กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
สุขอนามัยและปัญหาต่างๆ ด้านสุขภาพ
การมีอายุมากขึ้นและการมีอายุยืนยาว
- ผู้ชายโดยปกติมีอายุต่ำกว่าผู้หญิงเฉลี่ยประมาณ 7-8 ปี และในบางประเทศผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่า ผู้ชายถึง 12-13 ปี
- ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศญี่ปุ่นจะมีสัดส่วนของผู้ชายสูงอายุมากที่สุด (คือประมาณ 26%ของผู้ชายทั้งหมดและเท่ากับประมาณ 62.10 ล้านคน)
- ในปัจจุบันมีจำนวนประชากรชายต่อหญิงมีอายุเกิน 100 ปี เป็นสัดส่วน 1:4
สุขอนามัย
- แพทย์มีความเชื่อว่าผู้ชายหลีกเลี่ยงการไปพบแพทย์เป็นสองเท่าของผู้หญิง
- ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ชายไปพบแพทย์ช้ากว่าเวลาที่ควรจะเป็น
- จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก เห็นว่า:
- "ควรมีการรณรงค์ให้ผู้ชายให้ความสำคัญกับอาการของโรคให้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้ และผู้ชายควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ในทางกลับกันก็ควรมีการบริการทางแพทย์ที่ดีและมีความละเอียดอ่อนเหมาะสมกับความจำเป็นด้านสุขอนามัยของชายสูงอายุ ซึ่งให้ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย หากเราศึกษาจากความสำเร็จ และความล้มเหลวของการให้บริการทางสาธารณสุขจำเพาะแก่เพศหญิงแล้ว เราก็จะเรียนรู้อะไรต่างๆ ได้มาก"
- จากการสำรวจทั่วโลก มีความเป็นจริงที่สะท้อนการให้บริการทางสาธารณสุขออกมาว่า
"เราไม่สนใจปัญหาสุขภาพของคุณ" ผู้ชายส่วนมากเข้าพบแพทย์เฉพาะในช่วงวัยเด็กและเมื่อตอนแก่ตัวแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะการดูแลรักษาสุขภาพน้อยเกินไปอาจ ทำให้อะไรๆ สายเกินไปได้"
- จากเอกสารการประชุมระดับโลกเรื่องสุขภาพเพศชายพบว่า:
- "เพราะว่าผู้ชายมักไม่ได้สนใจบริการด้านสุขภาพเท่าที่ควร การที่เขามาพบแพทย์อาจเป็นโอกาสเดียวของแพทย์ที่จะทำการประเมินและรักษาสุขภาพให้เขา ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานทีเดียว"
- "ภารกิจในการตอบสนองต่อวิกฤติด้านสุขภาพเพศชายเป็นเรื่องใหญ่ และยังต้องหันกลับมามองความหมายของคำว่า "ความเป็นชาย" กันใหม่"
- จากการสำรวจของ The Commonwealth Fund Men and women's Health พบว่า:
- ในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่ไปพบแพทย์ในรอบปีที่ผ่านมา มีเพียง 10% เท่านั้นที่ได้ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพทางเพศ
- ในบางประเทศ วัฒนธรรมและความเชื่อ สอนผู้ชายว่าให้อดทนต่อความเจ็บปวดทางกาย
ปัญหาต่างๆ ด้านสุขภาพ
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED)
- มีการประมาณการว่ามากกว่า 50%ของ ผู้ชายอายุระหว่าง 40-70 ปี ประสบปัญหาจากโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในระดับต่างกัน
- ปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศอย่างโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ตามความเป็นจริงประมาณ 30-50%ของคนเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นโรคหลอดเลือด การไม่ขยายของหลอดเลือดในองคชาตเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศจากวัยที่สูงขึ้น
- อายุยิ่งมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากขึ้น แต่อายุอย่างเดียวไม่ใช่สาเหตุหลัก เพราะโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ ที่พบมากเมื่อวัยสูงมากขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และจากยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ
โรคหลอดเลือดหัวใจ / โรคหัวใจ
- โรคหัวใจยังคงเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดในปัจจุบัน ผู้ชายมีความชุกของโรคหัวใจวาย 4.2% อัมพาต/อัมพฤกษ์ 2.3% และโรคความดันโลหิตสูง 40.8% มากกว่าผู้หญิง (1.8%, 2.1%, และ 32.9% ตามลำดับ)
โรคเบาหวาน
- ผู้ชายส่วนมากมีความชุกของโรคเบาหวาน (3.3%) มากกว่าผู้หญิง (1.8%) และจะมากขึ้นเกือบถึง 20%เมื่อมีอายุประมาณ 80 ปี
- ในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานและอายุเกิน 50 ปี มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศถึง 50-60%
มะเร็ง
- มะเร็งปอด (Lung Cancer) นับเป็นโรคมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศชาย ตามมา คือมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) พบในทั้งชายและหญิง และมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสามที่ทำให้เสียชีวิต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :
คุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล [email protected]
โทร. 0-9922-9542
คุณบุษบา สุขบัติ
[email protected]
โทร. 0-1483-7336
พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
โทรศัพท์ 0-2271-3531-3, โทรสาร 0-2271-3534 (ยังมีต่อ)
-อน-