กรุงเทพ--9 ก.ค.--บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม จำกัด (มหาชน)
ดร.เจษฎา โลหอุ่นจิตร กรรมการจัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม จำกัด (มหาชน) ให้ทัศนะเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันว่า เครื่องชี้ทาง เศรษฐกิจต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวม น่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้วใน ไตรมาสที่หนึ่งหรือสองของปีนี้ และจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยมีการใช้จ่ายของ รัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้นมากเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ในขณะที่การบริโภคของภาคเอกชน ก็เริ่มกระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกยังไม่มีสัญญาณของการเพิ่มขึ้นที่ชัดเจน และภาวะการลงทุนจะยังคงซบเซาต่อไปอีกระยะหนึ่ง ส่วนระดับราคาสินค้านั้นคาด ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
จากการที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงในปี 2541 ส่งผลให้เกิดปัญหา การว่างงานอย่างกว้างขวาง ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ และยังคงลดการใช้จ่ายในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 สังเกตได้จากการที่ยอดขาย ของห้างสรรพสินค้า และยอดการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดร.เจษฎากล่าวว่า อัตราการว่างงานคงไม่เพิ่มขึ้นมากจากที่เป็นอยู่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบกับมาตรการเร่งการใช้จ่าย ของรัฐบาลที่มาจากเงินกู้ภายใต้โครงการมิยาซาวาและเงินกู้จากธนาคารโลกมูลค่า รวมทั้งสิ้น 53,000 ล้านบาท การปรับลดภาษีต่างๆ ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยที่มีระดับ ต่ำมาก จะช่วยกระตุ้นให้การบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยบริษัทฯ คาด การณ์ว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.2 ในปี 2542
เนื่องจากภาคอุตสาหกรรม ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกิน อยู่เป็นจำนวน มาก ประกอบกับสถาบันการเงินยังคงปล่อยสินเชื่อในปริมาณต่ำ ทำให้การลงทุนภาค เอกชนยังคงลดลงแม้ทางการจะใช้มาตรการอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการลงทุน ในระบบเศรษฐกิจก็ตาม อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์การลงทุนในภาครัฐบาล จะกระเตื้องขึ้นบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี อันเนื่องมาจากเงินกู้ภายใต้โครงการมิยา ซาวา และเงินกู้จากธนาคารโลกดังกล่าวข้างต้น แต่โดยรวมแล้ว การลงทุนทั้งของ ภาครัฐบาลและเอกชนในปี 2542 จะยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า แต่ในอัตรา ที่น้อยลง กล่าวคือลดลงประมาณร้อยละ 5.3 จากปี 2541 ในขณะที่ปี 2541 ลดลง ถึงร้อยละ 40.7 จากปี 2540
ยิ่งไปกว่านั้น การส่งออกสินค้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในอดีตยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน แม้ว่าการส่งออกจะกระเตื้องขึ้น บ้างในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่การส่งออกสินค้าในรูปเงินบาท ในช่วง 5 เดือน แรกของปีนี้ลดลงถึงร้อยละ 15.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจาก ค่าเงินบาทค่อนข้างแข็งในช่วงต้นปี ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่ง ออกสินค้าที่สำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มอาเซียนชะลอตัวลง แม้ การส่งออกที่เป็นบริการ
โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มที่ แจ่มใสอยู่เพราะชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น อันเป็นผลจากค่าเงินบาท ที่อ่อนตัวลงหลังจากที่ประเทศไทยหันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแต่เนื่องจาก การส่งออกของภาคบริการยังมีสัดส่วนไม่มาก ดังนั้น คาดว่าการส่งออกสินค้าและ บริการโดยรวมในรูปเงินบาทจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา
ในทางตรงกันข้าม การนำเข้าสินค้า คาดว่าจะขยายตัวอย่างมากตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าการนำเข้าสินค้าและบริการในรูปเงินบาทตลอด ทั้งปี 2542 จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10.6 การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในขณะที่การส่ง ออกทรงตัว จะยังผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2542 เกินดุลน้อยลง อย่างไรก็ตาม คาดว่า ฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศยังไม่น่าเป็นปัญหา ดังเห็นได้จากการที่ทุน สำรอง ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2452 มีจำนวนสูงถึง 31.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยส่วนที่เป็นภาระผูกพันในตลาดฟอร์เวิร์ดเท่ากับ 3.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
ในภาคการเงินนั้น แม้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝาก และเงินกู้จะมี ระดับต่ำ และสถาบันการเงินมีสภาพคล่องสูงมาก แต่ธนาคารยังคงจำกัดการปล่อย สินเชื่อ เพราะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังมีระดับสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่า มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน เช่น การ ประนอมหนี้ การเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน การออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ฯลฯ จะเริ่มบรรลุผล และช่วยให้ระบบธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่งช่วย กระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ แนวโน้มการลดลงของอัตรา ดอกเบี้ยในประเทศจากระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คาดว่าจะมีจำกัด เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการไหลออกของเงินทุนภาคเอกชน ที่มีจำนวนสูงถึง 213.7 พันล้านบาท ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2542 เทียบกับ จำนวน 652.9 พันล้านบาทตลอดทั้งปี 2541 แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ดุลการชำระเงิน ของประเทศในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2542 ยังคงเกินดุลเป็นจำนวน 30.7 พัน ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 128.0 พันล้านบาทและการ กู้ยืมเงินสุทธิภาครัฐบาลจำนวน 52.8 พันล้านบาทในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
ดร. เจษฎา กล่าวสรุปในท้ายที่สุดว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วง ครึ่งหลังของปีจะมีลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งคาดว่ายังไม่แรงพอที่จะทำให้การ ขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นบวกได้ในปีนี้ ยังคงมีปัญหาหลายประการที่รอการแก้ไข อย่างจริงจังเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ อาทิ ปัญหาหนี้เสียของระบบ สถาบันการเงิน การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินตามเกณฑ์ใหม่ที่ทางการกำหนด ฯลฯ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมฯ คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศหรือ GDP ของปี 2542 ทั้งปีจะยังคงลดลงจากปีก่อน แต่เป็นอัตราลดเพียง เล็กน้อยคือประมาณร้อยละ 0.6 เท่านั้น เทียบกับอัตราลดลงถึงกว่าร้อยละ 8 ในปี 2541 ดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 10.6 ของ GDP เทียบกับ ร้อยละ 12.3 ในปี 2541 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปีคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงจาก ปีก่อน หรืออีกนัยหนึ่งอัตราเงินเฟ้อปี 2542 จะเท่ากับศูนย์ เทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.1 ในปี 2541 ทางด้านดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) คาด ว่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 450-600 จุดในช่วงครึ่งหลังของปี โดยปิดที่ระดับประมาณ 550-600 จุด ณ สิ้นปี 2542
การคาดคะเนอัตราการขยายตัวของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญโดยบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม จำกัด (มหาชน)
หน่วย: ร้อยละ
2540
2541
2542f การบริโภคภาคเอกชน
0.2
-14.0
3.2 การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐบาล
-16.1
-40.7
-5.3 การใช้จ่ายภาครัฐบาล
5.9
2.0
21.4 การส่งออกสินค้าและบริการ(ในรูปเงินบาท)
25.5
19.7
0.0 การนำเข้าสินค้าและบริการ(ในรูปเงินบาท)
5.1
-9.9
10.6 ดัชนีราคาผู้บริโภค
5.6
8.1
0.0 ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP)
-0.4
-8.0
-0.6 สัดส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP
-2.0
12.3
10.6 --จบ--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit