กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--ศูนย์ ปชส.กระทรวงคมนาคม
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวผลการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อไม้หมอนรถไฟจำนวน 22,000 ท่อน โดยคณะกรรมการบริหารการรถไฟฯ มีมติให้รองผู้ว่าการรถไฟฯ ออกจากราชการไว้ก่อน และสั่งพักราชการวิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างโยธา ส่วนอีก 7 คนรอผลการสอบสวนทางวินัย หากพบมีความผิดชัดแจ้งจะสั่งพักราชการทันที และแถลวข่าวเรื่องการปรับปรุงการจัดการที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณถนนรัชดาภิเษก หลังพบว่าการจัดเก็บรายได้ของการรถไฟฯ ในปัจจุบันยังได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และมีผู้เช่าบางรายไม่ปฏิบัติตามสัญญา คาดว่าหลังการปรับปรุงจะทำให้ รฟท.มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 990 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ได้ตรวจสอบการจัดซื้อไม้หมอนรถไฟจำนวน 22,000 ท่อน ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดซื้อและเก็บไว้บริเวณสถานีรถไฟแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2546 ที่ผ่านมา พบว่าไม้หมอนที่จัดซื้อดังกล่าวไม่ได้คุณภาพตามกำหนด จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นโดยมีนายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าการรถไฟฯ ด้านกิจกรรมพิเศษ เป็นประธาน ผลการสอบสวนพบว่ามีการแบ่งสัญญาจัดซื้อเป็น 3 สัญญาเพื่อให้อยู่ในอำนาจการอนุมัติของรองผู้ว่าฯ มีการออกสัญญาค้ำประกันธนาคารย้อนหลัง และมีบางฉบับเป็นของปลอม ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการบริหาร การรถไฟฯ ทราบและพิจารณาโทษทางวินัยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารการรถไฟฯ ได้มีมติให้ลงโทษผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตครั้งนี้ โดยให้รองผู้ว่าการรถไฟฯ ด้านปฏิบัติการ 1 ออกจากราชการไว้ก่อน และจะดำเนินการสอบสวนทางวินัยตามระเบียบต่อไป และให้พักราชการนายช่างใหญ่ฝ่ายช่างโยธา ส่วนพนักงานที่เกี่ยวข้องอีก 7 คน อยู่ระหว่างรอผลการสอบสวนข้อเท็จจริง หากพบมีความผิดชัดแจ้งจะสั่งพักราชการทันที ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการสอบสวนอีกประมาณ 90 วัน
นายสุริยะฯ ได้เปิดเผยถึงการจัดการที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งมีพื้นที่จัดประโยชน์จำนวน 125 แปลง จำนวน 183.5 ไร่ (293,593 ตารางเมตร) มีสัญญาให้เอกชนเช่าทั้งหมด 52 สัญญา จากการตรวจสอบสัญญาเช่าแล้วพบว่ามีถึง 27 รายที่ยังไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา สามารถแยกออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 พื้นที่ขอเปิดทางเข้าออก (ภาระจำยอม) มี 1 สัญญา ได้แก่
โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
กลุ่มที่ 2 ไม่ลงนามในสัญญา มี 4 สัญญา ได้แก่
บริษัท กิตเกิง จำกัด บริษัท พีพีสโตน จำกัด บริษัท ไดน่าทูล จำกัด บริษัท รัชดาร่วมสิทธิ จำกัด
กลุ่มที่ 3 สัญญาก่อสร้างสิ้นสุดแล้ว และใกล้จะสิ้นสุดแต่ยังไม่มีการก่อสร้างตามสัญญา มี 11 สัญญา ได้แก่
บริษัท เมเพิลฮิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ ดี พัฒนา จำกัด (โรบินสัน) บริษัท สุขภัณฑ์เซ็นเตอร์ จำกัด
บริษัท ไทย วัสดุภัณฑ์ จำกัด บริษัท กรุงเทพรัชดาหินอ่อนและแกรนิต จำกัด บริษัท ทีคเบนซ์ (1991)จำกัด
บริษัท ปากน้ำ เอสเตท จำกัด บริษัท บุญถาวรเซรามิค 2002 จำกัด บริษัท กฤตวณิชย์ลิชชิ่ง จำกัด
บริษัท รัชโยธินทาวเวอร์ จำกัด บริษัท เจ้าพระยาลอร์ด จำกัด
กลุ่มที่ 4 สัญญาก่อสร้างยังไม่สิ้นสุด อยู่ระหว่างการยื่นแบบก่อสร้างมี 4 สัญญา ได้แก่
บริษัท ดับเบิ้ลเบสท์ จำกัด บริษัท บีเคพีทาวเวอร์ จำกัด บริษัท เทพนครศิลป์ จำกัด
บริษัท สุรัชดาทาวเวอร์ จำกัด
กลุ่มที่ 5 พื้นที่เช่ามีปัญหาก่อสร้างอาคารไม่ได้ตามสัญญา มี 7 สัญญา ได้แก่
บริษัท ทีแอนด์บีรัชดา โฮเต็ล (โรงแรมดิเอมเมอรัลด์) จำนวน 3 สัญญา บริษัท รัชดาหินอ่อน จำกัด
บริษัท ทิพย์อุดม จำกัด บริษัท กฤษรัตน์ จำกัด บริษัท พงศ์เอราวัณ จำกัด
ปัจจุบัน รฟท. สามารถจัดเก็บรายได้จากการให้เอกชนเช่าใช้พื้นที่ทั้งหมดตลอดอายุสัญญา 932.80 ล้านบาท ซึ่งหลังจากมีการปรับปรุงแล้วคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ถึง 1,929.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 997 ล้านบาท
หน่วย:ล้านบาท
ประมาณรายได้ที่จะเก็บได้เพิ่ม จากสัญญาเช่าที่ดินของ รฟท. บริเวณถนนรัชดา
ค่าธรรมเนียม
รวมรายได้ทั้งหมด กลุ่มที่
จำนวนสัญญา
เก็บครั้งเดียว
ค่าเช่าเดิม
ค่าเช่าใหม่
ตลอดอายุสัญญา
เดิม เก็บใหม่
ต่อปี
20 ปี
ต่อปี
20 ปี เดิม
ใหม่ 1
1
ไม่มี ภาระจำยอม
-
-
-
-
-
20.0
20.0 2
4
9.5
24.0
3.0
60.0 3.9
78.0 69.5
102.0 3
11
136.0
316.0
21.8
436.0 51.0 1,020.0 572.0 1,336.0 4
4
11.4
25.8
4.0
80.0 4.2
84.0 91.4
109.8
5
7
35.9
86.0
8.2
164.0 13.8
276.0 199.9
362.0 รวม
27
192.8
471.8
37.0
740.0 72.9 1,458.0 932.8 1,929.8--จบ--
-สก/พห-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit