กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--ฟรอนเทียร์ ไดเจสต์
ซิสโก้ฯ ร่วมเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการระดับแพลททินัมในงาน APRICOT 2002 งานประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับเอเซียแปซิฟิค พร้อมติดตั้งระบบเครือข่ายแบบไร้สายอำนวยความสะดวกแก่ผู้ร่วมประชุมต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้จากทุกบริเวณงาน
ซิสโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์ ผู้นำระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตชั้นนำระดับโลกจัดแสดงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเราเตอร์ประสิทธิภาพสูง และโซลูชันไอพีวี-6 (Internet Protocol version 6) ที่ใช้งานจริงแบบสาธารณะครั้งแรกให้ชาวไทยและต่างประเทศได้ใช้งานเป็นครั้งแรก ในงาน APRICOT 2002 งานประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตชั้นนำของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ซึ่งเป็นเวทีประชุมที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง โดยมีกิจกรรมหลากหลายเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายแห่งอนาคต อาทิ การประชุมวิชาการ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการและนิทรรศการ เป็นต้น
ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องสำหรับงาน APRICOT ในฐานะผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการระดับแพลททินัมของงานประชุมประจำปี ค.ศ. 2002 นี้ พร้อมทั้งติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ
ไร้สายชนิด 802.11b ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้แสดงเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ของคณะผู้จัดงานประชุม ตลอดจนผู้เข้าชมงาน สามารถมั่นใจกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างปลอดภัยผ่านโครงการ Wireless Instant Internet Access Program (www.apricot2002.net/program/wireless.html) ที่ทำงานด้วยอุปกรณ์แอ็กเซสพอยท์ แอโรเน็ต ตระกูล 350 ของซิสโก้ ซีสเต็มส์ที่ติดตั้งอยู่ทั่วบริเวณศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ผู้ที่ต้องการใช้สามารถติดต่อขอใช้บริการการ์ดแลนไร้สายของ ซิสโก้ ซีสเต็มส์ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของงาน APRICOT และเว็บอื่นๆ ทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ยังได้เชิญ ดร. สตีเฟน เดียร์ริ่ง บุคคลสำคัญของคณะสถาปนิกอินเทอร์เน็ตขั้นสูงของซิสโก้ ซีสเต็มส์ (Cisco Fellow and a member of Cisco's Advanced Internet Architectures Group) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเกี่ยวกับเทคโนโลยีไอพีวี-6 ในงานอีกด้วย ดร. สตีเฟน เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการด้านระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล เขาเป็นผู้ที่คิดค้น IP multicast และเป็นอดีตหัวหน้าคณะออกแบบไอพีวี-6 เขายังเป็นหนึ่งในคณะทำงานของ Internet Research Task Force's End to End Research Group เป็นสมาชิกของ Internet Architecture Board และผู้ร่วมก่อตั้งคณะทำงานไอพีวี-6 ของ สถาบันมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force)
นายวรกร ภัทรายานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "การที่งานประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค อย่างเช่น APRICOT นี้มาจัดในประเทศไทย นับเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการจารึกว่า ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีความก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านอินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคม เทคโนโลยีและโซลูชันที่ ซิสโก้ ซีสเต็มส์ นำมาแสดงในงานประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย High-speed Internet Routing, IPv6, MPLS, DPT, BGP Multicast รวมถึงการติดตั้งระบบ
เครือข่ายแบบไร้สายทั่วบริเวณศูนย์ประชุมฯ เหล่านี้เป็นการนำเสนอให้เห็นถึงความเป็นบริษัทชั้นนำและความสามารถของซิสโก้ ซีสเต็มส์ ที่มีศักยภาพพร้อมทำงานร่วมกับบรรดาผู้ให้บริการระบบสื่อสาร (Service Provider) ในการสร้างระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนและมีความน่าเชื่อถือได้ในระดับภูมิภาค"
อินเทอร์เน็ตเราเตอร์ความเร็วสูง (High-speed Internet Routing)
ไอพีเราเตอร์เป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังเป็นข้อถกเถียงสำคัญตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณเทคโนโลยีไอพีเราติ้งที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อโลกเข้าด้วยกัน ด้วย "เครือข่ายของบรรดา เครือข่าย" การคิดค้นไอพีเราติ้ง นับเป็นหนึ่งในภาระกิจหลักสำคัญที่สุดของ ซิสโก้ ซีสเต็มส์ เทคโนโลยีเราติ้ง ยุคหน้าของซิสโก้ ซีสเต็มส์ ประกอบด้วย multi-gigabit per second performance, advanced quality of service capability, layer 4-7 intelligence, integration with layer 2 switching และอื่นๆ อีกมากจากรายงานผลการตลาดที่ผ่านมารายงานว่า ซิสโก้ ซีสเต็มส์ได้ขยายฐานการตลาดด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดของ 10 กิกกะบิธ ไฮ-เอนด์เราเตอร์ โดยมีอินเทอร์เน็ตเราเตอร์ตระกูล 12400 เป็นแกนนำ จากการสำรวจของ Infornetics Research พบว่า ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ยังครองส่วนแบ่งรายได้จากสินค้าหลักคือ เราเตอร์ ติดต่อกันมาถึง 3 ไตรมาส และในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว สามารถครองส่วนแบ่งถึงร้อยละ 79 ร Internet Protocol Journal (www.cisco.com/ipj) ซึ่งเป็นนิตยสารที่ให้ข้อมูลสาระที่น่าสนใจแก่วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ งานพัฒนา และการปฎิบัติงานที่เกี่ยวกับระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มร. เจค็อบสัน เข้ามามีบทบาทในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 หลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปช่วยจัดตั้ง Norwegian Defence Research ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ARPANET นั่นเองรายละเอียดเกี่ยวกับงาน APRICOT
APRICOT เป็นงานประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตชั้นนำของ
ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค เป็นเวทีความรู้ของบรรดาผู้สร้างอินเทอร์เน็ตในระดับภูมิภาคในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น ที่เชื่อมต่อกับชุมชนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เมื่อปี ค.ศ. 1996 APRICOT ได้จัดตั้งขึ้นในรูปแบบงานประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.apricot2002.net)
Press Contacts:
สุพจน์ ศรีนุตพงษ์
อัจฉรา คูชยภูมิ
บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย)
บริษัท ฟรอนเทียร์ ไดเจสต์ จำกัด
โทร. 0-2273-7066
โทร. 0-2714-0996 # 106
อีเมล์ [email protected]
[email protected] จบ--
-อน-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit