กรุงเทพฯ--31 มี.ค.--ธอมสัน พับบลิค รีเลชั่นส์
กฟผ. และธนาคารแว่นตาฯ จับมือ กลุ่มบริษัทยูบีซี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จัดทำโครงการ "แว่นแก้ว " เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กำหนดตรวจสายตาพร้อมกันทั่วประเทศ 2 เมษายนศกนี้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ ธนาคารแว่นตาฯ ร่วมกับ กลุ่มบริษัทยูบีซี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "แว่นแก้ว" โครงการแก้ไขปัญหาสายตาแก่ผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา (4 รอบ) เริ่มโครงการด้วยการตรวจสายตาเบื้องต้นพร้อมกันทั่วประเทศ 2 เมษายน 2546 นี้ พร้อมเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศสนับสนุนโครงการฯ โดยร่วมบริจาคทุนทรัพย์ แว่นตาและเลนส์แว่น
นายสิทธิพร รัตโนภาส ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบในปีนี้ กฟผ.และธนาคารแว่นตาฯ ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัทยูบีซี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จัดทำ "โครงการแว่นแก้ว" ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและดำเนินตามรอยพระดำริของพระองค์ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสายตาแก่ผู้ด้อยโอกาส จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อให้ธนาคารแว่นตา
โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ผ่านมาธนาคารแว่นตาฯ จัดให้มีการรณรงค์รับบริจาคแว่นตา เลนส์แว่น และ ทุนทรัพย์สมทบกองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่มีปัญหาด้านสายตาทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแว่นตาฯยังขาดแคลนแว่นตา เลนส์ และงบประมาณที่จะนำหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นไปให้บริการประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้อย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ กฟผ.ได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มบริษัทยูบีซี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมสนองพระดำริในโครงการฯนี้โดยร่วมบริจาคและทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานการดำเนินกิจกรรมในโครงการแว่นแก้ว ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการฯนี้เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วประเทศที่ต้องการจะร่วมเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ และดำเนินตามรอยพระดำริของพระองค์ในการช่วยเหลือสังคมในแนวทางเดียวกัน นายสิทธิพรกล่าว
นายสิทธิพรกล่าวต่อไปว่า "การรณรงค์ขอรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในโครงการฯนี้ จะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไปจนถึงเดือนธันวาคมศกนี้
โดยจัดให้มีกิจกรรมหารายได้ การจัดกิจกรรมออกหน่วยให้บริการวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้บริการแก่ผู้ด้อยโอกาสที่ต้องการความช่วยเหลือในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศ คาดว่ากิจกรรมดังกล่าวนี้จะสามารถหาทุนทรัพย์มาได้เพียงพอที่จะช่วยให้การดำเนินงานในโครงการฯนี้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังจัดให้มีกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์บริจาคแว่นตา เลนส์แว่นและเงินผ่านทางสื่อ ซึ่งขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากสื่อต่างๆมาร่วมให้ความอนุเคราะห์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และจะเริ่มต้นโครงการด้วยการให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีโอกาสตรวจวัดสายตาเบื้องต้นพร้อมกันเพื่อจะได้หาทางแก้ไขปัญหาสายตาต่อไปโดยผ่านทางสื่อหนังสือพิมพ์ขนาดเต็มหน้าซึ่งเท่ากับขนาดของแผ่นวัดสายตามาตรฐาน และสามารถเก็บไว้ทดสอบสายตาได้ตลอดไปโดยจะเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ บางกอกโพสต์ เดลินิวส์ และมติชน ในวันที่ 2 เมษายนนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ซึ่งการสร้างสรรค์งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งหมด ได้รับการสนับสนุนจาก
เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน เป็นผู้ดำเนินการ
ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มบริษัทยูบีซี ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมดำเนินโครงการฯ กล่าวว่า "กลุ่มบริษัทยูบีซีได้ให้การสนับสนุนโครงการแว่นแก้วอย่างเต็มที่ โดยการผลิตวิดีทัศน์แนะนำโครงการแว่นแก้ว ตลอดจนนำไปใช้เผยแพร่ในระหว่างกิจกรรมออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นของโครงการฯ เพื่อใช้เผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อโฆษณาและกิจกรรมของโครงการแว่นแก้วผ่านช่องรายการต่างๆ ของยูบีซี ได้แก่ UBC series, UBC Movies, UBC Asian Movies, UBC X-ZYTE, UBC Supersport,UBC Supersport Gold,UBC News และ UBC Kids เป็นต้น และประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมาชิกยูบีซีทั่วประเทศกว่า 430,000 ครัวเรือน และพนักงานของยูบีซีให้ร่วมกันบริจาค
นอกจากนี้ ตัวแทนยูบีซีกว่า 90 สาขาทั่วประเทศยังร่วมสนับสนุนโครงการแว่นแก้วโดยเป็นจุดตั้งกล่องรับบริจาคทุนทรัพย์ เลนส์ และแว่นตาอีกด้วย"
นายอนวัช องค์วาสิฎฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า " เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีนโยบายในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการช่วยเหลือสังคมและผู้ด้อยโอกาส โดย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้ให้การสนับสนุนโครงการแว่นแก้ว ด้วยการให้พื้นที่ภายใน
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สำหรับจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์หารายได้ รับบริจาคแว่นตาและเลนส์แว่น โดยจะเริ่มตั้งแต่การจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการฯ สู่สาธารณชน ณ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน หลังจากนั้นจะมีการจัดกิจกรรม Road Show ต่างๆ อาทิ นิทรรศการเกี่ยวกับดวงตา , การวัดสายตาประกอบแว่น รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ณ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาต่างๆ เริ่มจากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า , เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ , บางกะปิ และรังสิต นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์และวีดีโอ วอลล์ ตลอดจนการตั้งกล่องรับบริจาคทุนทรัพย์ เลนส์แว่น และแว่นตา ในทุกสาขาของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ อีกด้วย รวมทั้งยังจัดให้มีกิจกรรมโบว์ลิ่ง ณ เมเจอร์ โบว์ล เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และการฉายภาพยนตร์รอบการกุศลเพื่อหารายได้สมทบกองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโครงการฯ นี้ด้วย"
ทางด้านนายแพทย์ธำรงค์ ศิริปุณย์ นายแพทย์ 9 รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวถึงการดำเนินงานของธนาคารแว่นตาฯว่า "จากการออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นของธนาคารแว่นตาฯที่ผ่านมา พบว่ามีประชาชนด้อยโอกาสจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็ก คนวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสายตา ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาสายตา บางคนขาดแคลนทุนทรัพย์ในการตัดแว่น และบางคนอยู่ในท้องที่ที่ห่างไกลซึ่งยากลำบากในการเข้ามารับการตรวจวัดสายตา รวมทั้ง ความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเอกชนยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการและไม่ทั่วถึง การจัดให้มีโครงการแว่นแก้วขึ้นโดยมีการประสานความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างภาครัฐและเอกชนในครั้งนี้ จึงเป็นความหวังของผู้ด้อยโอกาสจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น "
ประชาชนที่สนใจและต้องการร่วมสนับสนุนโครงการแว่นแก้ว สามารถบริจาคแว่นตา เลนส์และเงิน ได้ที่กล่องรับบริจาคของ " โครงการแว่นแก้ว " ที่เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ทุกสาขา ตัวแทนยูบีซี กว่า 90 สาขา ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทุกแห่ง หรือ สำนักงาน กฟผ. ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2436-0000 กด 6 , 0-2615-9559 , 0-2260-0820 ต่อ 3166
"สายตานับล้านคู่ รอคอยความช่วยเหลือจากคุณ"
โครงการ " แว่นแก้ว "
