การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โค้กคัพ ครั้งที่ 11

19 Jul 2001

กรุงเทพฯ--19 ก.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มารส์เตลเลอร์

ข้อมูลเบื้องต้นการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โค้กคัพ ครั้งที่ 11

ประวัติและความเป็นมาของโค้กคัพ

กลุ่มธุรกิจโคคา- โคลา ในประเทศไทย คือ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับกรมพลศึกษาได้ริเริ่มจัดการแข่งขันฟุตบอล "โค้ก โก ฟอร์ โกล" ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2522 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการฝึกอบรมโค้ชฟุตบอลให้กับโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และโค้ชฟุตบอลสังกัดวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2525 ได้ขยายการแข่งขันไปสู่ส่วนภูมิภาค และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โค้กคัพ ครั้งที่ 1"

โค้ก ได้สนับสนุนการพัฒนาและการแข่งขันฟุตบอลในไทยทุกระดับตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ฟุตบอลระดับพื้นฐานในท้องถิ่นจนถึงฟุตบอลระดับโลก หรือจาก "โค้กคัพ" จนถึง "โค้ก ซูเปอร์คัพ" ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างทีมลิเวอร์พูลและทีมชาติไทย นอกจากนี้ โค้กยังได้สร้างความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับเยาวชน โดยนำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมกีฬาในรูปของการจัดรายการแข่งขันต่างๆ เพื่อให้ผู้เล่นได้พัฒนาทักษะให้เชี่ยวชาญและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

โค้กคัพ มุ่งสร้างดาวรุ่งไม่ใช่มุ่งซื้อตัว

"โค้กคัพ" เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดรายการหนึ่งของโค้กเท่าที่เคยมีมา โดยเป็นสนามฝึกลับฝีเท้าของนักเตะ ชั้นนำของไทยหลายคน รวมถึงนักเตะดาวดวงเด่นของทีมชาติไทย อาทิ โชคทวี พรหมรัตน์ ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล นิเวศน์ ศิริวงศ์ ธงชัย สุขโกกี ธงชัย อัครพงศ์ เทอดศักดิ์ ใจมาน ทั้งนี้ โค้กได้สนับสนุนแนวคิดที่มุ่งปั้นนักเตะดาวรุ่งดวงใหม่ให้กับวงการฟุตบอลไทยไม่ใช่มุ่งซื้อตัวอย่างต่อเนื่อง

ปี 2544 นับเป็นปีทองของวงการฟุตบอลไทย โดยโค้กได้สนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับนานาชาติ จาก "โค้กคัพ" ไปสู่ "โค้ก ซูเปอร์คัพ" โค้กมีความภูมิใจที่ได้ยกระดับวงการลูกหนังไทยสู่มาตรฐานสากล โดยได้เป็นผู้สนับสนุนหลักการแข่งขันฟุตบอลนัดประวัติศาสตร์ โค้ก ซูเปอร์คัพ ระหว่างทีมสโมสรลิเวอร์พูล ปะทะทีมชาติไทย ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้

เพื่อเชื่อมโยงโค้กคัพเข้ากับโค้ก ซูเปอร์คัพ โค้กได้พัฒนาวงการลูกหนังไทยไปอีกขั้น โดยทุ่มงบกว่า 20 ล้านบาท เพื่อนำความเร้าใจและทักษะการเล่นฟุตบอลของสโมสรลิเวอร์พูลมาสู่สนามโค้กคัพ ทั้งนี้ ขุนพลหงส์แดง จะร่วมสาธิตเทคนิคการเล่นฟุตบอลอย่างมืออาชีพให้กับเยาวชนจำนวน 100 คน จากการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโค้กคัพ การแข่งขันฟุตบอลชุมชน โค้ก ซอคเกอ์สตาร์ และสมาชิกของชมรมลิเวอร์พูล ไทยแลนด์ แฟนคลับ ในโครงการ "โค้ก ลิเวอร์พูล" ซึ่งจะดำเนินการฝึกอบรมโดยโค้ชต้นแบบ A Licence และ B Licence นอกจากนี้ ผู้เล่นยอดเยี่ยมในโค้กคัพทัวร์นาเม้นท์ 2001-2001 จะได้เดินทางไปสัมผัสสนามแอนฟิลด์ ที่เมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ

โค้กสนับสนุนโครงการฟุตบอลหลากหลายรายการ

โค้ก ได้จัดโครงการฝึกอบรมโค้ชฟุตบอลไทยหลายโครงการ อาทิ โครงการ FIFA/Coca-Cola Football Academy (FUTORO) และการฝึกอบรมโค้ช Coca-Cola C-Licence เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้ฝึกสอนฟุตบอลไทย อีกทั้งยังสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนหลายรายการ ได้แก่ ฟุตบอลเยาวชนไทยอายุไม่เกิน 16 ปี การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนแห่งเอเชียอายุไม่เกิน 18 ปี ยูนิเวอร์ซิตี้ ลีก และ "โครงการฟุตบอล 5 คน โค้ก ซอคเกอร์สตาร์" ในชุมชน 32 แห่งทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสร้างทักษะการเล่นฟุตบอลในหมู่เยาวชนระหว่างชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และส่งเสริมให้เยาวชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและสมบูรณ์ นอกจากนี้ โค้ก ได้ให้การสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลก มากว่า 70 ปี ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลระดับพื้นฐานไปจนถึงการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งเป็นฟุตบอลนัดยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โค้กคัพ ครั้งที่ 11

ชื่อการแข่งขัน

การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย

โค้กคัพ ครั้งที่ 11

ผู้ดำเนินโครงการ

กรมพลศึกษา

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา คือ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด

กำหนดการแข่งขัน

กรกฎาคม 2544 จนถึง มกราคม 2545

ระบบการแข่งขัน

ระบบลีก เหย้า-เยือน แบบแพ้คัดออก

ผู้เข้าแข่งขัน

เยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี

ทีมที่เข้าแข่งขัน

ทีมเยาวชน 128 ทีมทั่วประเทศ

กลุ่มที่เข้าแข่งขัน

กลุ่มที่ 1

เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน แพร่ พะเยา น่าน ลำปาง

กลุ่มที่ 2

พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์

ตาก

กลุ่มที่ 3

อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย สกลนคร ขอนแก่น นครพนม

กาฬสินธุ์

กลุ่มที่ 4

อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม มุกดาหาร

ศรีสะเกษ โรงเรียนกีฬาอุบลราชธานี

กลุ่มที่ 5

สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ นครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี

สระแก้ว

กลุ่มที่ 6

ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี

โรงเรียนกีฬาสุพรรณบุรี

กลุ่มที่ 7

สมุทรปราการ ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

เมืองพัทยา

กลุ่มที่ 8

นนทบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม กาญจบุรี

ประจวบคีรีขันธ์

กลุ่มที่ 9-14 ทีมโรงเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลนักเรียนของกรมพลศึกษา ปี 2543

และปี 2544 และทีมโรงเรียนที่สมัครเข้าแข่งขันในเขตกรุงเทพมหานคร

จำนวน 48 ทีม

กลุ่มที่ 15 ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา

กลุ่มที่ 16 ยะลา นราธิวาส สตูล ปัตตานี พัทลุง ตรัง เทศบาลนครหาดใหญ่

โรงเรียนกีฬานครศรีธรรมราช--จบ--

-นห-