(ต่อ) SET9: ตลท.รับหน่วยลงทุน สลิป/แคป ตัวแรกเข้าตลาดเริ่ม 3 กันยายนนี้

02 Sep 1999

สรุปข้อสนเทศ

โครงการกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้นบุริมสิทธิ-หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (TDBCAP)

ของ บมจ. ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ

The Preferred Shares - Subordinated Debentures of

DBS Thai Danu Bank Plc. Fund

บริษัทจัดการผู้ออกหน่วยลงทุน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ทหารไทย จำกัด

ชั้น 28 อาคารอับดุลราฮิมเพลส เลขที่ 990 ถนน

พระรามที่ 4 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

โทรศัพท์ : 636-1818 โทรสาร : 636-1820

วันที่รับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

วันที่ 3 กันยายน 2542

วันที่เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์

วันที่ 3 กันยายน 2542

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน

หน่วยลงทุนจำนวน 666,700,000 หน่วย

มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ10 บาท

รวมมูลค่า 6,667,000,000 บาท

ลักษณะโครงการ

เป็นกองทุนรวม เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการ

เงินที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.

ที่ กน. 16/2541 ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน

แต่สามารถลดทุนได้ ตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุน

ของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละราย

อายุโครงการ

ไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของกองทุน

วัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุน โครงการจะระดมเงินจากนักลงทุนสถาบัน เพื่อนำ

เงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ของบมจ.ธนาคาร

ดีบีเอส ไทยทนุ (ธนาคาร)

นายทะเบียน

ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)

ผู้สอบบัญชี

นางอุณากร พฤษฒิธาดา

บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส

จำกัด หรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้อง

ห้ามตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

รอบระยะเวลาบัญชี

กำหนดให้วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ้นสุด

รอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน

นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผล ให้แก่ผู้ถือ

หน่วยลงทุน เมื่อกองทุนได้รับเงินปันผลจากหุ้นบุริม

สิทธิ และ/หรือ ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ครั้งที่ 1

และ/หรือ ได้รับชำระหนี้จากการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อย

สิทธิครั้งที่ 2/1 ถึง ครั้งที่ 2/28 และกองทุนมีผล

กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน

ข้อจำกัดในการโอน

ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นไป

ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่กน.16/2541

ผู้ลงทุนสถาบัน 17 ประเภท

ตามประกาศของ

คณะกรรมการ ก.ล.ต.

ผู้ลงทุนสถาบัน 17 ประเภท ตามประกาศของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 13/2539 ประกอบด้วย

1) ธนาคารพาณิชย์ 2) บริษัทเงินทุน 3) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือ

เพื่อการจัดการโครงการจัดการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ

เงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5) บริษัทประกันภัย 6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคล ตามข้อ 9 7) ธนาคารแห่งประเทศไทย

8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ

9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 11) กองทุนบำเหน็จบำนาญ 12) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 13) กองทุนรวม 14) นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์รวมตามงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว สำหรับระยะเวลา

ล่าสุดตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป 15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคลตามข้อ 1 ถึงข้อ 14 ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 75

ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 16) ผู้ลงทุนซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และนำเงินลงทุนมาจากต่างประเทศ โดยมีผู้

ดูแลหรือจัดการลงทุนให้ 17) ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนตามข้อ 1 ถึงข้อ 16 ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ ตามที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์

ได้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นในมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้การคำนวณมูลค่าของ

หลักทรัพย์ดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายเป็นเกณฑ์

การออกตราสารหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

ของ ธนาคารพาณิชย์ไทย

สถาบัน

ตราสาร

มูลค่า (ล้านบาท)

1. ธนาคารกสิกรไทย

  • หุ้นบุริมสิทธิ + หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (SLIPS)

20,000

  • หุ้นกู้ด้อยสิทธิระยะยาว

20,000 2. ธนาคารกรุงเทพ

  • หุ้นบุริมสิทธิ + หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (CAPs)

34,500

  • หุ้นกู้ด้อยสิทธิประเภทไม่มีดอกเบี้ย

11,500 3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา - หุ้นบุริมสิทธิ + หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (SLIPs)

13,000

  • หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

13,000 4. ธนาคารไทยทนุ

  • หุ้นบุริมสิทธิ + หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ไถ่ถอนได้

6,667

  • หุ้นบุริมสิทธิ + หุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพ

1,500 5. ธนาคารทหารไทย

  • หุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

9,960

  • หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

3,320

รวมทั้งหมด

133,447 --จบ--