มศก.ประกาศผลการคัดเลือกและตัดสินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47

11 Sep 2001

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--มศก.

มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมศิลปากร โดยการสนับสนุนจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ขึ้น ระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2544 ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ โดยในปีนี้มีศิลปินผู้สนใจจัดส่งผลงานรวมทั้งสิ้น จำนวน 122 คน จากผลงานศิลปกรรม 222 ชิ้น คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินประกอบด้วยศิลปินชั้นเยี่ยม นักวิชาการศิลปะและศิลปินอิสระ ได้ดำเนินการคัดเลือกและตัดสินผลงานให้ได้รับรางวัล จำนวน 18 ชิ้น และร่วมแสดง จำนวน 103 ชิ้น ดังนี้

ประเภทจิตรกรรม

1. เกียรตินิยมอันดับ

1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

2. เกียรตินิยมอันดับ

2 เหรียญเงิน

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

3. เกียรตินิยมอันดับ

3 เหรียญทองแดง

นายเทอดเกียรติ หวังวัชรกุล ผลงานชื่อ "อบอุ่นในความทุกข์ยาก หมายเลข 1"

นายภานุพงศ เชยอรุณ

ผลงานชื่อ "ชั่วโมงพุทธศาสนา"

นายรุ่ง ธีระพิจิตร

ผลงานชื่อ "สุนทรียภาพแห่งวัตถุ หมายเลข 2,2001"

นางสาววิรัญญา ดวงรัตน์

ผลงานชื่อ "Atmosphere of Faith No.1"

ประเภทประติมากรรม

1. เกียรตินิยมอันดับ

1 เหรียญทอง

นายพศุตม์ กรรณรัตนสูตร ผลงานชื่อ "Magic Mirror"

2. เกียรตินิยมอันดับ

2 เหรียญเงิน

นายณภัทร ธรรมนิยา

ผลงานชื่อ "ความผูกพัน"

3. เกียรตินิยมอันดับ

3 เหรียญทองแดง

นายมานพ สุวรรณปินฑะ

ผลงานชื่อ "รูปคนในภูมิทัศน์ หมายเลข 1"

นายศิระ สุวรรณศร

ผลงานชื่อ "Productiveness"

นายอดิเรก โลหะกุล

ผลงานชื่อ

"สังคม?"

ประเภทภาพพิมพ์

1. เกียรตินิยมอันดับ

1 เหรียญทอง

นายขจรพล เชิญขวัญศรี ผลงานชื่อ "3 กล่องรับบริจาค"

2. เกียรตินิยมอันดับ

2 เหรียญเงิน

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

3. เกียรตินิยมอันดับ

3 เหรียญทองแดง

นายทินกร กาษรสุวรรณ ผลงานชื่อ "เมืองไทยใหญ่อุดม"

นายแทนวุธธา ไทยสันทัด ผลงานชื่อ "Calligraphy F.1"

นายปิยะ เจริญเมือง

ผลงานชื่อ "Landscape No.12 / 2001"

นายปราการ จันทรวิชิต ผลงานชื่อ "Tense Invisible No.2"

ประเภทสื่อประสม

1. เกียรตินิยมอันดับ

1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

2. เกียรตินิยมอันดับ

2 เหรียญเงิน

นายมงคล เกิดวัน ผลงานชื่อ ""สุก" ในจินตนาการ"

3. เกียรตินิยมอันดับ

3 เหรียญทองแดง

นายแดง บัวแสน

ผลงานชื่อ "ตัวฉันและความทรงจำ หมายเลข 3"

นายทิพเนตร์ แย้มมณีชัย ผลงานชื่อ "ประสบการณ์จากชนบท"

นางยุพา มหามาตร

ผลงานชื่อ "คอยแม่...มา"

นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลงานศิลปกรรมของศิลปินรับเชิญเข้าร่วมแสดงในงานครั้งนี้ด้วย อาทิ ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ศาสตราจารย์กำจร สุนพงษ์ศรี รองศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก รองศาสตราจารย์เดชา วราชุน อาจารย์ธงชัย รักปทุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ และนายทวี รัชนีกร

ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมการแสดงผลงานศิลปกรรมดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2544 (เว้นวันจันทร์และอังคาร) เวลา 9.00-16.30ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ โดยไม่เสียค่าเข้าชม

รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม

พศุตม์ กรรณรัตนสูตร Mr.Pasut Kranrattanasuit (อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาให้กับภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล) เกิด

:

30 เมษายน 2514 กรุงเทพฯ ที่อยู่ปัจจุบัน :

1/106 ถนนพระราม 2 แขวงจอมทอง เขตบางมด กรุงเทพฯ 10150 โทร.02-427-4256,

01-906-2856, e-mail : [email protected] การศึกษา :

  • กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 5 ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม

ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ การแสดงผลงาน

  • การแสดงศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 12
  • การแสดงผลงาน "จุลประติมากรรม" ของภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมฯ

มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

  • การแสดงนิทรรศการ "จิตรกรรมทิวทัศน์"
  • การแสดงผลงานนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิล

ปากร วังท่าพระ

  • "Asia-Europe Young Artis's Painting" ประเทศเกาหลีใต้
  • "Bridge of Relationship" Site Spocific Installation เมือง Iwamizawa ประเทศญี่ปุ่น
  • การแสดงผลงานเดี่ยว "บันทึก ความคิด ความฝัน" (Memoirs Idea Dream) ณ บ้าน

บางกอกแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ

  • การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47

เกียรติประวัติ

2543

  • ร่วมโครงการ "The 2000 Iwamizawa International Sculpture Camp" ประเทศญี่ปุ่น
  • ประกาศนียบัตร Asia-Europe Young Aritist' Painting

2544

  • รางวัลชนะเลิศ 2001/2002 Vermont Studio Center Freeman Fellowship U.S.A.
  • รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม

แห่งชาติ ครั้งที่ 47

ทุน

  • ทุนถวัลย์ - ไทยพาณิชย์
  • ทุนวัฒนธรรมญี่ปุ่น

แนวความคิดสร้างสรรค์

การมองเข้าไปสู่ด้านในของตนเอง เป็นเครื่องมือหรือหนทางที่ทำให้เข้าใจโลกที่เป็นจริงภายนอก หรือทำให้โลกภายในเข้ากับโลกภายนอกได้โดยไม่ขัดแย้ง การรู้จักโลกภายในหรือตัวตนที่แท้จริง ทำให้ความปรารถนาที่แท้จริงของตนซึ่งถูกเก็บกดซ่อนเร้นแสดงตัวออกมา และพยายามหยั่งให้ลึกถึงความเร้นลับของมัน

รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์

ขจรพล

เชิญขวัญศรี Mr.Kachornpon Chernkwansri เกิด

:

11 พฤศจิกายน 2517 จังหวัดนครปฐม ที่อยู่

:

44 ถนนราชดำริห์ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทร.034-252-618 การศึกษา :

  • โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
  • วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ลาดกระบัง กรุงเทพฯ
  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

การแสดงผลงาน

2535-2537 - การแสดงผลงานนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิป

2538-2540 - การแสดงผลงานนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

2539

  • การแสดงผลงานจิตรกรรมทิวทัศน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

2540

  • การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 14, 15

2541

  • การแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • การแสดงศิลปกรรม "นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต" ของบริษัท โตชิบา (ประเทศไทย) จำกัด ครั้งที่ 10
  • การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย ครั้งที่ 19

2543

  • การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย ครั้งที่ 21

2544

  • การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47

เกียรติประวัติ

2536

  • รางวัลที่ 2 ประเภทสถาปัตยกรรมไทย วิทยาลัยช่างศิลป
  • รางวัลชมเชย ประเภทจิตรกรรม วิทยาลัยช่างศิลป

2537

  • รางวัลที่ 2 ประเภทภาพพิมพ์ วิทยาลัยช่างศิลป
  • รางวัลที่ 3 ประเภทเครื่องปั้นดินเผา วิทยาลัยช่างศิลป
  • รางวัลชมเชย ประเภทวาดเส้น วิทยาลัยช่างศิลป

2540

  • รับทุนอุดหนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร

2541

  • รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม "นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต" บริษัทโตชิบา (ประเทศไทย) จำกัด

2543

  • รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย

2544

  • ได้รับทุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย-ฝรั่งเศส เพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะระหว่าง

สถาบัน Ecole Nationale Superieure Des Beaux Arts (ENSBA) กับมหาวิทยาลัยศิลปากร

  • รางวัลเกียรตินิยมอันดับที่ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 47

แนวความคิดสร้างสรรค์

แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชุดนี้ มาจากสภาพสังคมของคนพิการที่ดิ้นรนแสวงหา เพื่อดำรงชีวิตในสภาวะปัจจุบัน สังคมที่การเห็นอกเห็นใจกัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันเหลือน้อยเต็มที ข้าพเจ้าต้องการที่จะกระตุ้นจิตสำนึกและเรียกร้องความเข้าใจที่ดีต่อคนพิการ ถ้อยทีถ้อยอาศัยและมีทัศนคติที่ดี มองคนพิการเฉกเช่นเพื่อนมนุษย์ที่ร่างกายปกติทั่วไป ให้เกียรติและสิทธิของเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน--จบ--

-นห-