กรุงเทพ--14 ก.ค.--กรมสารนิเทศ
ตามที่มีรายงานข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้ตรวจพบเชื้อ Vancomycin Resistance Enterococci (VRE) ในไก่แช่เข็งที่นำเข้าจากประเทศไทย ฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ โดยคาดว่าอาจจะเกิดจากการไช้สาร Avoparcin นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานไปยังกองสัตวแทพย์สาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ขอเรียนชี้แจงดังนั้
1. แม้ว่าประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2539 ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ปี พ.ศ. 2525 จะอนุญาตให้ใช้สาร Avoparcin ซึ่งเป็นปฎิชีวนะผสมในอาหารสัตรว์ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตโดยทำให้สัตว์ปีกไม่มีอาการท้องเสีย แต่ปัจจุบันผู้เลี้ยงไก่ของไทยก็ไม่ได้ใช้สารดังกล่าวในการเลี้ยงไก่ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ กำลังจะออกประกาศใหม่ห้ามใช้สารชนิดนี้ผสมในอาหารสัตว์
2. กรมปศุสัตว์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบว่า อุตสาหกรรมไก่ของไทยไม่ได้ใช้สาร Avoparcin และกรมปศุสัตว์ได้ทำการตรวจสอบเชื้อแบคทเรีย Enterococci ในเนื้อไก่แช่แข็งเพื่อส่งออกเป็นประจำให้อยู่ในปริมาณที่กำหนด ซึ่งขณะนี้มีอัตราส่วนที่ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์จะทำการเฝ้าระวังเพื่อตรวจสอบเชื้อ VRE และสำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ผ่านความร้อนนั้น แม้ความร้อนจะฆ่าแบคทีเรีย Enterococci แต่ก็มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกทั้งหมดก่อนที่จะออกใบรับรองคุณภาพให้
3. ต่อมา ฝ่ายญี่ปุ่นแจ้งว่า อาจจะเป็นสารตัวอื่นที่มีโครงสร้างเดียวกัน เช่น Picopulni Oriengimin หรือตัวยาในกลุ่มชื่ออื่นที่ฝ่ายไทยใช้และส่งผลให้เกิดการตรวจพบเชื้อ VRE อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังคงอนุญาตให้นำเข้าไก่จากไทยได้ แต่จะสุ่มตัวอย่างตรวจสอบต่อไป
4. กระทรวงเกษตรฯ ได้ประสานไปยังอัครราชทูตที่ปรึกษาการเกษตรและอัครราชทูตที่ปรึกษาพาณิชย์ ณ กรุงโตเกียว ให้ติดต่อประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไปแล้ว--จบ--
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit