ไมโครแคปซูลของวัคซีนป้องกันบาดทะยักออกฤทธิ์นาน ลดจำนวนครั้งของการฉีด

25 Aug 1997

กรุงเทพ--25 ส.ค--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรคบาดทะยัก (tetanus) เป็นโรคร้ายแรงที่มีอันตรายถึงตายได้ และเป็นปัญหาสำหรับประ เทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิดเนื่องจากการติดเชื้อ บาดทะยักในขั้นตอนการตัดสายสะดือ

โรคนี้เกิดจากสารพิษหรือท็อกซิน (toxin) ที่เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani สร้างขึ้น พิษที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดและระบบประสาท จำทำให้เกิดอาการกระ วนกระวาย ปวดศรีษะ กล้ามเนื้อที่คางและคอหดเกร็งและเจ็บ ขากรรไกรแข็ง กลืนอาหารลำบากเกร็ง และกล้ามเนื้อชักกระตุก หายใจขัด และตายในที่สุด

ในปัจจุบันโรคบาดทะยักสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดเตตานัสทอกซอยด์

(Tetanus toxoid) ซึ่งเตรียมจากการนำสารพิษหรือท็อกซินมาทำให้หมดพิษด้วยสารบางชนิด จากนั้นนำไปทำให้บริ สุทธิ์ เมื่อฉีดเข้าในร่างกาย ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคบาดทะยักได้ สำหรับการฉีด ป้องกันปฐมภูมิ (Primary Immunization) จะต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง เข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ ครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร แต่ละครั้งห่างกัน 4-6 สัปดาห์ แต่ไม่ควรห่างกันนานเกิน 6 เดือน

เนื่องจากแผนการฉีดป้องกันปฐมภูมิดังกล่าวนี้จะต้องฉีดครบ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นการไม่สะดวกสำ หรับผู้มารับการฉีด จนเกิดปัญหาการไม่ได้รับการฉัดครบจำนวนทำให้ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันได้เต็มที่

รองศาสตราจารย์ ดร.อุบลทิพย์ นิมมานนิตย์ และรองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนพิมล ฤทธิ เดช จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความสนใจในการแก้ปัญหานี้โดยศึกษาวิจัย และพัฒนาวัคซีนเตตานัสท็อกซอยด์เพื่อให้อยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น เพื่อให้สามารถลดจำนวนการฉีด เหลือเพียงครั้งเดียวได้

การวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิคไมโครเอนแคปซูลชัน (Microencapsulation) ซึ่งเป็นกระบวน การเตรียมตัวยาวัคซีน หรือสารอื่น ๆ ที่ต้องการให้ถูกห่อหุ้มหรือเคลือบเป็นฟิล์มบาง ๆ ด้วยสารโพลี เมอร์ (Polymer) ได้จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์เกิดเป็นอนุภาคขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า ไม โครแคปซูล (Microcapsules) ผนังที่หุ้มนี้จะทำหน้าที่ห่อหุ้มกักเก็บตัวยาไว้ภายใน และควบคุม การปลดปล่อยตัวยาออกมาในปริมาณที่สามารถควบคุมและกำหนดได้จากลักษณะชนิดและความหนาของผนัง โพลีเมอร์ รวมทั้งควบคุมการปลดปล่อยได้จากขนาดของไมโครแคปซูลที่เตรียมขึ้นมา ขนาดของไมโคร แคปซูลจะมีตั้งแต่ 5-500 ไม่ครอนหรือไมโครเมตร (คือขนาดเล็กมากตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจนถึง ขนาดตาพองมองเห็นได้คือ 0.5 มิลลิเมตร)

โพลีเมอร์ที่ถูกเลือกใช้ในการเตรียมเป็นผนังไมโครแคปซูล คือเลซิทินบริสุทธิ์จากไข่แดง (Egg yolk lecithin) และคาร์บอกซีเมทิลไคติน (Carboxymethylchitin) ซึ่งเป็นสารเตรียม จากธรรมชาติ เทคนิคที่ใช้เตรียมคือ วิธีอินเตอร์เฟเชียลเดโพซิชัน (Interfacial deposition) โดยวิธีนี้เมื่อใช้สภาวะการเตรียมที่เหมาะสม สารโพลีเมอร์ทั้งสองจะทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นผนังที่แข็ง แรงหุ้มรอบเตตานัสท็อกซอยด์ไว้เกิดไมโครแคปซูลขึ้น

ไมโครแคปซูลที่ได้เมื่อนำไปคัดขนาดโดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยงด้วยความเร็วต่าง ๆ กัน พบว่า ไมโครแคปซูลที่มีขนาดเฉลี่ย 3.77 ไมครอน เมื่อนำไปผสมกับเตตานัสท็อกซอยด์ (รูปธรรมดาที่ไม่ใช่ไม โครแคปซูล) ในอัตราส่วน 1:1 เมื่อนำไปทดสอบในหนูถีบจักรสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ผลดีที่ สุด คือมีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นสูงตั้งแต่วันที่ 15-180 วัน

จึงเป็นความหวังว่าผลจากการวิจัยนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันโรคบาดทะยัก โดย ไมโครแคปซูลของเตตานัสท็อกซอยด์ ที่ให้ภูมิคุ้มกันได้เร็วและนานถึง 6 เดือนเป็นการลดจำนวนการฉีด วัคซีนจาก 3 ครั้งเหลือเพียงครั้งเดียวได้

ในโอกาสที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับ Science University of Tokyo จะจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านไมโครเอนแคปซูเลชั่น ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2540 นี้ ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพ จึงขอเชิญผู้สนใจ เภสัชกร และนักวิจัย เข้าร่วม การประชุมวิชาการนี้ โดยจะมีนักวิจัยจากประเทศต่าง ๆ กว่า 23 ประเทศเข้าร่วมบรรยายและเสนอ ผลงานวิจัยที่มีคุณค่าโดยการนำเทคนิคไมโครเอนแคปซูเลชันไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง อาหาร เคมีเกษตร ฯลฯ--จบ--