กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--ธนาคารซิตี้แบงก์ กรุงเทพฯ
"เราได้มองหาความร่วมมือใหม่ ๆ ระหว่างรัฐบาลโดยอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย ระเบียบ การค้าและธุรกิจ เราอาจเรียกมันว่าเป็น 'เครือข่ายการผลิตนานาชาติ' ที่เชื่อมโยงเราเข้าด้วยกัน นับเป็นหนทางใหม่ของเอเชีย" (ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและว่าที่ผู้อำนายการองค์การการค้าโลก)
"เราหวังว่าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจะให้ความสำคัญ ผู้นำจีนคนปัจจุบันได้พยายามฝ่าฟันผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจต่างๆ นับเป็นความสำเร็จของเขา แต่ผมกำลังเป็นห่วงว่าเมื่อหมดวาระของเขาแล้วผู้นำคนต่อไปจะเป็นอย่างไร" (ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและว่าที่ผู้อำนายการองค์การการค้าโลก)
"รัฐบาลต่าง ๆ จำเป็นต้องหาวิธีการหยุดยั้งผลกระทบของวิกฤตการณ์นี้และช่วยให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือบริษัทให้อยู่รอดได้" (ดร. วีระพงศ์ รามางกูร นักเศรษฐศาสตร์ระดับแนวหน้า)
"สิ่งที่เราให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ก็คือสถาบันใหม่ๆ เช่น กองทุนการเงินเอเชีย (Asia Monetary Fund) นับเป็นเรื่องดีที่เรากำลังพัฒนารูปแบบของเราเองแทนที่จะทะเลาะเบาะแว้งกัน ถ้าเราสามารถทำให้ความขึ้นอยู่กับโลกภายนอกของเรามีสมดุล เราก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากความซบเซาในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปมากเท่าทุกวันนี้ เวลานี้เราควรจะรับฟังแต่ก็ต้องสามารถจัดการตัวเราเองได้ด้วย (ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและว่าที่ผู้อำนายการองค์การการค้าโลก)
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
Caroline Gurney
ซิตี้กรุ๊ป เอเชียแปซิฟิก
โทรศัพท์ (65) 6328 3336
อีเมล์
เกลียวพัตรา จิตตาลาน
ธนาคารซิตี้แบงก์ กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 0-2232 2904-5
อีเมล์
[email protected] จบ--
-อน-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit