ระบบคอมพิวเตอร์อังค์ถัดเครื่องร้อน 'ซีดีจีเอ็ม' นำทัพมือหนึ่งรองรับงานระดับชาติ

09 Feb 2000

กรุงเทพ--9 ก.พ.--ซีดีจีเฮ้าส์

ซีดีจีเฮ้าส์ - ระบบคอมพิวเตอร์อังค์ถัดครั้งที่ 10 พร้อมเดินหน้า 'ซีดีจีเอ็ม'อาศัยประสบการณ์ พร้อมระดมทัพวิศวกรมือหนึ่ง ลุยติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานหลัก (System Infrastructure) มูลค่าราว 10 ล้านบาท ให้กับการประชุมขององค์การสหประชาชาติครั้งนี้ เตรียมเปิดทดสอบระบบโดยรวม 9 ก.พ.นี้ มั่นใจแผนงาน และรูปแบบการบริการที่เตรียมทั้งวิศวกรคอมพิวเตอร์ไว้สนับสนุนประสานงานในวันจัดประชุม รวมถึงอุปกรณ์สำรองชุดใหม่สามารถรองรับระบบคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประชุมได้เกิน 100%

นายเอกราช ปัญจวีณิน ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท ซีดีจี ไมโครซิสเต็มส์ จำกัด (ซีดีจีเอ็ม) ผู้แทนจำหน่ายหลัก คอมแพค ฮิวเล็ตต-แพคการ์ด ไมโครซอฟท์ อินเทล เน็ตเวอร์ค และ3คอม หนึ่งในเครือกลุ่มบริษัทซีดีจีเปิดเผยถึงโครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ UNCTAD X ว่า การจัดประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้า และการพัฒนา หรืออังค์ถัด(UNCTAD X) ครั้งที่ 10 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเป็นการจัดครั้งแรกในประเทศไทยนั้น บริษัทซีดีจี ไมโครซิสเต็มส์ จำกัด ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมเครือข่ายแลน เพื่อใช้ในการประชุมตลอดระยะเวลา 8 วัน ซึ่งขณะนี้ความพร้อมของทีมงานที่จะให้การบริการสนับสนุน รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวถือว่าเกิน 100%

"งานที่มีความสำคัญระดับนี้ ซีดีจีเอ็มได้ตั้งทีมงานพิเศษขึ้นมา โดยได้ระดมวิศวกรคอมพิวเตอร์มือหนึ่งของบริษัทที่ได้รับการ Certified จากบริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำอย่างเช่น ไมโครซอฟท์, คอมแพค, เอชพี เป็นต้น กว่าสิบคนมาทำงานให้กับโครงการนี้โดยเฉพาะ เรียกว่าเราทุ่มเทเต็มที่ เพราะถือได้ว่า ความเสถียรภาพของระบบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในงานนี้" นายเอกราชกล่าว

สำหรับการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ UNCTAD X มีมูลค่าโครงการประมาณ 10 ล้านบาทโดยโครงสร้างพื้นฐานหลัก (System Infrastructure) ประกอบด้วย 4 ส่วนดังนี้คือ

1. Cabling System คือ การเดินสายสัญญาณ เพื่อเชื่อมต่อโซนต่างๆ เข้าด้วยกันในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมดจะมี 7 โซนด้วยกันรวมถึงวีไอพีโซนที่ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ และบุคคลสำคัญที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ซึ่งการเชื่อมต่อดังกล่าวจะเป็นการทำใหม่ทั้งหมด โดยบางส่วนจะเป็นการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ ออฟติค (Fiber Optic) เพื่อรองรับข้อมูลที่ต้องใช้ความเร็วสูง

2. Network Equipment ได้มีการใช้สวิทชิ่งแบบ chasis เพื่อใช้เป็นหลักในการเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูงทั้งสิ้น

3. เครื่องแม่ข่าย หรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ทางบริษัทได้ทำเครื่องแม่ข่ายเพื่อใช้ในการทำ Mail Server, File and Print Server, Fax Server, รวมถึงแอพพลิเคชั่นพิเศษ อาทิ การทำ Broadcast บนอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นการถ่ายทอดสดการประชุมในครั้งนี้ด้วย และ

4. เครื่องพีซี และอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ในการประชุมครั้งนี้ ใช้เครื่องพีซีทั้งหมดกว่า 130 เครื่อง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่น พรินเตอร์, ยูพีเอส เป็นต้น โดยทางบริษัทจะเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดตาม Configuration ที่ได้รับจากทางยูเอ็น ทั้งนี้เพื่อรองรับการใช้งานของผู้แทนจากประเทศต่างๆกว่า 190 ประเทศ

"ซีดีจีเอ็มได้เข้าไปช่วยติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานหลัก ให้สามารถทำงานเป็นเครือข่ายต่อเชื่อมที่สมบูรณ์แบบในเวลาที่ค่อนข้างกระชับ โดยที่โครงการ UNCTAD X จัดเป็นการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมดจากที่ไม่เคยมีใช้มาก่อนภายในศูนย์ประชุมสิริกิติ์ เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เป็นเครื่องใหม่, สายเคเบิล, เซิร์ฟเวอร์ทุกอย่างใหม่หมด" นาย เอกราชกล่าว

โครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ UNCTAD X ได้ประกาศผลการตัดสินในสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนมกราคม 2543 ซึ่งระยะเวลาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะมีเวลาเตรียมงานน้อยมาก แต่เนื่องจากทางบริษัทค่อนข้างจะมีทีมงาน รวมถึงประสบการณ์ในการทำโครงการใหญ่ๆ ประกอบกับทางซีดีจีเอ็ม เน้นการวางโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ทำให้งานติดตั้งจนถึงวันนี้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

"ความซับซ้อนของงานครั้งนี้ จะอยู่ที่ความหลากหลายของระบบ ซึ่งจะมีหลายระบบย่อยอยู่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานหลัก และระบบบางส่วนทางยูเอ็นจะเป็นผู้ที่มาทำการติดตั้งและดูแลเอง โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ทางด้านไอทีเข้ามาทำการติดตั้ง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา แต่จะใช้ฮาร์ดแวร์ที่ซีดีจีเอ็มเป็นผู้ติดตั้งให้ ดังนั้นการทำงานจึงต้องมีการประสานงานกับทางยูเอ็นที่กรุงเจนีวา ตลอดจนการประสานงานเจ้าหน้าที่ยูเอ็น ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดและตรงกับความต้องการซึ่งวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมงานครั้งนี้นอกจากจะต้องสามารถสื่อสารให้เข้าใจได้แล้ว ยังต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์"นายเอกราชกล่าว

นายเอกราชกล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นความยากจะอยู่ที่ข้อจำกัดทางด้านเวลาที่ใช้ในการติดตั้ง เนื่องจากพื้นที่ภายในศูนย์ประชุมสิริกิติ์จะถูกใช้จัดงานเกือบจะทุกวัน จึงทำให้การติดตั้งถูกกำหนดตามตารางเวลาของศูนย์ประชุมเอง และยังเป็นเวลาที่ไม่ตรงกันทุกวัน ดังนั้นการวางแผนงานจึงต้องทำด้วยความละเอียดและรอบคอบอย่างสูง โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ซีดีจีเอ็มจะทำการทดสอบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากทยอยทดสอบในแต่ละส่วนไปแล้วเมื่อติดตั้งเสร็จ

ทั้งนี้ ภายในวันจัดการประชุม ซีดีจีเอ็มได้เตรียมวิศวกรคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการสนับสนุน (On-site Stand by Engineer) ระบบคอมพิวเตอร์ทุกวัน วันละ 5-6 คนที่ศูนย์ MIS Center นอกจากนั้นยังได้จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี พรินเตอร์ สายเคเบิลชุดใหม่ไว้สำรอง (Spare Part) อย่างเพียงพอในศูนย์ MIS Center กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใดส่วนหนึ่ง ซีดีจีเอ็มจะทำการเปลี่ยนใหม่ให้โดยทันทีรวมการทำรายงาน (Report) เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการชุมอย่างละเอียดชัดเจนส่งให้กับทางยูเอ็นทุกวัน

"จากความพร้อมในแง่ของบริษัททีมวิศวกรคอมพิวเตอร์แผนงานที่เราจัดเตรียมไว้ละเอียด การวิเคราะห์แผนงานอย่างชัดเจน รวมถึง Site Reference หรือตัวอย่างรายชื่อลูกค้าทีเราได้เคยติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะเช่นนี้มาแล้วหลายโครงการ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ทางยูเอ็นและกระทรวงการต่างประเทศมั่นใจในตัวบริษัทว่าจะสามารถให้การสนับสนุนตัวแทนระดับชาติจากประเทศต่างๆ ได้นั้น เรามีความพร้อมและมั่นใจเต็มที่" นายเอกราชกล่าวย้ำ

บริษัท ซีดีจี ไมโครซิสเต็มส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์คอมแพค, โตชิบา, และฮิวเล็ตต-แพคการ์ด นอกจากนี้ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นบริษัทคู่ค้าของไมโครซอฟท์ภายใต้ชื่อ ไมโครซอฟท์ เซอร์ติฟายด์ โซลูชั่นโพรไวเดอร์ รวมถึงได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ชื่อ อินเทล โซลูชั่น พาร์ตเนอร์

สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ชุติมา สินเชาว์ทอง ฝ่ายประชาสัมพันธ์กลุ่มบริษัทซีดีจี โทร.678-0200 ต่อ 2997-8 E-mail:[email protected] จบ--