โครงการแก้ไขปัญหาสายตาแก่ผู้ด้อยโอกาส เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ 1. หลักการและเหตุผล
ปัญหาหลักของการพัฒนาประเทศเกิดจากการที่ประชาชนขาดโอกาสในการแสวงหาความรู้ ทั้งในและนอกระบบการศึกษา ปัจจัยหนึ่งที่แทบไม่มีใครนึกถึง คือ ปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการมองเห็น ซึ่งเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัยและทุกฐานะในสังคม หากเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีฐานะหรือมีความพร้อม ปัญหาดังกล่าวก็จะได้รับการแก้ไขโดยง่าย แต่หากเกิดขึ้นแก่ผู้ด้อยโอกาส มักทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น เด็กหลายคนต้องออกจากระบบการศึกษาหรือผู้ใหญ่ขาดศักยภาพในการทำงานและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งผู้สูงอายุที่อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยและความสะดวกในการดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากปัญหาการมองเห็น เป็นต้น ล้วนแต่ทำให้คนในสังคมด้อยคุณภาพลง ดังนั้น การจัดการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการมองเห็นดังกล่าวจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมได้อีกทางหนึ่ง
โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ได้จัดตั้งธนาคารแว่นตาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 เพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการขอบริจาคแว่นตาจากประชาชน และนำหน่วยแพทย์ไปให้บริการฟรีแก่นักเรียนหรือราษฎรที่มีสายตาผิดปกติในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งจัดตั้งเป็นกองทุน "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี " ขึ้น ต่อมามีผู้ร่วมสมทบทุนนี้ และได้ให้บริการแก่ประชาชนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม จากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ธนาคารแว่นตาประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการออกหน่วยให้บริการวัดสายตาประกอบแว่นแก่ผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นอย่างทั่วถึง
เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบในปีนี้ กฟผ.และธนาคารแว่นตาฯ ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัทยูบีซี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จัดทำ "โครงการแว่นแก้ว" ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและดำเนินตามรอยพระดำริของพระองค์ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสายตาแก่ผู้ด้อยโอกาส จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อให้ธนาคารแว่นตา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ผ่านมาธนาคารแว่นตาฯ จัดให้มีการรณรงค์รับบริจาคแว่นตา เลนส์แว่น และ ทุนทรัพย์สมทบกองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่มีปัญหาด้านสายตาทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแว่นตาฯยังขาดแคลนแว่นตา เลนส์ และงบประมาณที่จะนำหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นไปให้บริการประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้อย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ กฟผ.ได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มบริษัทยูบีซี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมสนองพระดำริในโครงการฯนี้โดยร่วมบริจาคและทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานการดำเนินกิจกรรมในโครงการแว่นแก้ว ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการฯนี้เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วประเทศที่ต้องการจะร่วมเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ และดำเนินตามรอยพระดำริของพระองค์ในการช่วยเหลือสังคมในแนวทางเดียวกัน
2. วัตถุประสงค์โครงการ
2.1 เพื่อเเทิดพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา (4 รอบ) ในปี พ.ศ. 2546
2.2 เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้มีส่วนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.3 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดโอกาส ในสังคมอันเนื่องมาจากปัญหาการมองเห็น
2.4 เพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคนทั้งประเทศ
3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก
3.1.1 ประชาชนทั่วประเทศที่ต้องการเทิดพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา (4 รอบ)
3.1.2 ประชาชนทั่วประเทศที่ต้องการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่มีปัญหาด้านสายตา
3.1.3 หน่วยงานองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
3.1.4 สื่อมวลชน
3.2 กลุ่มเป้าหมายรอง
3.2.1 ประชาชนที่มีปัญหาด้านสายตา
4. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
เดือนเมษายน-ธันวาคม 2546
ระยะที่ 1 การหาผู้สนับสนุนหลักและผู้สนับสนุนรายย่อยและการหารายได้เข้าโครงการฯ
ระยะที่ 2 การเปิดตัวโครงการฯ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ระยะที่ 3 การจัดกิจกรรมพื้นที่และการสร้างทัศนคติที่ดีในชุมชน (มวลชนสัมพันธ์)
ระยะที่ 4 การรายงานผลสำเร็จของโครงการฯ
5. วิธีการดำเนินโครงการ
ระยะที่ 1 การหาผู้สนับสนุนหลักและผู้สนับสนุนรายย่อยและการหารายได้เข้าโครงการฯด้วยการ
1. เชิญชวนหน่วยงานหรือองค์กรเป็นผู้สนับสนุนหลักในการดำเนินโครงการฯ
2. เชิญชวนหน่วยงานหรือองค์กรเป็นผู้สนับสนุนรายย่อยในการเป็นเจ้าภาพหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่
3. การหารายได้เข้าโครงการฯ โดยการจัดทำสื่อสนับสนุนประชาสัมพันธ์โครงการฯ
4. การผลิตสื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์
4.1 ผลิตสื่อที่น่าสนใจ เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมสนับสนุนโครงการฯและร่วมบริจาคเงิน เลนส์และแว่นตา ได้แก่
4.2 ผลิตสื่อเคลื่อนที่ ได้แก่
4.3 ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ
ระยะที่ 2 การเปิดตัวโครงการฯ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ระยะที่ 3 การจัดกิจกรรมในพื้นที่และการสร้างทัศนคติที่ดีในชุมชน
1. การจัดกิจกรรมออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่เพื่อให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสที่มีสายตาผิดปกติในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ
2. การจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนนั้นๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตา โดยเป็นการให้ความรู้กึ่งสันทนาการ
3. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เป็นการล่วงหน้า โดยใช้สื่อท้องถิ่นและสื่อบุคคล เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้อย่างกว้างขวางและเข้ามาใช้บริการให้มากที่สุด
4. การจัดสื่อมวลชนเยี่ยมชมการออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่
5. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง
ระยะที่ 4 การรายงานผลสำเร็จของโครงการฯ
1. เผยแพร่ผลสำเร็จของโครงการฯ ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง
2. การทำจดหมายขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการฯ
7. ผู้ร่วมโครงการฯ
7.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
7.2 ธนาคารแว่นตา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
7.3 กลุ่มบริษัทยูบีซี
7.4 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
7.5 สื่อมวลชนทุกแขนง
7.6 บริษัทโฆษณา (เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน)
7.7 หน่วยงานที่ต้องการเป็นผู้สนับสนุนหลักและผู้สนับสนุนรายย่อยของโครงการฯ
รายละเอียดการจัดกิจกรรมออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่การจัดกิจกรรมออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่เพื่อให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสที่มีสายตาผิดปกติในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ
กิจกรรมในหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่
การจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนนั้นๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตา โดยเป็นการให้ความรู้กึ่งสันทนาการ ประกอบด้วย
พื้นที่ในการออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่
จำนวน
2
แห่ง
จำนวน
5
แห่ง
จำนวน
5
แห่ง
จำนวน
4
แห่ง
จำนวน
3
แห่ง
จำนวน
5
แห่ง
รวม
24
แห่ง
เป้าหมายเบื้องต้นในการออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่ จำนวน 24 แห่งทั่วประเทศ ซึ่ง แต่ละแห่งจะสามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสายตาสูงสุดได้ประมาณ 600 คน ต่อวัน
หมายเหตุ เป้าหมายสูงสุดในการออกหน่วยวัดสายตาประกอบแว่นเคลื่อนที่อยู่ที่ จำนวน 48 แห่ง ซึ่งเท่ากับพระชนมายุของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในปี 2546 (ในกรณีที่มีผู้สนับสนุนโครงการมากขึ้น)
ธนาคารแว่นตา
ธนาคาร หมายถึง สถานที่เก็บรวบรวม มีการนำเข้าและจ่ายออก ธนาคารแว่นตา จึงเป็นสถานที่เก็บรวบรวมแว่นตาและเลนส์แว่นตาทั้งเก่าและใหม่เพื่อจ่ายให้แก่ผู้มีปัญหาทางสายตาและมีรายได้น้อย
ระบบบริหารจัดการ และระบบการให้บริการของธนาคารแว่นตา
1. การนำแว่นตาเก่ามาใช้ใหม่ ( REUSE )
การนำแว่นตาเก่ามาใช้ใหม่ นับว่าเป็นการช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางหนึ่งและยังเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้มีปัญหาทางสายตาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ปัญหาสำคัญของการนำแว่นตาใช้แล้วกลับมาใช้อีก ก็คือ กำลังของเลนส์ที่อาจจะไม่พอดีกันระหว่างผู้ให้และผู้รับทั้งในตาขวาและในตาซ้าย การให้ผู้รับทดลองหยิบเลือกเองแบบลองผิดลองถูกไม่อาจจะทำได้ และอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ดังนั้น จึงมีการตรวจวัดสายตา และค้นหาแว่นตาที่จัดเก็บอย่างมีระบบให้ได้แว่นตาที่มีสายตาทั้งสองข้างใกล้เคียงผู้รับที่สุดได้ โดยจะต้องมีแว่นตาหลายพันอัน เพื่อที่จะสามารถเลือกกรอบที่เหมาะสมที่สุดได้ แว่นตาเก่าบางอันที่มีสายตาเบี่ยงเบนไปจากคนทั่วไปมากมักจะไม่สามารถให้กับผู้รับได้ แต่ก็สามารถนำกรอบมาใช้ประโยชน์ได้โดยการฝนเลนส์ใหม่ใส่ให้กรอบแว่นตาเก่าที่ได้มาจะต้องมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดและปรับปรุงสภาพพร้อมทั้งการวัดค่ากำลังของเลนส์เดิม ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้กำลังคนมากพอสมควร กรอบที่ชำรุดมากจะถูกถอดส่วนประกอบที่พอจะใช้ได้เก็บไว้เป็นอะไหล่
2. ระบบคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและคัดเลือกแว่นตา
ธนาคารแว่นตาฯ ได้พัฒนาระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลของแว่นตาที่มีอยู่และทำการค้นหาแว่นตาที่เหมาะสมกับสายตาของผู้รับที่สุด ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ในอนาคตสามารถรองรับการขยายสาขาของธนาคารแว่นตาฯไปในส่วนภูมิภาค ซึ่งสามารถเชื่อมเครือข่ายในการที่แต่ละสาขาจะค้นหาแว่นตาที่ต้องการจากสาขาอื่น ในกรณีที่ค้นไม่พบในสาขาของตนเอง
3. ระบบการจัดเก็บแว่นตา
ปัจจุบันธนาคารแว่นตาฯ จัดระบบจัดเก็บแว่นตาโดยใช้ 2 ระบบคู่กันคือ จัดเก็บเรียงตามกำลังของเลนส์ และการจัดเก็บเรียงตามเลขทะเบียนคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถค้นหาแว่นตาได้ด้วยคนหรือด้วยคอมพิวเตอร์ มีการทำตู้ลิ้นชักเก็บในกรณีอยู่ประจำที่ และการเก็บด้วยระบบกล่องซึ่งเคลื่อนย้ายได้ ในกรณีที่ออกหน่วยให้บริการนอกพื้นที่ จำนวนที่จะต้องจัดเก็บเพื่อให้สามารถค้นหาแว่นตาที่เหมาะสมกับผู้รับได้คือประมาณ 5,000 อัน
รูปแบบการให้บริการของธนาคารแว่นตา
1.การให้บริการในหน่วยงาน
เป็นการให้บริการเป็นประจำ ณ ที่ตั้งของธนาคารแว่นตา ซึ่งคาดว่าต่อไปจะขยายสาขาไปยังส่วนภูมิภาค มีการตรวจวัดสายตาให้แก่ผู้มารับบริการ
2.การให้บริการในพื้นที่ ( Moblie Unit )
เป็นหน่วยงานบริการเคลื่อนที่ซึ่งมีการวัดสายตาและคัดเลือกแว่นตาจากแว่นตาที่นำมาด้วยหรือประกอบให้ใหม่ การดำเนินการในลักษณะนี้จะเป็นการให้บริการเสริมในพื้นที่ที่เข้าถึงบริการปกติได้ยาก เช่น ในเขตชายแดน เป็นต้น เนื่องจากการออกหน่วยต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นรูปแบบที่ใช้ตามปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม "โครงการแว่นแก้ว"
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ธอมสัน พับบลิค รีเลชั่นส์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คุณสุดารำไพ
สุนทรรังษี
โทรศัพท์ : 0-2436-4751
คุณแพรสิรินธร์ นัยนานนท์
0-2436-4727
โทรศัพท์ : 0-2260-0820 ต่อ 3186 , 3166
โทรสาร : 0-2436-0787
โทรสาร : 0-2259-9246
[email protected] จบ--
-ศน-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit