มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และมูลนิธิหนังไทย จัดสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อ "ความสุขแบบญี่ปุ่น"

16 Jul 2002

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ

สัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น

  • ความสุขแบบญี่ปุ่น-

พร้อมการสนทนาวิจารณ์โดยศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ

ชมฟรี

ระยะเวลา:

9-14 กันยายน 2545

สถานที่:

ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงเทพฯ

อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท ซอย21 (อโศก) กรุงเทพฯ

โทร 0-2260-8560-4 อี-เมล [email protected] URL: www.jfbkk.or.th

มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ มูลนิธิหนังไทย จัดสัปดาห์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในหัวข้อ “ความสุขแบบญี่ปุ่น” ตั้งแต่วันที่ 9 – 14 กันยายน 2545 และปิดท้ายด้วยรายการสนทนาวิจารณ์โดยศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ ในวันสุดท้าย

ศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ เป็นหนึ่งในนักศิลปะและภาพยนตร์วิจารณ์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น มุมมองที่เฉียบแหลมของเขาได้รับการยอม รับยกย่อง และยังได้รับรางวัลมากมายจากการเขียนหนังสือหลายเล่ม

เราอยากเห็นว่าอะไรจะถูกสลักอยู่ในความรู้สึกผ่อนคลายที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความสุข” ในญี่ปุ่น ผ่านการวิจารณ์ภาพยนตร์ที่คัดสรรค์แล้ว 5 เรื่องจากยุค 90 ของศาสตราจารย์ โยโมตะ

นอกจากภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องแล้ว ภาพยนตร์เรื่องเยี่ยมอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะฉายในงานนี้คือ “อุเกทซึ” ซึ่งจะฉายให้ชมในวันสุดท้ายก่อนเริ่ม การวิจารณ์ของศาสตราจารย์ โยโมตะ เขาจะพูดถึงความคล้ายคลึงกันของเรื่องดังกล่าวกับเรื่อง “แม่นากพระโขนง”เรื่องพื้นบ้านอันโด่งดังของไทย

เพื่อได้อรรถรสของบทวิจารณ์ของศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะอย่างเต็มที่ ขอแนะนำให้คุณชมภาพยนตร์ให้ครบทุกเรื่อง โดยจะฉายวัน ละหนึ่งเรื่องติดต่อกันตลอดหนึ่งสัปดาห์ ชมฟรี

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณโยชิโอกะ หรือคุณอัมพุชินี ที่ โทรศัพท์ 0-2260-8560-4

ตารางการฉาย:

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2545

18.30 น. มะตะซาบุโร่ จ้าวแห่งลม / โทชิยะ อิโต้ / 1989 / 107 นาที

เรื่องราวเหนือจินตนาการสร้างจากเรื่องเดิมของเคนจิ มิยาซาว่า กวีและนักเขียนนวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของญี่ปุ่น

เด็กหญิงได้พบกับเด็กชายประหลาดที่มีชื่อเล่นว่า มะตะซาบุโร่ จ้าวแห่งลม เมื่อเขาปรากฏตัวขึ้นในวันที่มีพายุ

วันอังคารที่ 10 กันยายน 2545

18.30 น. บันทึกไอ้บ้าตกปลาภาคพิเศษ / โมริซากิ อะซึมะ / 1994 / 106 นาที ภาพยนตร์ตลกอบอุ่นที่สร้างจากหนังสือการ์ตูน

ยอดนิยมของยามาซากิ จูโร่ และคิตามิ เคนอิจิ กล่าวถึงลูกจ้างธรรมดาๆ ในบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งผู้อุทิศตนให้กับครอบครัวและการ

ตกปลาที่ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย คนที่มีความสุขมักพบกับเรื่องดีๆ เสมอ

วันพุธที่ 11 กันยายน 2545

18.30 น. โรงเรียนผีสิง / ฮิรายามะ ฮิเดยูกิ / 1995 / 100 นาที

เรื่องสยองขวัญสนุกสนานในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง การผสมผสานเรื่องผีแบบเก่าของญี่ปุ่นกับการถ่ายทำด้วยเทคนิคพิเศษของ

ภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นความสำเร็จที่ลงตัวทางธุรกิจ เรื่องเล่าถึงเด็กนักเรียนและครูซึ่งบังเอิญเข้าไปในตึกเรียนหลังเก่าของโรงเรียน

และได้พบกับเหตุการณ์สยองขวัญ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2545

18.30 น. ซึงุมิ / อิจิกาวะ จุง / 1990 / 105 นาที

เรื่องราวของเด็กสาวที่ถูกตามใจมาตั้งแต่เกิด สร้างจากนวนิยายขายดีของบานานา โยชิโมโต้ นักเขียนสตรีชื่อดัง

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2545

18.30 น. มาเต้นรำกันดีกว่า / ซึโอะ มาซายูกิ / 1996 / 136 นาที

เรื่องขำขันที่สดใสของหนุ่มใหญ่นักธุรกิจตัดสินใจเรียนลีลาศโดยไม่บอกครอบครัว ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศที่ได้รับ

ความนิยมสูงเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์บ๊อกซ์ออฟฟิศของอเมริกา

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2545

11.00 น. อุเกทสึ / มิโซงุจิ เคนจิ / 1953 / 97 นาที

เรื่องสยองขวัญที่สร้างจากเรื่องสั้นของ อุเอดะ อาคินาริ ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี 1768 ได้รับรางวัลสิงโตเงินจาก เทศกาล

ภาพยนตร์นานาชาติที่เวนิส

14.00 น. บทวิจารณ์ภาพยนตร์โดย ศาสตราจารย์ โยโมตะ อินุฮิโกะ

  • ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายภาษาไทย

จัดโดย: มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ และ มูลนิธิหนังไทย

โยโมตะ อินุฮิโกะ

เกิดเมื่อปี 1953 จบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางด้านวัฒนธรรมเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยโตเกียว และศึกษาในฐานะนักวิชาการใน โครงการแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยโบโลญญ่า (ประเทศอิตาลี)

หลังจากสอนในหลายมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ที่คณะวรรณกรรมของมหาวิทยาลัย เมจิ กักคุเอง และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการศิลปะและภาพยนตร์วิจารณ์

ผลงานของเขาได้รับรางวัลในฐานะความสำเร็จทางวิชาการ รวมถึงรางวัล ซันโทรี ไพรซ์ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, รางวัล วรรณกรรมไซโต เรียวคุอุ, รางวัลวรรณกรรม อิโต้ เซอิ และ รางวัลเรียงความจากโคดันฉะ

ผลงานบางส่วนเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ :

ภาพยนตร์ญี่ปุ่นในเอเชีย (อิวานามิ โชเทน, 2001), 100 ปี- ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ญี่ปุ่น (ชูเออิฉะ, 2000)--จบ--

-ศน-