กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--ททท.
จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับมีผู้สมัครเข้ารับการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ อาชีพ ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดร่วมกับสถาบันอุตมศึกษาแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์กลาง คือใช้เกณฑ์คะแนนตัดสินร้อยละ 80 ซึ่งจะผ่านการสอบ เพราะได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ก็ได้ และผลการ สอบจากผู้สมัครเข้าอบรมทั้งสิ้น 600 คน มีผู้ผ่านการสอบเพียง 30 คน เท่านั้น
เรื่องนี้นายภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงให้ทราบว่า หลังการประกาศผลสอบและเป็นข่าวออกมา ตนในฐานะผู้รับผิดชอบ มิได้นิ่งเฉยแต่อย่างใด ทั้งนี้ ได้มีการชี้แจงให้ผู้กำกับดูแลหน่วยงานในระดับรัฐบาล ได้ทราบข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าได้อย่างไร
นายภราเดช ได้ให้รายละเอียดต่อมาว่า การจัดอบรมมัคคุเทศก์เพื่อ ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์อาชีพ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 นั้น ที่ผ่านมาโดยตลอด สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่างๆ จะร่วมมือ กับ ททท. ในการจัดอบรม โดยใช้หลักสูตรกลางในวิชาชีพมัคคุเทศก์ที่ผ่านการพิจารณา ตามคณะกรรมการหลักสูตร เพื่อให้แต่ละสถาบันใช้หลักสูตรการอบรมไปในแนวทาง เดียวกัน แต่จากการผลิตมัคคุเทศก์อาชีพที่ผ่านมา ได้มีบรรดาผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว สมาคมธุรกิจนำเที่ยว และผู้ประกอบการมาร้องเรียนอยู่ตลอดเวลาว่า มัคคุเทศก์ ที่ผ่าน การอบรมมีประกาศนียบัตรรับรอง และได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพ โดยส่วนใหญ่ ไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งมัคคุเทศก์บางคนที่ผ่านการอบรมดังกล่าวมาแล้ว ไม่สามารถที่จะใช้ภาษาสื่อความหมายกับการท่องเที่ยวได้ ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจ นำเที่ยวประสบปัญหา เนื่องจากบริษัทนำเที่ยวคู่ธุรกิจในต่างประเทศไม่ยอมรับ และยกเลิก สัญญาไปในที่สุด นายภราเดช ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้เป็นความจริง ด้วยการเรียนการสอน วิชาการภาษาอังกฤษ ของสถาบันการศึกษานั้นมิได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และในระยะ หลังมานี้มีสถาบันการศึกษาระดับอุมศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว ระหว่าง 50-60 สถาบัน และก็ขอจัดอบรมกับ ททท. อยู่เป็นประจำ คือได้ทำเรื่องเข้าหารือคณะกรรมการธุรกิจนำ เที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากผู้ประกอบ การในธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งก็ได้ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาด้วยการแต่งตั้งคณะ กรรมการกลางอันประกอบด้วยคณาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ จากสถาบันต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศิลปากร เป็นต้น ทำหน้าที่ใน การออกข้อสอบมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งการอบรมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ข้อสอบ กลางวิชาภาษาอังกฤษ และก็ทำให้มีผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด ร้อยละ 80 เพียง 30 คน ตามที่เป็นข่าว
นายภราเดชยังกล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากหลายเหตุหลาย ประการด้วยกันคือ การใช้ภาษาอังกฤษในวิชามัคคุเทศก์นั้นไม่เหมือนกับการใช้ในวิชาชีพ อื่นๆ ดังนั้นซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในวิชาชีพมัคคุเทศก์ในแนวทางเดียวกัน จากนั้นซึ่งน่าจะใช้การพิจารณาผู้สอบผ่านด้วย คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปเป็นมัคคุเทศก์บัตรทอง ร้อยละ 70-80 บัตรเงิน ส่วนที่ต่ำกว่า เกณฑ์ก็ให้สอบแก้ตัวกันใหม่
สำหรับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนกับผู้ที่เพิ่งผ่านการสอบ ขณะนี้ได้มีการ เจรจาขั้นเบื้องต้นกับคณะกรรมการกลางบ้างแล้ว โดยถ้าเป็นไปได้ก็จะลดเกณฑ์มาตรฐาน ลงมาที่คิดว่าไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของมัคคุเทศก์ และใครที่สอบผ่านเกณฑ์ใหม่ก็จะ พิจารณาออกบัตรอนุญาตให้
นายภราเดช ได้กล่าวในท้ายสุดว่า ภายในเร็วๆ นี้ ททท. จะจัดเวทีสัมมนา โดยเชิญคณะกรรมการกลาง ผู้สมัครสอบทั้งหมด 600 คน รวมถึงองค์กรในภาครัฐและ เอกชนมาจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงแก้ไขในการผลิตมัคคุเทศก์อาชีพ ของไทยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สากลยอมรับ--จบ--
-สส-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit