กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--มอนซานโต้ ไทยแลนด์
คณะกรรมมาธิการวิจัยแห่งสหภาพยุโรป ฟิลิป บัลกูแอง (Philippo Busquin) ไม่พอใจที่กลุ่มต่อต้านบุกทำลายแปลงทดลองพืชดัดแแปลงพันธุกรรมพร้อมกับกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่รุนแรง และเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้
หลังจากที่กลุ่มต่อต้านบุกรุกทำลายแปลงทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในเมือง Alost ประเทศเบลเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การกระทำดังกล่าวเป็น โครงการรณรงค์ต่อต้านการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมระดับไร่นาทั่วภูมิภาพยุโรป
แปลงทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ถูกทำลายไปนั้น เป็นของหน่วยงานภาครัฐของเบลเยี่ยมและดำเนินการทดลองภายใต้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสหภาพยุโรปและหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น
พืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นวิธีการปรับปรุงพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้นกว่า การปรับปรุงพันธุ์แบบเดิมไม่แม่นยำและใช้ระยะเวลานานกว่า นายฟิลิป ชี้ว่า ถ้าการดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมอยู่ในกรอบของความปลอดภัย ทางชีวภาพที่เคร่งครัด จะช่วยพัฒนาด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ของภูมิภาคสหภาพยุโรป
นายฟิลิป กล่าวว่า"การกระทำดังกล่าวเป็นตัวอย่างของการปฎิเสธและความมีอคติที่นำไปสู่การกระทำรุนแรงที่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งในระยะยาว สังคมจะพลาดผลประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยี เสรีภาพของการวิจัยเป็นค่านิยมพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย การวิจัยเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม เป็นกุญแจไปค้นพบคำตอบของข้อสงสัย และความไม่แน่ใจที่มีต่อพืชเหล่านี้ถ้าเราไม่ลงทุนศึกษาเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมอย่างเพียงพอ สหภาพยุโรปจะไม่ทันต่อการพัฒนาในการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ และการประเมินความเสี่ยงของพืช และสำคัญที่สุด พลเมืองยุโรปจะกลายเป็นผู้แพ้ในที่สุด"
จากที่ผ่านมา ประเทศทั่วทวีปยุโรปเกือบทั้งหมดได้หยุดการทดสอบทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในระดับไร่นา เมื่อปีที่แล้วศูนย์ความร่วมมือการวิจัยของสหภาพยุโรปได้ดูแลกิจกรรมการร่วมมือกันกับสมาชิกของสหภาพยุโรป ได้รับรายงานการวิจัยจำนวน 88 โครงการ การหยุดทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรมระดับไร่นา ซึ่งเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาแล้ว มีจำนวนงานวิจัยเฉลี่ยปีละ 1,500 โครงการ การหยุดทดสอบทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรม อาจส่งผลให้สหภาพยุโรปต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่สำคัญนี้จากต่างประเทศ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากพันธุกรรมนั้นไม่ได้มีเฉพาะการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรเท่านั้น ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในอนาคต คือการพัฒนาพืชที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคและผลิตยาได้
การที่ยุโรปหยุดเรียนรู้ และหยุดเพิ่มความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีพันธุกรรมเพื่อพัฒนาสินค้า ตลอดจนการปราศจากการวิจัยที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อที่จะเข้าถึงข้อมูลของพืชดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้ยากต่อการทราบถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้
บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำของยุโรปบางแห่งได้หยุดการดำเนินการวิจัยและปิดห้องทดลองที่ตั้งอยู่ในยุโรปลง และบางบริษัทได้พยายามที่จะไปก่อตั้งห้องทดลอง และดำเนินการวิจัยนอกพื้นที่ทวีปยุโรป อาจทำให้สถานการณ์ของยุโรปเลวร้ายยิ่งขึ้น
คณะกรรมาธิการ ฟิลิป บัสกูแอง ยืนยันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเปิดให้มีการอภิปรายระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรม โดยตั้งอยู่บนเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
ในวันที่ 18 เมษายน 2545 คณะกรรมาธิการจะจัดการประชุมโต๊ะกลม เรื่อง การวิจัยความปลอดภัยของการดัดแปลงพันธุกรรม ครั้งที่ 2 ขึ้น โดยเชิญนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของยุโรป และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม (NGOs), หน่วยงานรัฐและอุตสาหกรรม ตลอด 15 ปีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้สนับสนุนโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ 81 โครงการ และมีทีมวิจัยเข้าร่วมดำเนินกว่า 400 ทีมทั่วยุโรป โดยใช้งบประมาณของสหภาพยุโรป 70 ล้านเหรียญยูโร--จบ--
-ปส-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit