กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--TESA
รายงานสรุปการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมสมองกลฝังตัวไทย
วันที่ 29 มีนาคม 2546
ณ โรงแรมฟอร์จูน กรุงเทพฯ
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศรีรชตพงษ์ นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย ประธานที่ประชุม ได้แถลงผลงานที่ผ่านมาของสมาคม ดังนี้
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1. การจัดประกวดคอมพิวเตอร์ล่องหนครั้งที่ 1
2. การจัดสัมมนาระดับสมองเรื่อง "เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวกับบทบาทในการพัฒนาประเทศ"
3. การบรรยายพิเศษ เรื่อง "เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวกับบทบาทในการพัฒนาประเทศ" ในแต่ละสถาบัน
4. การจัดฝึกอบรมการใช้ชุดพัฒนา
5. โครงการความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษสำหรับวิศวกร
6. โครงการ Incubation Center
7. โครงการความร่วมมือพิเศษ
8. สมาชิก
การประกวดคอมพิวเตอร์ล่องหนครั้งที่ 1 (Thailand Embedded Systems Contest#1)
- มีโครงงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 154 โครงงาน
- ประเภท PIC Base จำนวน 53 โครงงาร
- ประเภท Net51 จำนวน 60 โครงงาน
- ประเภท COM86 จำนวน 41 โครงงาน
การจัดสัมมนาระดัมสมอง: เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวกับบทบาทในการพัฒนาประเทศ
มีผู้เข้าร่วมระดับสมอง ประมาณ 200 คน ซึ่งมาจากหน่วยงานดังต่อไปนี้
- หน่วยงานภาครัฐ
- ภาคอุตสาหกรรม
- สถาบันการศึกษา
- นักพัฒนา
- และสื่อมวลชน
การบรรยายพิเศษ: เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวกับบทบาทในการพัฒนาประเทศ
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
- โรงเรียนนายเรืออากาศ
- สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ภาคพายัพ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดฝึกอบรมการใช้ชุดพัฒนา ประเภท PIC, Net51 และ COM86
- ให้กับผู้เข้าประกวด
- คณะอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ทั่วประเทศ (ทางด้านอีเล็กทรอนิกส์)
- โครงการความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษสำหรับพัฒนาวิศวกร
หลักสูตร Fundamental IT Engineering
หลักสูตร Network Systems Engineering
โครงการ Incubation Center
มีบริษัทที่เข้าร่วมในโครงการแล้ว 5 บริษัท
- NetGadgets Co.,Ltd.
- Mobilis Automata Co.,Ltd.
- X-Sense Co.,Ltd.
- Digiton Co.,Ltd.
- Digiforce Co.,Ltd.
โครงการความร่วมมือพิเศษระหว่างองค์กร
- โครงการความร่วมมือกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
- โครงการความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (EGAT)
- Toyota Embedded Software Project (Japan)
- IDEMA
สมาชิกของสมาคมสมองกลฝังตัวไทย
- สมาชิกสามัญ 167 คน
- สมาชิกวิสามัญ 3 บริษัท
หมายเหตุ: ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากไฟล์แนบ teas general meeting.ppt
คุณพรเทพ นฤหล้า เหรัญญิก ได้แถลงบัญชีรายรับรายจ่าย และงบดุลที่ผ่านมาของสมาคมดังนี้
- รายรับของสมาคมในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่กันยายน-ธันวาคม 2546 จะเป็นเงินยืมจากคณะกรรมการสมาคมฯ โดยจะเป็นเงินยืม 70,640 แนน
- เงินรับล่วงหน้า 200,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน 58,418.50 บาท
หมายเหตุ: ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากไฟล์แนบ finance.xls
ผศ.อภิเนตร อูนากูล เลขานุกการ ได้แถลงแผนการดำเนินงานที่จะทำต่อไปดังนี้
- จะต้องสร้างเครือข่ายนักพัฒนาที่เข้ามาเป็นสมาชิกในนามบุคคล 500 คน และในนามองค์กร 30 องค์กร
- สมาคม จะต้องมีงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมประมาณ 12 ล้านบาทสำหรับปีนี้
- ต้องการอาสาสมัครจำนวนมากเข้าช่วยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคม เช่น การประกวดคอมพิวเตอร์ล่องหนครั้งที่ 2 การแสดง
นิทรรศการ การเสวนาหัวข้อต่างๆ ในแต่ละเดือน และการจัดสัมมนา
- โครงการ Incubation Center เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาที่ต้องการจะมาจดทำธุรกิจของตนเองทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่จาก บริษัท ซีพี พลาซ่า จำกัด
- โครงการความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีจาก TRLabs
หมายเหตุ: ดูข้อมูละเพิ่มเติมจากไฟล์แนบ future activity.ppt
คุณสุทธชาติ ศิริกังวาล ผู้บริหารสมาคม ได้กล่าวถึงแนวทางในการบริหารสมาคม ไว้ดังนี้
- จะนำเสนอแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2546
- จะต้องดำเนินการการประสานงานกับองค์กรต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
- สร้างกลยุทธ์ที่จะส่งเสริมนักพัฒนาให้มีความกล้าที่จะออกเดินมาสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง
- กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมจะต้องมีความต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
เรื่องเสนอเพื่อพิจารณาจากสมาชิก มีดังต่อไปนี้
- เรื่องการสมัครสมาชิก IEEE ในนามสมาคม เพื่อที่จะได้ให้สมาชิกได้เข้ามาอ่าน และเข้าไปค้นข้อมูลได้
- เรื่องการให้การสนับสนุนเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ สำหรับการพัฒนาและทดสอบ แก่สมาชิก
- เรื่องการจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ เพื่อให้ความรู้แก่นักพัฒนา พร้อมทั้งควรมีองค์กรที่จะเข้ามาช่วยเหลือเรื่องการจัดสิทธบัตร และลิ
ขสิทธิ์ต่างๆ
- เรื่ององค์กรกลางในการประสานงานการจัดซื้อวัสดุ เพื่อการวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศ
- เรื่องการจัดเสวนาในแต่ละหัวข้อที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เรื่อง เทคโนโลยีด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร
การขนส่ง เป็นต้น
- เรื่องการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อจะได้ตอบโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม
- เรื่องการหาโอกาส สำหรับการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ให้กับสมาชิก
- เรื่องการจัดทำ ประวัติ และความสามารถพิเศษของสมาชิกในแต่ละคน
- เรื่องการประสานหาแหล่งเงินทุน สำหรับนักพัฒนาที่สนใจจะสร้างธุรกิจของตนเอง
- เรื่องการให้ความสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทในช่วงเริ่มแรก
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่:
คุณขนิษฐา ประสารสุข สมาคมสมองกลฝังตัวไทย
ชั้น 26 อาคารซีพีพาวเวอร์ 2 ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ
โทร. 02-641-1595-6 แฟกซ์. 02-641-1597 email:[email protected] จบ--
-นท/นห-