นักวิทยาศาสตร์มอนซานโต้ได้รางวัลโนเบลสาขาเคมีศาสตร์ ปี 2001

13 Nov 2001

กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--มอนซาโต้ ไทยแลนด์

สภาวิทยาศาสตร์แห่งอาณาจักรสวีเดน ได้ตัดสินให้ผลงานการพัฒนาการสังเคราะห์แบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสองทางได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีศาสตร์ ปี 2001 โดยเป็นการครองรางวัลร่วมกันระหว่าง "ผลงานปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบ Hydrogenation โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในไครอล" โดย ดร.วิลเลียม เอส โนล์ส และดร.เรียวจิ โนโยริ จากญี่ปุ่น และ "ผลงานปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบ Oxidation โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในไครอล" โดย ดร.เค แบร์รี่ ชาร์ป เลส จากสหรัฐอเมริกา

การเร่งปฏิกิริยาแบบภาพสะท้อน (Mirror Image Catalysis)

โมเลกุลหลายชนิดมีส่วนประกอบเป็น 2 ส่วนซึ่งจะสะท้อนลักษณะซึ่งกันและกัน ในลักษณะเช่นเดียวกับมือของคนเรา โมเลกุลดังกล่าวเรียกว่า "ไครอล" ตามธรรมชาติแล้ว ส่วนโมเลกุลหนึ่งในสองส่วนดังกล่าวจะแสดงบทบาทเด่นกว่าเสมอ ดังนั้นในเซลล์ของมนุษย์เราจะมีเพียงส่วนประกอบเดียวของไครอลเท่านั้นที่เข้ากันได้ ขณะที่บางครั้งส่วนประกอบอีกส่วนที่เหลืออาจเป็นอันตรายต่อคน ผลิตภัณฑ์จำพวกเวชภัณฑ์มักมีส่วนประกอบของโมเลกุลไครอล ดังนั้นความแตกต่างกันของส่วนประกอบทั้งสองนั้นมีความสำคัญต่อการอยู่หรือตายของคนได้การแยกผลิตส่วนประกอบ 2 รูปแบบ ของไครอล จึงถือเป็นเรื่องสำคัญมากถึงขั้นคอขาดบาดตายได้

ในปีนี้ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีศาสตร์ได้พัฒนาโมเลกุลซึ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่สำคัญๆ ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตส่วนประกอบของโมเลกุลได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น โมเลกุลเร่งปฏิกิริยา ซึ่งก็เป็นโมเลกุลไครอลนั้น ช่วยให้ปฏิกิริยาตอบสนองเกิดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้คนไข้กินยาเสียก่อน โมเลกุลเร่งปฏิกิริยาเพียงหนึ่งตัวสามารถสร้างโมเลกุลในรูปแบบของส่วนโมเลกุลที่เราต้องการได้หลายล้านตัว

ดร.วิลเลียม เอส โนลส์ อดีจนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทมอนซานโต้ได้ค้นพบวิธีใช้โลหะตัวนำสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาไครอล เพื่อให้โมเลกุลสร้างปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบที่เรียกว่า Hydrogenation ซึ่งจะทำให้ได้ลักษณะของโมเลกุลที่เราต้องการในผลผลิตขั้นสุดท้าย งานวิจัยของเขานำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตตัวยา L-DOPA ซึ่งนำไปใช้รักษาโรคพาร์คินสันได้ ต่อมา ดร.เรียวจิ โนโยริ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อจนสามารถพัฒนากระบวนการ Hydrogenation ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ส่วนดร.เค แบร์รี่ ชาร์ปเลสนั้นได้รับรางวัลจากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาในไครอลเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่สำคัญอีกรูปแบบที่เรียกว่า Oxidation

นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลทั้งสามคนได้ริเริ่มการวิจัยในสาขาที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า การวิจัยในสาขานี้จะช่วยให้เราสามารถสังเคราะห์โมเลกุลและสารที่มีลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ทุกวันนี้ผลจากการวิจัยของพวกเขาได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับการสังเคราะห์ตัวยาในอุตสาหกรรมผลิตเวชภัณฑ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ และยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น--จบ--

-นห-