมด้วยช่วยกัน, มูลนิธิร่วมกตัญญู และภาครัฐ เพื่อควบคุม, ป้องกันและรักษาสุนัขจรจัด โดยให้โรงพยาบาลสัตว์โรจน์นิรันดร์ดูแล-รักษาสุนัขจรจัดเจ็บป่วยเหล่านี้ 9.ขายสินค้านำเงินสมทบมูลนิธิฯ 10.จัดกิจกรรมร่วมกับงานประกวดสุนัข ซึ่งจัดตามห้างอยู่บ่อยๆ 11.จัดการประชุม-สังสรรค์ สำหรับผู้รักสุนัขและต้องการช่วยเหลือสุนัขจรจัดเพื่อประชาสัมพันธ์, หาผู้สนใจเป็นอาสาสมัครและหาทุนสนับสนุนงานมูลนิธิฯ

งานหลักที่ นายสัตวแพทย์เกียรติศักดิ์ทำ คือทำกิจการของโรงพยาบาลสัตว์โรจน์นิรันดร์ ปัจจุบันโรงพยาบาล ค้ำจุนมูลนิธิฯ อยู่ในขณะที่โรงพยาบาลสัตว์โรจน์นิรันดร์มีรายได้ลดลงมากก็อาจจะไม่สามารถค้ำรายจ่ายของมูลนิธิฯ ได้ซึ่งถ้าไม่มีโรงพยาบาล มูลนิธิฯ ก็คงอยู่ไม่ได้ เหตุที่ประชาชนยังไม่ค่อยเข้าใจมูลนิธิฯ คือ

1. คิดว่ารักษาเฉพาะสุนัขจรจัด

2. คิดว่าค่ารักษาแพง

3. รังเกียจไม่ต้องการคลุกคลีด้วย

4. โรงพยาบาลและคลีนิคเปิดกันเยอะมาก

ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับมูลนิธิฯ เพื่อให้มูลนิธิฯดำรงอยู่ได้ คาดว่าถ้าไม่มีเงินทุนสนับสนุนของมูลนิธิฯ ก็คงอยู่ได้ไม่นาน ปัจจุบันงานของมูลนิธิฯ มากขึ้นแต่งานของโรงพยาบาลกลับลดลงจากที่งานมูลนิธิฯเคยเป็นงานรองแค่ตอนนี้ได้กลายเป็นงานหลักไปแล้ว ซึ่งในอนาคตก็จะยิ่งมีความสำคัญในการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดและสัตว์เร่ร่อนมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เงินทุนที่รับบริจาคมีน้อยมากคิดเป็น 5-10% ของค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้นทางมูลนิธิฯ จึงใคร่ขอรับการสนับสนุนในการเริ่มต้นงานของมูลนิธิฯ เพื่อทางมูลนิธิฯ จะได้นำเงินเหล่านี้ไปจัดจ้างบุคลากร, สามารถออกหน่วยรถเคลื่อนที่ รักษาสุนัขได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4 ท่านจะช่วยเหลือโครงการได้อย่างไร

ปัจจุบันโครงการได้เปิดดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นทุนส่วนตัวของนายสัตวแพทย์ เกียรติศักดิ์ และเงินบริจาค ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนจะตกประมาณ 305,000 บาท

ตลอดอายุการทำงานของหมอ 16 ปี พบว่าสุนัขจรจัดไม่เคยแก่ตาย คนทำบุญด้านสงเคราะห์สัตว์น้อยมาก (ทุกทานเคยให้เงินขอทานแต่หากถามคน 100 คนที่เคยให้เงินขอทานว่าเคยให้อะไรกับสัตว์บ้าง คำตอบคือ มี แต่น้อย) หมอเคยมีความคิดที่ตั้งมูลนิธิเพื่อการรักษรสุนัขจรจัดขึ้น เพื่อเป็นการรักษาพักฟื้นให้กับสัตว์เร่ร่อนและสุนัขจรจัด อย่างน้อยที่สุดจะได้ช่วยลูก-หลาน อาจารย์ที่เคยผ่า-ชำแหละสอนวิภาคมา ช่วยภาครัฐและร่วมมือกับภาคเอกชนแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายของการแก้ปัญหาเรื่องสัตว์เร่ร่อนและสุนัขจรจัดให้ไปอยู่ในที่ที่ควรอยู่ตามวัดชานเมือง ไม่ต้องเร่ร่อนถูกอุบัติเหตุ, ถูกทำร้านย หรือนอนป่วยตายข้างถนน มีวันหนึ่งคุณบุษษา สุนทรอารณ์ นำเงินมาให้ 2,000 บาท เพื่อทำบุญให้กับสุนัขจรจัด หมอเลยนำเงินก้อนนี้ไปเปิดเป็นมูลนิธิเพื่อการรักษาสุนัขจรจัดขึ้น และดำเนินงานด้านการรักษา-ป้องกันโรคงานสาธารณสุขชุมชน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 เป็นต้นมา

การดำเนินงานด้านการรักษา ไม่ได้คิดเงินแล้วแต่บริจาคทำบุญร่วมกัน มีคนนำสุนัขจรจัดและสัตว์เร่ร่อนมารักษา-ผ่าตัด-พักฟื้น มากขึ้นเรื่อยๆ และเงินบริจาคไม่เพียงพอ เพราะส่วนมากป่วยหนัก มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องพักฟื้นนาน 2 สัปดาห์ บางตัวก็ทิ้งไว้เลยเป็นภาระมูลนิธิฯ งานด้านป้องกันโรคและสาธารณสุขชุมชนก็ได้ออกพื้นที่ ฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า, ฉีดยาป้องกันเห็บ-หมัดและอาบน้ำขี้เรื้อนให้กับสุนัขจรจัดฟรี เป็นที่น่ายินดีที่มีคนรักสัตว์จำนวนมากเห็นด้วยกับหมอ แต่ทว่าเงินบริจาคไม่เพียงพอที่จะเริ่มต้นในการทำงานแก้ไขปัญหาสัตว์เร่ร่อนและสุนัขจรจัดให้หมดไป

ตลอด 8 เดือนครึ่ง หมอพบว่า มีแต่คนจะใช้ประโยชน์จากกองทุนฯ แต่ไม่ค่อยมีใครสละเวลาหรือทุนทรัพย์ให้กับมูลนิธิฯ ทุกคนอยากให้มูลนิธิฯ ช่วย ทำไมไม่คิดว่าคุณได้ให้อะไรกับมูลนิธิฯ บ้าง เพื่อมูลนิธิฯ จะได้นำไปแก้ไขปัญหาสัตว์เร่ร่อนและสุนัขจรจัด เวลาเดือดร้อนก็ให้มูลนิธิฯ ช่วย พอเสร็จจากปัญหาตัวเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะช่วยอะไรให้กับมูลนิธิฯเลย ปล่อยให้หมอและของมูลนิธิฯ เท่านั้นทำงานต่อไป ถามว่าคน 10 กว่า คนะจะไปทำอะไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก แต่ถึงอย่างไรหมอและคนของมูลนิธิฯ ก็จะตั้งใจกันทำงานต่อไป

หมอขอพูดแทนสัตว์เหล่านี้ที่รอความเมตตาอยู่ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อเป็นทุนจัดตั้ง ดำเนินงานของมูลนิธิฯเพื่อการรักษาสุนัขจรจัด ได้ที่สำนักงานที่ตั้งมูลนิธิฯ 21/24 โรงพยาบาลสัตว์โรจน์นิรันดร์

"รวมใจช่วยชีวิต สักน้อยนิด เพื่อสุนัขจรจัดไทย"

ประวัติ

นายสัตวแพทย์เกียรติศักดิ์ โรจน์นิรันดร์

เกิดเมื่อ 1 กันยายน ปี ค.ศ. 1962

สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ

อายุ 41 ปี

ส่วนสูง 169 เซนติเมตร

น้ำหนัก 84 กิโลเมตร

กรุ๊ปเลือด 0

เบอร์โทร 01-3122088, 02-7465370-1

ประวัติการศึกษา

  • มัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปี ค.ศ. 1981
  • ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ค.ศ. 1987

ประวัติการทำงาน

  • รองประธานชุมชนวิทยาศาสตร์โพรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • หัวหน้านิสิต ปี 1 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เข้าร่วมกิจกรรม สโมสรสัตวแพทย์ ปี ค.ศ. 1982-1987
  • เป็นเจ้าภาพผู้นำบุญวัดพระธรรมกาย ปี ค.ศ. 1985-1999
  • เริ่มงานคลีนิคแถวฝั่งธน 12 ปี
  • เปิดโรงพยาบาลสัตว์ในซอยอ่อนนุช 46 เป็นเวลา 1 ปี
  • เปิดโรงพยาบาลสัตว์โรจน์นิรันดร์ซอยสุขุมวิท 103 เป็นเวลา 3 ปี

ระหว่างการทำงาน เนื่องจากสัตวแพทย์เมืองไทยไม่ได้รับการรับรองเหมือนวิชาชีพแพทย์ทั่งไป เป็นเพียงผู้บำบัดโรคสัตว์เท่านั้น ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะเหมือนสาขาแพทย์ด้านอื่นๆ จึงค่อนข้างลำบากสำหรับสัตวแพทย์ประเทศไทย ดังนั้นผู้ที่เป็นสัตวแพทย์ในประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนา ซึ่งสัตวแพทย์ส่วนใหญ่แล้วเป็นลูกคนยากจนมาร่ำเรียนทั้งสิ้น สำหรับหมอเองต้องหาเงินเรียนเองตั้งแต่ชั้นมัธยมเพราะทางบ้านไม่ค่อยมีฐานะ ระหว่างเรียนคณะสัตวแพทย์ได้ทำงานเป็นครูสอนพิเศษตั้งแต่ ปี1-ปี5 ในปีสุดท้ายจำเป็นต้องของยืมมาเรียนจนจบการศึกษา

ในการศึกษาระยะแรกก็เหมือนกับบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการมีฐานะร่ำรวย ระหว่างนี้ก็เข้าวัดมาตลอด ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าไม่มีประโยชน์สูงสุดแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ภายในปี คศ.1999 พยายามเปิดคลีนิคหลายๆ สาขาเพื่อให้น้องสัตวแพทย์ได้เข้ามาทำโดยมีเป้าหมายว่า ใครอยากเปิดคลีนิคร่วมกันทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ก็เปิดเป็นเจ้าของกิจการร่วมกันได้ ทำได้ระยะหนึ่งพบว่าทุกคนพบปัญหาเศรษฐกิจทำให้ทุกคนต้องเปิดคลีนิคเองในปี ค.ศ.1989 ทางโรงพยาบาลสัตว์ได้ทำโครงการประกันสุขภาพสัตว์ขึ้น (Pet Insurance) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในปี ค.ศ.1999 ทางโรงพยาลาลสัตว์โรจน์นิรันดร์ได้มีหน่วยรถคลีนิคเคลื่อนที่ในการรักษาสัตว์แห่งแรกในประเทศไทย ในปี ค.ศ.2001 ได้จัดทำโครงการเตาเผาซากสัตว์เลี้ยงเป็นแห่งแรกของประเทศไทยเพื่อให้สัตว์เลี้ยงที่ตายซึ่งได้กำจัดอย่างถูกต้องตามสุขอนามัยตลอดจนได้ทำงานให้สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย (Thai Animal Guardians Assocation) เป็นเวลา 1 ปีกว่า ต่อมาจึงได้เริ่มจัดตั้งกองทุนเพื่อการรักษาสุนัขจรจัด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2002 เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมายแห่งประเทศไทย เป็นมูลนิธิเพื่อการรักษาสุนัขจรจัด (Founoation for strayed dog) เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2003 โดยสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการช่วยชีวิตสัตว์จรจัด ซึ่งมูลนิธิฯเองยังเป็นของภาคเอกชนที่ยังขาดทุนทรัพย์และยังมุ่งหวังให้ทางภาครัฐให้ความร่วมมือในจุดนี้อยู่

เป้าหมายสูงสุดในการทำงานเพื่อให้บรรลุถึงประโยชน์วิชาชีพสัตวแพทย์ที่ร้ำเรียนมานำมาใช้ให้เกิดคุณประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายโดยไม่คำนึงถึงเงินทองเรือทรัพย์สินใดๆ โดยจะใช้วิชาความรู้แก้ปัญหาสัสดิภาพให้ดีขึ้น ลดจำนวนประชากรของสัตว์เหลื่านี้อย่งถูกต้อง ลดปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ โดยการให้ความรู้ปลูกจิตสำนึก คงจะเป็นประโยชน์ไม่น้องสำหรับสัตว์จรจัดที่เฉพาะในกรุงเทพฯมีสุนัขจรจัดประมาณ 400,000 ตัว ไม่นับรวมถึงเมืองใหญ่ๆ ในประเทศซึ่งมีหลายล้านตัว มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นนี้เป็นองค์กรที่นับว่ามีศักยภาพในการรักษา ควบคุมปัญหาโรคเห็บหมัด ขี้เรื้อน ฉีดวัคซีน ตลอดจนทำหมันเพศผู้และเพศเมีย เพื่อช่วยให้คุณภาพสัตว์เหล่านี้ดีขึ้น และหมดไปด้วยหลักเมตตาธรรมและมนุษยธรรม ไม่ใช่นำสัตว์จรจัดเหล่านี้ไปกักขังให้หมดอิสรภาพหรือนำไปฆ่าเพื่อเป็นอาหาร--จบ--

-ณส/รก-

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit