"สมการแห่งการสร้างเงิน" Idea + Opportunity + Risk = Money

21 Apr 2003

กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--ไทยเวนเจอร์ดอทคอม

ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อท่านเห็น สมการข้างต้น ซึ่งต่อไปนี้ผมจะเรียกมันว่า "สมการแห่งการสร้างเงิน" นักธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในทุกๆ ระดับ ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่น ไป จนถึง ระดับโลก อย่าง Bill Gate แห่ง Microsoft Corporation ก็ล้วนแล้วแต่ประสบผลสำเร็จภายใต้สมการนี้ทั้งสิ้น

สมมุติว่าท่านมี Idea ทางธุรกิจ เช่น ท่านได้สร้าง สินค้าหรือบริการ ขึ้นมาชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความโดดเด่น (Unique) และ แตกต่าง จาก สินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งมีขนาดตลาดใหญ่มาก (Size of the Market) และ ด้วยความโดดเด่น และ แตกต่าง จึงทำให้ สินค้าและบริการของท่าน มี Market Position ที่ทำให้เกิด Market Segment ใหม่ ขึ้นมา และแน่นอนโอกาส (Opportunity)ในการสร้าง ยอดขาย (Sales Revenue) ให้แก่สินค้าหรือบริการของท่านได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่จะตามมาขึ้นผลกำไรอย่างมหาศาล

แต่อย่างไรก็ตามแต่ กิจกรรมทุกอย่างในโลกใบกลมๆ นี้ ก็ล้วนแต่มีความเสี่ยง (Risk) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจนั้น ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยความเสี่ยงในทุกแง่มุม

ความเสี่ยงนั้นสามารถมองได้ทั้ง ด้าน Negative และ Positive กล่าวคือ ถ้าท่านไม่เข้าใจ และ ไม่รู้จักความเสี่ยงนั้นดีพอ ท่านก็จะมองความเสี่ยงเป็นของน่ากลัว และ เป็นสิ่งที่ท่านพยายามหลีกเลี่ยง และในมุมมองกลับกัน ถ้าท่านรู้จักวิธีศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยง และ สามารถบริหารความเสี่ยงได้ ท่านก็คือ บุคคลหนึ่ง ที่กำลังจะสร้างความร่ำรวยให้กับตัวท่านเอง ภายใต้ "สมการสร้างเงิน" หรือ "Idea + Opportunity + Risk = Money"

WWW.OTHERPEOPLEMONEY.COM

แจกโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis Program)

เพื่อให้สมการ "Idea + Opportunity + Risk = Money" ของ ท่านสมบูรณ์ ผมขอแนะนำโปรแกรมตัวหนึ่ง ซึ่งผมพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว๊บไซค์ www.otherpeoplemoney.com

และ วิธีการใช้โปรแกรมอย่างละเอียด ในหนังสือ "จับเสือมือเปล่า (2)" ซึ่งจะทำให้ท่านเข้าใจ และ มองเห็นถึงความเสี่ยงว่าอยู่ตรงไหน และ ท่านจะจัดการกับมันอย่างไรโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาจากโปรแกรม Excel ซึ่งถือได้ว่าเป็น Application ที่สามารถสร้าง โปรแกรมประยุกต์ ทางด้าน Risk Analysis และ โปรแกรมทางด้าน Financial Analysis ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันดับต่อไปผมจะขอนำเสนอ Flow Chart ของ โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงนี้ ก่อนว่า โปรแกรมนี้มีหลักการทำงานอย่างไร

จาก Flow Chart ที่ผมได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงนี้ ประกอบไปด้วยแผ่นงานทั้งหมด 10 แผ่นงาน ซึ่งได้แก่

1. แผ่นงานที่ 1 : การคาดการณ์ยอดขาย (Sales Revenue Forecast) 2. แผ่นงานที่ 2 : ต้นทุนก่อนการดำเนินการ (Start-up Costs) 3. แผ่นงานที่ 3 : ต้นทุนแปรผัน (Variable Costs) 4. แผ่นงานที่ 4 : ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) 5. แผ่นงานที่ 5 : งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) 6. แผ่นงานที่ 6 : งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) 7. แผ่นงานที่ 7 : งบดุล (Balance Sheet) 8. แผ่นงานที่ 8 : ระยะคืนทุน (Pay Back Period) 9. แผ่นงานที่ 9 : อัตราผลตอบแทนการลงทุน (Net Present Value, Present Value, Internal Rate of Return) 10.แผ่นงานที่ 10 : จุดคุ้มทุน

สำหรับการใช้งานโปรแกรม ผมได้พัฒนาให้มีความง่ายต่อการใช้งาน (User Friendly) มากที่สุด ข้อมูลที่ท่านจะต้องกรอกก็มีเพียงในส่วนวิเคราะห์ต้นทุน (แผ่นงานที่ 1 - 4 และ ท่านจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในธุรกิจที่ท่านจะทำอยู่บ้าง) เมื่อท่านกรอกข้อมูลในแผ่นงาน แผ่นที่ 1 - 4 แล้ว โปรแกรมจะทำการคำนวณค่าต่างๆ ในแผ่นงานที่เหลือ (5-10) ให้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งค่าที่ได้ในแต่ละแผ่นงาน จะทำให้ท่านมองเห็นภาพทางธุรกิจของท่านในรูปแบบของตัวเลขทางด้านการเงินอย่างใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด (ข้อมูลที่จะกำหนดความถูกต้องของภาพทางธุรกิจ ก็คือ ข้อมูลการคาดการณ์ยอดขาย ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการตลาด ยิ่งข้อมูลทางด้านการตลาดของท่าน มีความแม่นยำ ถูกต้อง และ ทันสมัย มากเท่าไร ตัวเลขที่แสดงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจของท่านในรูปแบบของตัวเลขทางด้านการเงินที่ได้จากโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงก็จะถูกต้อง แม่นยำยิ่งขึ้น)

การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจ ตามหลักการ Business Balancing

จากที่ผมได้อธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่า โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง ได้นำเสนอให้ท่านได้เห็นความเสี่ยงในรูปแบบของตัวเลขทางด้านการเงิน (Financial Perspective) ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาในมุมมองอื่นๆ (Other Business Perspectives) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมจะอธิบายด้วย Strategy Map ต่อไปนี้

จากข้อมูลการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงซึ่งแสดงในรูปของตัวเลขทางด้านการเงิน นั้น จะทำให้ท่านมองเห็นภาพธุรกิจของท่านอย่างเด่นชัด และ ทำให้ท่านสามารถระบุได้ว่า ความเสี่ยง (Risk Identifying) แฝงตัวอยู่ตรงไหนในภาพทางธุรกิจของท่าน เมื่อท่านสามารถระบุความเสี่ยงได้แล้ว ขั้นต่อไปท่านก็สามารถวางแผน หรือ ตั้งเป้าหมาย ที่จะจัดการกับความเสี่ยง (Risk Management) นี้ได้อย่างไร โดยท่านจะสามารถวางแผนในมุมมอง ของ การเรียนรู้ของพนักงาน และ การเลื่อนตำแหน่ง (Learning and Promotion), มุมมองในด้านการปฏิบัติงานของพนักงาน (Performance) และ มุมมองของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Customer Satisfaction) หรือ มุมมองในด้านการตลาดและการขายนั่นเอง (Marketing and Sales)

หลังจากที่ท่านใช้ข้อมูลจากโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงไปวางแผนในมุมมองต่างๆ ทั้งสามมุมมองแล้ว และ เริ่มปฏิบัติตามแผน (Plan Implementation) สิ่งที่จะตามมา ก็คือ เมื่อพนักงานของท่านมีความรู้และมีทัศนะที่ดีต่อธุรกิจของท่าน การปฏิบัติงานก็จะดีขึ้น เมื่อการปฏิบัติงานดีขึ้น ก็จะทำให้ท่านสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เมื่อต้นทุนลด ในทางตรงกันข้าม กำไรก็จะเพิ่มขึ้น

เมื่อพนักงานของท่านปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น การดูแลลูกค้าก็จะดีขึ้น ส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจอย่างสูงสุด (Maximum Customer Satisfaction) ลูกค้าก็จะมีความภักดี (Brand Loyalty) กับ สินค้าและบริการของท่านตลอดไป

เป็นไงบ้างครับ มีประโยชน์มากเลยใช่ไหมครับ เจ้าโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงนี้ ดังนั้นก็อย่าช้านะครับรีบไปดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่ www.otherpeoplemoney.com และ อ่านคำอธิบายการใช้อย่างละเอียดได้จากหนังสือ "จับเสือมือเปล่า (2)" จากร้านหนังสือชั้นนำทั่วๆ ไป นะครับ สำหรับวันนี้ผมลาไปก่อน มีอะไรใหม่ๆ ดีๆ ผมจะนำมาฝากทุกท่านอีกครับ

ประวัติผู้พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง

ชื่อ-สกุล

: พ.ต.อรรถสิทธิ์ หัสถีธรรม

อาชีพ

: วิศวกร

: Strategy Consultant

: webmaster เว๊บไซค์ www.smeforthais.com ซึ่งเป็นเว๊บไซค์ที่นำเสนอเกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร

การศึกษา

B.S. (Civil Engineering), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า M.Eng (Construction Management), Stevens Institute of Technology, New Jersey, U.S.A.

การฝึกอบรมและดูงาน Professional Business Consultant, ISEP, BangkokAdvanced Scorecards, Digital Wave, Bangkok-- จบ--

-พห-

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit