กรุงเทพฯ--21 ก.พ.--มูลนิธิโกมลคีมทอง
"สู้เพื่อสิทธิของผู้ป่วยจาการทำงาน : แสวงหาความชอบธรรมกับอำนาจและทุนนิยม" โดย..คุณสมบุญ สีคำดอกแค
วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ เวลา ๑๗.๐๐ - ๒๐.๓๐ น. ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) กำหนดการ
๑๗.๐๐ น. การแสดงเรื่อง "คนตัดต้นไม้" จากกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา
๑๗.๐๐ น. การมอบรางวัลบุคคลเกียรติยศ ประจำปี ๒๕๔๕ แด่
๑๘.๐๐ น. บทกวีรำลึกถึงโกมล คีมทอง โดย อ. อังคาร กัลยาณพงศ์
๑๘.๒๐ น. การไว้อาลัย นายสัญญา ธรรมศักดิ์ (ประธานกรรมการก่อตั้ง)
๑๘.๓๐ น. การแสดงปาฐกถามูลนิธิโกมลคีมทอง ประจำปี ๒๕๔๕
กล่าวแนะนำโดย อ. วรวิทย์ เจริญเลิศ กล่าวปิดโดย อ. สุลักษณ์ ศิวรักษ์
นอกจากนนี้ พบกับ ร้านขายหนังสือและสินค้าทางเลือกต่างๆ ร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิโกมลคีมทอง ๐๒)๔๑๑๓๗๔๔ , ๐๒)๔๑๒๐๕๒๖, ๐๑)๗๙๕๐๘๑๗
ประวัติ คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
ด้วยหัวใจและปอดที่เหลืออยู่ ชีวิตเปลี่ยนไปเมื่อเธอต้องสูญเสียปอดไปแล้ว 60% จากฝุ่นฝ้ายที่ลอยคลุ้งปลิวว่อนอยู่ทุกหนทุกแห่งของโรงงานพัดเข้าสู่ระบบหายใจสะสมจนขึงเป็นพังผืดยึดปอดเธออย่างไม่รู้ตัว เธอเดินเข้าออกโรงพยาบาลหลายแห่งนานถึง 7 ปี จึงพบว่าตัวเองเป็นโรค "ปอดอักเสบเรื้อรังจากฝุ่นฝ้าย" เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมโรงงานอีกกว่าสิบกว่าร้อยคนและทั้งหมดไม่ได้รับการปฎิบัติอย่างชอบธรรมจากนายจ้าง สมบุญ สีคำดอกแค ซึ่งลุกขึ้นมาเป็นคนไทยคนแรกที่เรียกร้องเพื่อสุขภาพของเพื่อนแรงงาน จนได้รับรางวัลอาโซก้า (ASHOGA) จากองค์กรพัฒนาเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา
7 ปี ของการตามหาโรคที่มองไม่เห็น จากคนที่มีสุขภาพดี กลับกลายเป็นคนที่เหนื่อยง่าย สมบุญ เล่าถึงอาการที่ค่อยก่อตัวขึ้นเมื่อปี 2528 "ตรวจสุขภาพของโรงงานทุกปี แต่ก็ไม่พบอะไร เลยไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง" ระหว่างนั้นเธอตั้งครรภ์ แต่ต้องเดินเข้าออกคลินิก โรงพยาบาลถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยอาการคล้ายคนเป็นหวัด อาการทรุดหนักลงมาก จึงเริ่มรักษาตัวอย่างจริงจังในปี 2535 ที่โรงพยาบาลราชวิถี ครั้งนี้เธอถูกจับตรวจร่างกายอย่างละเอียด กระทั่งแพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคปอดอักเสบเรื้อรัง และขณะนั้นสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลงไปถึง 60 % นั่นหมายถึงว่า ทุกวันเธอมีปอดสำหรับสูดหายใจอยู่เพียง 40 % เท่านั้น *ื่นใบรับรองแพทย์ให้หยุดรักษาตัว "มานอนซมที่บ้าน ต้องตะเกียกตะกายข้างฝาขึ้น เพราะว่าเดินไม่ได้ ขยับเขยื้อนตัวไม่ได้ ตอนนั้นอยู่คนเดียว และต้องดูลูกด้วย ลูก สมบุญกินยาอยู่ตลอดสองปี เยื่อสีดำถูกสำรอกออกจากตัวเอง จนอาการเสียวหน้าอกหายไป แต่ยังเหนื่อยหอบ สมรรถภาพปอดคืนกลับขึ้นมา 60 % เธอกำลังตัดสินใจจะออกจากงานตามคำแนะนำของแพทย์ หากไม่พบว่ามีเพื่อนแรงงานที่มีอาการเช่นเดียวกับเธอหลายคนประสบปัญหานายจ้างไม่ยอมรับว่าพวกเธอเป็นโรคอันเกิดจากการทำงาน ซึ่งทำให้สูญเสียสิทธิคุ้มครองจากกองทุนทดแทนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานในฐานะกรรมการสหภาพแรงงานของโรงงานเธอจึงตัดสินใจทำงานต่อเพื่อเรียกร้องความชอบธรรม
เพรียกหา จนได้รับรางวัลอโชก้า "เริ่มจาก 8 คนที่มีปัญหาเพราะนายจ้างไม่ยอมรับใบรับรองแพทย์หรือรับแต่ไม่ให้เงินเดือน" ปัญหาเหล่านี้ทำให้เธอและเพื่อนประชุมร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนสมาชิกผู้ป่วยทวีจำนวนมากขึ้น กระทั่งปี 2537 เกิดการรวมกลุ่มในนาม สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย โดยมีเธอขึ้นเป็นประธานสภาฯ ข้อเรียกร้องใกล้ตัวจึงกลายเป็นข้อเรียกร้องระดับนโยบาย นำยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ในครั้งร่วมชุมนุมกับสมัชชาคนจน กระทั่งเกิดข้อเรียกร้องให้ก่อตั้ง "สถาบันคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ" ขึ้น สาวใหญ่วัย 40 ปี ทุ่มเทแรงใจด้วยแรงกายกับงานรณรงค์อย่างเต็มที่ หลายครั้งที่ต้องถูกหามเข้าโรงพยาบาล ช่วงปี 2540 สมบุญได้รับรางวัลอโชก้า (ASHOGO) จากองค์กรพัฒนาเอกชนของสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมด้านสุขภาพความปลอดภัย นับแต่นั้นเธอจึงออกมาทำงานเพื่อสังคมอย่างเต็มตัว "สีคำดอกแค" กับฝุ่นฝ้ายในชีวิต สมบุญผันตัวเองเป็นนักกิจกรรม สามีหันไปขับรถตู้ ลูกสาวเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม 5 ทั้งสามคนเผชิญโลกอยู่ด้วยลมหายใจที่ไม่เต็มปอดเหมือนกัน "ถ้าเราหยุดทำงานนี้ ไปขุดดินทำสวนก็ไม่ได้ เราก็ทำไม่ไหว จะเหนื่อย สรุปแล้วคงไม่มีโอกาสทำอย่างที่เคยฝัน" เรายอมเสียสละสักชีวิต เพื่อให้เพื่อนอีกสองสามร้อยชีวิตได้ไปชีวิตอย่างที่เขาฝันกัน สมบุญถอดใจพูดอย่างเหนื่อยอ่อน "เราก็พยามป้องกันไม่ให้คนอื่นมาเป็นแบบเรา ขอให้เกิดเป็นมาตรฐานของสังคม ณ ซอกสังคมที่คนมักมองไม่เห็นกับข้อเรียกร้องขอคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ--จบ--
-สส-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit