กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--สพช.
เอกชน 49 ราย สนใจร่วมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และกลุ่มพลังงาน เตรียมยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุน 15 ตุลาคมนี้
ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(สพช.) กล่าวว่า สพช. ได้รับอนุมัติจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน สนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากอัตราการรับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่เกิน 0.36 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 ปี ในวงเงิน 2,060 ล้านบาท เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ได้อีกประมาณ 300 เมกะวัตต์
หลังจากที่ สพช. ได้ออกประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจลงทุนและผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบหรือใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง มีผู้สนใจซื้อข้อเสนอโครงการ 49 ราย แบ่งได้ 5 ภาคอุตสาหกรรม ดังนี้
1. กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร 8 ราย ได้แก่
1.บริษัท พีอาร์จี พืชผล จำกัด
2. บริษัท อุตสาหกรรมมิตรเกษตร จำกัด
3. บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด
4. บริษัท ที พี เค สตาร์ช จำกัด
5. บริษัทเกรนแอนด์ฟิต จำกัด
6. บริษัท ที.เอช.เอช.ฮาเบอร์ จำกัด
7. บริษัทอีสท์เวสท์เกรน จำกัด
8. บริษัท ที เอช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
2. กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ 6 ราย ได้แก่
1. บริษัทไทยเพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด
2. บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท เอ.เอ พัลฟ์ มิลล์ 2 จำกัด
4. บริษัท 304 เซอร์วิส จำกัด
5. บริษัท ไทยเพาเวอร์ เจนเนอร์เรติ้ง จำกัด
6. บริษัท ฟินิคซ พัลฟ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน)
3. กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล 12 ราย ได้แก่
1. บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
2. บริษัท น้ำตาลกาฬสินธุ์ จำกัด
3. บริษัท อุตสาหกรรมอ่างเวียน จำกัด
4. บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด
5. บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลกาญจนบุรี จำกัด
6. บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด
7. บริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จำกัด
8. บริษัท เอ็น.วาย.ชูการ์ จำกัด
9. บริษัท น้ำตาลสิงห์บุรี จำกัด
10. บริษัท เจ เอฟ วัง จำกัด
11. บริษัท น้ำตาลนครเพชร จำกัด
12. บริษัท น้ำตาลไทยกาญจนบุรี จำกัด
4.กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2 ราย ได้แก่
1. บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
5. กลุ่มพลังงาน 13 ราย ได้แก่
1. บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด
2. บริษัท พลังงานทดแทน จำกัด
3. บริษัท ปราจีนเพาเวอร์ จำกัด
4. บริษัท ไฟฟ้าชนบท จำกัด
5. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
6. บริษัท กัลฟ์อิเล็คทริก จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
8. บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด
9. บริษัท เอฟ ยู เอฟ พาวเวอร์ เว็นเจอร์ จำกัด
10. บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด
11. บริษัท เอ.ที. ไบโอพาวเวอร์ จำกัด
12. บริษัท ไทยพลังงานชีวภาพ จำกัด
13. บริษัท พลาสม่าเทค(ประเทศไทย)จำกัด
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก 8 ราย ได้แก่ 1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ 2.Bronze Oak Limited 3.บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด 4.บริษัท เกตุวานิช อุตสาหกรรม จำกัด 5.บริษัท ซินย่า จูเนียร์ เดเวลอปเมนท์ จำกัด 6.บริษัท พิจิตรพล จำกัด 7.Mc Koown Development (Thailand) Co., Ltd. 8.บริษัท รวิชัยวัฒนา จำกัด
ดร.ปิยสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า "สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจะมี คณะทำงานที่ประกอบด้วย สพช. กฟผ. กฟภ. และผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ท่าน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้เหมาะสมที่จะได้รับการสนับสนุน โดยผู้ที่ได้ซื้อข้อเสนอโครงการไปแล้ว สามารถยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนได้ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2544 ระหว่างเวลา 13.00-16.30 น. ที่กองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สพช. ซึ่งจะทราบผลการพิจารณาคัดเลือกประมาณเดือนมีนาคม 2545"
ศูนย์ประชาสัมพันธ์รวมพลังหาร 2 โทรศัพท์ 0 2612 1555 ต่อ 201-5 โทรสาร 0 2612 1368 121/1-2 ถ.เพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 www.nepo.go.th-- จบ--
-อน-