ASIANET: ผลศึกษาชี้การใช้เครื่องสูดนิโคตินช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ต่อเนื่อง

07 Aug 2000

ผลการศึกษาฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษฉบับประจำวันที่ 5 ส.ค. ได้บ่งชี้ว่า การใช้เครื่องสูดสารนิโคตินอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างปลอดภัยสามารถลดการสูบบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 เดือนในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะเลิกการสูบบุหรี่โดยสิ้นเชิง โดยผลการศึกษาสรุปว่า การลดการสูบบุหรี่อาจจะเป็นขั้นตอนแรกที่เป็นไปได้ไปสู่การเลิกสูบบุหรี่ในผู้ที่ไม่เต็มใจหรือไม่สามารถหยุดการสูบบุหรี่ในทันที

ผลการศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้รวมผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ 400 คน พบว่า 26 % ของผู้สูบบุหรี่ที่ใช้เครื่องสูดสารนิโคตินที่ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะหยุดการสูบบุหรี่ สามารถลดการสูบบุหรี่ในแต่ละวันได้อย่างน้อย 50 % หลังจาก 4 เดือน ซึ่งตรงกันข้ามกับ 9 % ของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่ใช้เครื่องสูดที่บรรจุสารนิโคตินเทียมที่มีผลเพียงในทางจิตวิทยา โดยในช่วงเวลา 2 ปี กลุ่มผู้ที่ใช้เครื่องสูดสารนิโคตินสามารถลดการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องลง 9.5 % และกลุ่มที่ใช้สารนิโคตินเทียมสามารถลดการสูบบุหรี่ลง 3 %

บุหรี่เป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ที่สามารถป้องกันได้มากที่สุด โดยทำให้มีผู้เสียชีวิต 3.5 ล้านคนในแต่ละปี หรือ 1 รายในทุกๆ 9 วินาที โดยภายในปี 2020 คาดว่ายอดผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวกับบุหรี่ในแต่ละปี จะสูงกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์, อุบัติเหตุทางรถยนต์, ฆาตกรรม, อัตวินิบาตกรรม, ยาเสพติดผิดกฎหมาย และแอลกอฮอล์รวมกัน ซึ่งในจำนวนผู้สูบบุหรี่ 1.1 พันล้านคนในโลก ประมาณ 70 % กล่าวว่าพวกเขาต้องการเลิกบุหรี่

การศึกษาจะทำการตรวจสอบว่า การลดการสูบบุหรี่ในระยะยาวจะสามารถทำได้หรือไม่ผ่านทางการใช้เครื่องสูดสารนิโคติน และการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนสารนิโคติน (NRT) ควบคู่กันไปกับการสูบบุหรี่จะมีความปลอดภัยหรือไม่ โดยการศึกษาดังกล่าวได้รับผู้สูบบุหรี่ที่มีสุขภาพดีที่ไม่เต็มใจหรือไม่สามารถหยุดการสูบบุหรี่ แต่สนใจที่จะลดการสูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยได้รวมถึงผู้ใหญ่ 400 คนที่มีอายุ 18 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งสูบบุหรี่ 15 มวนหรือมากกว่านั้นต่อวันเป็นเวลา 3 ปีหรือมากกว่านั้น และมีระดับคาร์บอน มอนนอกไซด์ 10 ส่วนต่อล้านพีพีเอ็มหรือมากกว่านั้น โดยผู้ป่วยได้ประสบความล้มเหลวในความพยายามอย่างจริงจังอย่างน้อย 1 ครั้งที่จะหยุดการสูบบุหรี่ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา แต่ต้องการที่จะลดการสูบบุหรี่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยการใช้เครื่องสูดนิโคติน และได้มีการเสนอให้มีการลดราคา 50 % ในขั้นต้นแก่ผู้ร่วมการศึกษา โดยไม่มีการรวมผู้ที่ปัจจุบันใช้วิธี NRT, แผนการหยุด/การลดการสูบบุหรี่ทางพฤติกรรมหรือทางเภสัชกรรมใดๆ หรือผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่นๆไว้ในการศึกษานี้ด้วย

ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า การลดการสูบบุหรี่ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้เครื่องสูดสารนิโคติน อาจจะประสบความสำเร็จหรือคงอยู่ได้ โดยจากสัปดาห์ที่ 6 เป็นต้นไปอัตราการประสบความสำเร็จมีสูงขึ้นอย่างมากสำหรับกลุ่มที่ใช้เครื่องสูดสารนิโคตินเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้สารนิโคตินเทียมเพื่อผลทางจิตวิทยา โดยใน 4 เดือนอัตราอยู่ที่ระดับ 26 % ต่อ 9 %, ในช่วง 12 เดือนอัตราอยู่ที่ระดับ 13 % ต่อ 4 % และในช่วง 24 เดือนอัตราอยู่ระดับ 9.5 % ต่อ 3 % โดยพบว่ามีการลดลงในปริมาณคาร์บอน มอนนอกไซด์ในกลุ่มผู้ใช้เครื่องสูดสารนิโคตินทุกวันในทั้ง 2 กลุ่ม

ผลการศึกษาดังกล่าวได้ร่วมเขียนโดยนางแซนดรา แวน บิลจอน, RN และนายแอนเดอร์ พี เพอร์รูชาวด์, MD แผนกระบบการหายใจ ฝ่ายการแพทย์ภายใน, ยูนิเวอร์ซิตี้ ฮอสปิตอล, บาเซล, สวิตเซอร์แลนด์, นายฌอง-ปิแอร์ เซลล์เวเกอร์, MD และนายแอนนิก โรบิดู, RN, ยูนิเวอร์ซิตี้ เมดิคอล โพลีคลินิก, CHUV, โลซานน์, สวิตเซอร์แลนด์ และโดยนายโตเบียส ดานีลส์สัน, BSc, Ake Westin, MSc และนายเออร์เบนซอว์, MD, PhD, บริษัทฟาร์มาเซีย คอร์ปอเรชัน, เฮลซิงบอร์ก, สวีเดน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากฝ่ายสุขภาพผู้บริโภคของบริษัทฟาร์มาเซีย คอร์ปอเรชัน

แหล่งข่าว : ฟาร์มาเซีย คอร์ปอเรชัน

ติดต่อ : แมรี-ฟรานซ์ ฟาราจี จากบริษัทฟาร์มาเซีย, 908-306-8361 หรือ [email protected] หรือนายคิม ไดมอนด์ จากเอเดลแมน เฮลธ์แคร์, 212-704-4535 หรือ [email protected]/ --จบ--


--แปลและเรียบเรียงโดย--สจ/กก--