รพ.นพรัตน์ฯ อำนวยความสะดวกผู้ประกันตน

24 Feb 1998

กรุงเทพ--24 ก.พ.--กระทรวงสาธารณสุข

โรงพยาบาลนพรัตน์ฯสามารถขยายสถานพยาบาลเครือข่ายจากปี 2536 จำนวน 28 แห่ง เป็น 48 แห่ง ในปี 2541เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับความสะดวกในการรับบริการด้านรักษาพยาบาลและพัฒนาให้มีคุณภาพประสิทธิภาพจนได้รับรางวัลสถานพยาบาลพัฒนางานประกันสังคมดีเด่นอันดับ 1ของกระทรวงแรงงานฯ ในปี 2539

นายคำรณ ณ ลำพูน ให้สัมภาษณ์หลังการตรวจเยี่ยมและเปิดตึก I.C.U รพ.นพรัตน์ เมื่อเช้าวันนี้ ว่า รพ.นพรัตน์เป็นโรงพยาบาลขนาด 650 เตียงปัจจุบันเปิดบริการแล้ว 510 เตียง มีพื้นที่ 59 ไร่ 99 ตารางวา ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2520ให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่ ปี 2525 เจ้าหน้าที่ 1,800 คน มีผู้มารับบริการวันละ 1,300-1,500 คนมีเขตพื้นที่บริการในความรับผิดชอบได้แก่ พื้นที่เขตมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก ประเวศคันนายาว คลองสามวา บึงกุ่ม บางกะปิ และลาดพร้าวบางส่วน เนื่องจากโรงพยาบาลนพรัตน์ฯตั้งอยู่ในเขตชานเมืองด้านตะวันออก ใกล้นิคมอุสาหกรรมบางชัน และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังจึงต้องให้บริการแก่พนักงานในสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรม โดยการจัดตั้งศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ เพื่อดูแลสุขภาพของพนักงานในสถานประกอบการศูนย์ประกันสังคมซึ่งทำหน้าที่ประสานงานในการดูแลสุขภาพของผู้ประกันตน โรงพยาบาลนพรัตน์ฯเป็นสถานพยาบาลหลัก (Main Contractor) ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาการทำงานระยะแรกประสบปัญหาคือความไม่พอใจของผู้ประกันตนที่มารับบริการ เนื่องจากต้องเสียเวลาเดินทาง เสียเวลารอพบแพทย์เพราะมีผู้มาใช้บริการมาก ในปี 2536 รพ.นพรัตน์ฯ จึงแก้ปัญหาโดยการสร้างเครือข่าย (SubContractor) เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับบริการที่สะดวกใกล้ที่ทำงานหรือที่พัก ลดค่าใช้จ่ายลงจากการดำเนินงานดังกล่าวสร้างความพึงพอใจที่ผู้ประกันตนที่จะไปใช้บริการระยะแรกมีสถานพยาบาลในเครือข่าย 28 แห่ง ปี 2541 มี 48 แห่ง ผู้ใช้บริการ 265 คน/ วันจากสถิติจำนวนผู้ประกันตนในทะเบียนเฉลี่ยทั้งปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2537-2539 จำนวน 74,629 ,87,225 , 82,042 ราย

นายคำรณ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการพัฒนางานประกันสังคมรพ.นพรัตน์ฯ ได้จัดในรูปของคณะกรรมการ ตั้งแต่ปี 2534 โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นประธานมีหัวหน้ากลุ่มงานและหัวหน้าฝ่ายเป็นกรรมการ หน้าที่กำหนดนโยบายการดำเนินงานประกันสังคมกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่สถานพยาบาลเครือข่ายตลอดจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการจัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับผู้ประกันตนประสานงานกับสถานพยาบาลที่สังกัดของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมทั้งเขต กทม. อีก 7 แห่งเพื่อให้บริการผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจัดตั้งคลินิกประกันสังคมนอกเวลาราชการตั้งแต่เวลา 16.00 - 20.00 น.ในวันราชการและตั้งแต่เวลา 08.00 - 12.00 น. ในวันหยุดราชการจัดตั้งคลินิกทันตกรรมทั้งในและนอกเวลาราชการ จัดเตียงสำรองไว้ 48 เตียง ลดค่าห้องพิเศษให้ร้อยละ 50

นายคำรณ กล่าวในตอนท้ายว่าในการพัฒนางานบริการผู้ปวยประกันสังคมอย่างต่อเนื่องทำให้โรงพยาบาลนพรัตน์ฯได้รับเกียรติบัตรชมเชย การพัฒนางานประกันสังคม จากกระทรวงแรงงานฯเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 และในวันที่ 23 กันยายน 2539 ได้รับรางวัลสถานพยาบาลพัฒนางานประกันสังคมดีเด่นอันดับ 1 ประเภทสถานพยาบาลภาครัฐที่มีสมาชิก ผู้ประกันตน 20,000 คนขึ้นไป ทิศทางของการพัฒนาฯ มุ่งไปที่การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการของสถานพยาบาลทุกระดับในเครือข่ายรวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกันตนมีพลานามัยที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์สูงสุด--จบ--