ข้อมูลประกอบของ "เปเล่" จับมือกับไฟเซอร์รณรงค์เรื่องโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศทั่วโลก

19 Mar 2002

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส

การเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction or ED)

ความหมาย

  • ปัญหาการแข็งตัวขององคชาตอย่างเช่นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หมายถึงการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์จนเป็นที่พึงพอใจ พบได้ว่าผู้ชายที่ประสบปัญหาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังคงมีการทำงานทางเพศด้านอื่นเป็นปกติ อาทิเช่น ความต้องการทางเพศ หรือความสามารถในการถึงจุดสุดยอดและการหลั่งน้ำกาม

การเกิดและปัจจัยอายุ

  • โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นโรคปกติที่พบได้ในผู้ชาย และเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โรคหย่อนสมรรถภาพนี้สามารถรักษาได้ และไม่ควรถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงตามวัย

ผลกระทบกับคุณภาพชีวิต

  • ส่วนมากการหย่อนสมรรถภาพทางเพศมักก่อให้เกิดผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางเพศและสุขภาพโดยรวม ซึ่งความบกพร่องทางเพศนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายที่สุขภาพไม่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ชายที่เพิ่งเริ่มประสบกับปัญหาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมักจะกังวลใจ มีอาการซึมเศร้าและขาดความมั่นใจในตัวเอง

ผลกระทบกับชีวิตคู่

  • สำหรับผู้ชายหลายราย ปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถทำให้เกิดความเครียดตามมาทำให้ทำตัวเหินห่างจากคู่ครอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตคู่ รวมถึงครอบครัวได้
  • เนื่องจากผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศจะมีปัญหาด้านอารมณ์ด้วย จึงมักมีการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนเพื่อจะได้ลืมอาการที่ตัวเองเป็นอยู่

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  • ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางร่างกายไม่ใช่จากอารมณ์หรือจิตใจ
  • มีเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ของชายวัย 50 ปีขึ้นไปที่ปัญหาด้านจิตใจเป็นสาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และโรคซึมเศร้า
  • ผู้ป่วยชายที่เป็นโรคเบาหวานที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป พบว่าความชุกของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสูงถึง 50-60%
  • ประมาณร้อยละ 30-50ของคนเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือด ซึ่งการไม่ขยายตัวของหลอดเลือดในองคชาตเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และโรคหลอดเลือดแข็งตัวเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้ชายอายุเกิน 60 ปีที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 70
  • โรคความดันโลหิตสูง ทั้งที่รักษาหรือไม่รักษาเป็นปัจจัยเสี่ยงประมาณร้อยละ15 ต่อการเกิดปัญหาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายวัย 40-70 ปี
  • เกือบร้อยละ 90 ของผู้ชายที่มีโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงจะเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในระดับเป็นน้อย ถึงระดับปานกลาง

การวินิจฉัย

  • แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้จากการซักประวัติความเจ็บป่วย การตรวจหาทางห้องปฏิบัติการ การตรวจอื่นๆ และสุขภาพทางเพศ การตรวจร่างกายและสภาพจิตสังคม

แนวทางการรักษา

หลังจากการประเมินโรคดังกล่าวข้างต้น หากพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แพทย์อาจเลือกรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมแตกต่างกันไป

  • การใช้ยารักษาโดยการรับประทานยา
  • การฉีดยาเข้าองคชาต โดยการฉีดยาเข้าไปในองคชาตก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  • การผ่าตัด รักษาโดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อฝังแกนอวัยวะเทียม
  • การรักษาโดยจิตบำบัด โดยจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา
  • การสอดยาเข้าทางท่อปัสสาวะ โดยการใช้อุปกรณ์เพื่อส่งผ่านยาเข้ามาทางอวัยวะเพศโดยผ่านท่อปัสสาวะ
  • การใช้อุปกรณ์สูญญากาศ โดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศดึงเลือดเข้าสู่องคชาต เพื่อให้องคชาตแข็งตัว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม :

คุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล [email protected]

โทร. 0-9922-9542

คุณบุษบา สุขบัติ

[email protected]

โทร. 0-1483-7336

พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส

โทรศัพท์ 0-2271-3531-3, โทรสาร 0-2271-3534--จบ--

-อน-

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit