กรุงเทพ--27 ม.ค.--ปรส.
ตามที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ลงวันที่ 22-25 มกราคม 2543 ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับมูลค่าการขายสินทรัพย์ขององค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และการได้รับชำระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งหนังสือ พิมพ์แต่ละฉบับนำเสนอตัวเลขที่แตกต่างกัน เช่น นสพ.มติชนรายวันเสนอว่า "ปรส.ขายสินทรัพย์ได้เพียง 14% ต่ำกว่าที่ประมาณการ ว่าจะขายได้ 42%" นสพ.ฐานเศรษฐกิจเสนอว่า "ทางการประมาณการว่าจะขายสินทรัพย์ของ ปรส.ได้ 42% แต่ขายได้จริงเพียง 12%" นสพ.เดลินิวส์เสนอว่า "จากการประมูลขายสินทรัพย์ของ 56 ไฟแนนซ์ โดย ปรส.นั้น คาดว่าจะได้รับการชำระหนี้เพียงประมาณ 10% จากสินทรัพย์ทั้งหมดกว่า 8 แสนล้านบาท" นสพ.กรุงเทพธุรกิจเสนอว่า "กรณี 56 ไฟแนนซ์ที่ ปรส. ได้จำหน่ายทรัพย์สินได้ประมาณ 14% จากเดิมที่คาดว่าจะได้ถึง 42%"
ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของมูลค่าการขายสินทรัพย์ และสัดส่วนการชำระหนี้ดังกล่าวข้างต้นนั้น อาจสร้างความสับสน ให้กับผู้ที่ติดตามข่าวสารโดยทั่วไปได้ ปรส.จึงขอให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนี้
1. มูลค่าการจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง จนถึงปัจจุบันได้จำหน่ายไปแล้ว เป็นมูลค่าทางบัญชีประมาณ 670,000 ล้านบาท มูลค่าที่ได้ประมาณ 186,545 ล้านบาท คิดเป็น 27.84% ของมูลค่าทางบัญชี และหากรวมเงินที่ได้จากการติดตาม หนี้แล้วจะเป็นมูลค่าประมาณ 260,545 ล้านบาท คิดเป็น 35.39% ของมูลค่าทางบัญชี 736,135 ล้านบาท
2. ณ วันที่ 21 มกราคม 2543 สถาบันการเงิน 56 แห่ง มีสินทรัพย์สภาพคล่อง (เงินฝาก เงินลงทุนระยะสั้น รวมถึง ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินใช้ชำระค่าประมูลซื้อสินทรัพย์)ซึ่งเป็นมูลค่ารวมจากการจำหน่ายสินทรัพย์ และการ ติดตามหนี้ที่ ปรส.ได้ดำเนินการมาโดยตลอด รวมทั้งสิ้น 249,219 ล้านบาท
3. หากนำตัวเลข 249,219 ล้านบาท มาใช้ในการจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ตามสัดส่วน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ยื่นคำ ขอรับชำระหนี้ประมาณ 776,400 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 84% ของยอดหนี้ทั้งหมด ดังนั้น กองทุนเพื่อ-การฟื้นฟูฯ จะได้รับเงินประมาณ 209,344 ล้านบาท หรือประมาณ 27% ของหนี้ที่ขอรับชำระ
4. สินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง ที่ยังเหลืออยู่เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่าง การติดตามบังคับชำระหนี้และสินทรัพย์รองบางส่วน รวมประมาณ 115,000 ล้านบาท เมื่อได้จัดการส่วนนี้แล้วจะมีผลตอบแทนกลับมาสู่ เจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง อีกจำนวนหนึ่ง นอกเหนือจากเงินที่ได้จากโครงการแบ่งปันผลกำไร (Profit Sharing) ที่ทยอยรับ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ผลการประมูลขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง
มูลค่าทางบัญชี
มูลค่าที่ได้
Recovery
(ล้านบาท)
(ล้านบาท)
Ratio (%)
สินทรัพย์หลัก
600,243.70
152,171.53
25.35 สินทรัพย์รอง (ธ.ค.42)
69,757.12
34,373.05
49.28 รวมผลจากการประมูลขาย
670,000.82
186,544.58
27.84 สินทรัพย์ในส่วนที่มี
66,134.08
74,000.68
111.89 การติดตามหนี้
(ได้รับดอกเบี้ยจำนวนหนึ่ง) รวมสินทรัพย์ที่จัดการแล้ว
736,134.90
260,545.26
35.39 สินทรัพย์ที่เหลือ
114,865.10
-
851,000
-
-
ประมาณการจำนวนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะได้รับชำระหนี้
จำนวนเงิน
หมายเหตุ
(ล้านบาท)
(1) ยอดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ขอรับชำระ
776,400
อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียด
(2) สินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทเงินทุน
249,219
เป็นเงินฝาก เงินลงลงทุนระยะสั้น รวมถึง
56 แห่ง ณ วันที่ 21 มกราคม 2543
P/N ของ บบส.
(3) สัดส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะได้รับ
209,344
คาดว่า ยอดที่ได้จริงจะสูงกว่านี้เนื่องจากจะมีเงิน
ชำระ [(2) x 84%]
จากการจำหน่ายสินทรัพย์ที่เหลทอ, จาก Profit
sharing และจากการรวบรวมทรัพย์สินเพิ่มเติมของ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นล้มละลาย เข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง
(1)-(3) จำนวนเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
567,056
อาจได้รับน้อยกว่ายอดที่ขอชำระ
--จบ--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit