FRA: ปรส.ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมูลค่าการจำหน่ายสินทรัพย์ของ ปรส.

28 Jan 2000

กรุงเทพ--28 ม.ค.--ปรส.

ตามที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ลงวันที่ 22-25 มกราคม 2543 ได้เสนอข่าว เกี่ยวกับมูลค่าการขายสินทรัพย์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และการได้รับชำระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งหนังสือ พิมพ์แต่ละฉบับนำเสนอตัวเลขที่แตกต่างกัน เช่น นสพ.มติชนรายวันเสนอว่า "ปรส.ขาย สินทรัพย์ได้เพียง 14% ต่ำกว่าที่ประมาณการว่าจะขายได้ 42%" นสพ.ฐานเศรษฐกิจ เสนอว่า "ทางการประมาณการว่าจะขายสินทรัพย์ของ ปรส.ได้ 42% แต่ขายได้จริง เพียง 12%" นสพ.เดลินิวส์เสนอว่า "จากการประมูลขายสินทรัพย์ของ 56 ไฟแนนซ์ โดย ปรส.นั้น คาดว่าจะได้รับการชำระหนี้เพียงประมาณ 10% จากสินทรัพย์ทั้งหมดกว่า 8 แสนล้านบาท" นสพ.กรุงเทพธุรกิจเสนอว่า "กรณี 56 ไฟแนนซ์ที่ ปรส. ได้จำหน่าย ทรัพย์สินได้ประมาณ 14% จากเดิมที่คาดว่าจะได้ถึง 42%"

ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของมูลค่าการขายสินทรัพย์ และสัดส่วนการ ชำระหนี้ดังกล่าวข้างต้นนั้น อาจสร้างความสับสนให้กับผู้ที่ติดตามข่าวสารโดยทั่วไปได้

ปรส.จึงขอให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนี้

1. มูลค่าการจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง จนถึงปัจจุบัน ได้จำหน่ายไปแล้ว เป็นมูลค่าทางบัญชีประมาณ 670,000 ล้านบาท มูลค่าที่ได้ประมาณ 186,545 ล้านบาท คิดเป็น 27.84% ของมูลค่าทางบัญชี และหากรวมเงินที่ได้จากการ ติดตามหนี้แล้วจะเป็นมูลค่าประมาณ 260,545 ล้านบาท คิดเป็น 35.39% ของมูลค่า ทางบัญชี 736,135 ล้านบาท

2. ณ วันที่ 21 มกราคม 2543 สถาบันการเงิน 56 แห่ง มีสินทรัพย์สภาพ คล่อง (เงินฝาก เงินลงทุนระยะสั้น รวมถึงตั๋วสัญญาใช้เงินที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงินใช้ชำระค่าประมูลซื้อสินทรัพย์)ซึ่งเป็นมูลค่ารวมจากการจำหน่ายสินทรัพย์ และการติดตามหนี้ที่ ปรส.ได้ดำเนินการมาโดยตลอด รวมทั้งสิ้น 249,219 ล้านบาท

3. หากนำตัวเลข 249,219 ล้านบาท มาใช้ในการจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ ตามสัดส่วน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ประมาณ 776,400 ล้าน บาท คิดเป็นประมาณ 84% ของยอดหนี้ทั้งหมด ดังนั้น กองทุนเพื่อ-การฟื้นฟูฯ จะได้รับ เงินประมาณ 209,344 ล้านบาท หรือประมาณ 27% ของหนี้ที่ขอรับชำระ

4. สินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่ยังเหลืออยู่เนื่องจากเป็น สินเชื่อที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างการติดตามบังคับชำระหนี้และสินทรัพย์ รองบางส่วน รวมประมาณ 115,000 ล้านบาท เมื่อได้จัดการส่วนนี้แล้วจะมีผลตอบแทน กลับมาสู่เจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง อีกจำนวนหนึ่ง นอกเหนือจากเงินที่ได้จาก โครงการแบ่งปันผลกำไร (Profit Sharing) ที่ทยอยรับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ผลการประมูลขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง

มูลค่าทางบัญชี

มูลค่าที่ได้

Recovery

(ล้านบาท)

(ล้านบาท)

Ratio (%)

สินทรัพย์หลัก

600,243.70

152,171.53

25.35 สินทรัพย์รอง (ธ.ค.42)

69,757.12

34,373.05

49.28 รวมผลจากการประมูลขาย

670,000.82

186,544.58

27.84 สินทรัพย์ในส่วนที่มี

66,134.08

74,000.68

111.89 การติดตามหนี้

(ได้รับดอกเบี้ย

จำนวนหนึ่ง) รวมสินทรัพย์ที่จัดการแล้ว

736,134.90

260,545.26

35.39 สินทรัพย์ที่เหลือ

114,865.10

-

  • รวมสินทรัพย์ทั้งสิ้น

851,000

-

-

ประมาณการจำนวนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะได้รับชำระหนี้

จำนวนเงิน

หมายเหตุ

(ล้านบาท)

(1) ยอดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ขอรับชำระ

776,400

อยู่ระหว่างการตรวจ

สอบรายละเอียด

(2) สินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทเงินทุน

249,219

เป็นเงินฝาก เงินลง

56 แห่ง ณ วันที่ 21 มกราคม 2543

ลงทุนระยะสั้นรวมถึง

P/N ของ บบส.

(3) สัดส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะได้รับ

209,344

คาดว่า ยอดที่ได้จริง

ชำระ [(2) x 84%]

จะสูงกว่านี้เนื่องจาก

จะมีเงิน จากการ

จำหน่ายสินทรัพย์ ที่

เหลือ,จาก profit

sharing และจาก

การรวบรวมทรัพย์สิน

เพิ่มเติมของเจ้าพนัก

งานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้น

ล้มละลาย เข้ามาอีก

จำนวนหนึ่ง

(1)-(3) จำนวนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

567,056

อาจได้รับน้อยกว่ายอดที่ขอชำระ

--จบ--