กรุงเทพ--6 ต.ค.--โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง
จากการที่สื่อมวลชนได้คาดการณ์ว่าโครงการทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือเบิร์ทจะถูกทิ้งสิ้นสุด หรือยกเลิกไปนั้น เซอร์กอร์ดอน วู ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด ได้ชี้แจงเกี่ยวกับตำแหน่งของบริษัทฯ ในโครงการดังกล่าวในวันนี้ดังนี้
"บริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) จำกัด หรือโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่มีบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นเจ้าของทั้งหมด ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยโดยมีขอบเขตหน้าที่ที่จำกัด และได้ลงนามในสัญญาสัมปทานเป็นระยะเวลา 30 ปีร่วมกับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้าง ดำเนินงาน และดูแลโครงการเบิร์ท
สัญญาสัมปทานนี้ได้ระบุให้โฮปเวลล์มีทุนจดทะเบียนจำนวนเงิน 6,000 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของเงินลงทุนในระยะแรกทั้งหมดตลอดระยะเวลาสัมปทาน ตามแต่ว่าจำนวนเงินในเงื่อนไขข้อหนึ่งจะมีมูลค่ามากกว่า
เซอร์กอร์ดอน วู กล่าวว่า "อันที่จริงแล้ว ทุนจดทะเบียนของโฮปเวลล์มีมูลค่าเกินกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำดังกล่าวโดยบริษัทฯ มีเงินทุนที่ชำระแล้ว 9,150 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ บริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้งแต่เพียงผู้เดียว
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด นับจนถึงขณะนี้ มีดังต่อไปนี้
ล้านบาท
ล้านเหรียญฮ่องกง
ส่วนของผู้ถือหุ้น
9,150
2,787
เงินกู้จากโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง
5,348
1,571
เงินประกันการทำงาน
500
155
ค่าใช้จ่ายผูกพัน
3,292
800
รวม
18,290
5,313
เซอร์กอร์ดอน วู กล่าวต่อไปอีกว่า "จนถึงขณะนี้ โครงการนี้ยังไม่มีเงินกู้จากธนาคารแต่อย่างใด บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะสามารถจัดหาเงินกู้ดังกล่าวได้ แต่บริษัทโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง มีนโยบายที่จะไม่รับเงินกู้จากธนาคารจนกว่าจะได้รับการอนุมัติในประเด็นที่จำเป็นทั้งหมด และได้รับการยืนยันเกี่ยวกับการเสร็จสิ้นของโครงการหากไม่ได้รับหลักประกันเกี่ยวกับเงื่อนไขดังกล่าวนี้ ธนาคารผู้ให้กู้จะไม่มีความมั่นใจว่าจะได้รับการชำระคืนเงินกู้"
ในสัญญาสัมปทานข้อ 25.1 ระบุว่า "เพื่อให้เกิดความชอบธรรมต่อบริษัทฯ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญและรุนแรง" ในไทย บริษัทฯ อาจขออนุญาตจากกระทรวงคมนาคมเพื่อขอปรับอัตราค่าผ่านทางและ/หรือค่าโดยสารรถไฟชุมชนที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น
เซอร์กอร์ดอน วูกล่าวว่า "ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 บริษัท โฮปเวลล์จึงได้ยื่นข้อเสนอที่จำเป็นในการดำเนินการก่อสร้างโครงการเบิร์ทในสถานการณ์เศรษฐกิจอันตกต่ำของไทยในขณะนี้ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จึงยังรอคอยคำตอบเพื่อเริ่มการเจรจาในประเด็นเหล่านี้"
เขากล่าวว่า "ด้วยความร่วมมืออย่างเต็มที่จากหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และข้อสรุปจากการเจรจาร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายเท่านั้นที่จะทำให้บริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) จำกัดสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการเบิร์ทได้แล้วเสร็จ"
ภายใต้สัญญาสัมปทานข้อ 27.1.1 กระทรวงการคลังและการรถไฟฯ ต้องแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรหากมีความประสงค์จะขอยกเลิกโครงการนี้ และโฮปเวลล์มีเวลาอย่างน้อยที่สุด 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว เพื่อแก้ไขการผิดสัญญา
ในกรณีที่มีข้อพิพาทที่ไม่สามารถหาข้อยุติในระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ว่าคู่สัญญาฝ่ายรัฐมีมูลเหตุในการขอยกเลิกสัญญาสัมปทานนี้หรือไม่
ข้อพิพาทดังกล่าวนี้จะต้องได้รับการพิจารณาโดยกระบวนการอนุญาตโตตุลาการในกรุงเทพฯ ตามกฎและระเบียบว่าด้วยการพิจารณาความโดยกระบวนการอนุญาตโตตุลาการของสำนักงานอนุญาตโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
สัญญาสัมปทานฉบับนี้ยังอนุญาตให้ธนาคารผู้ให้กู้ขอให้คู่สัญญาฝ่ายรัฐอย่าใช้สิทธิในการยกเลิกสัญญา หากผู้ให้กู้ตกลงที่จะดำเนินการแก้ไขการผิดสัญญาของโฮปเวลล์
เซอร์กอน์ดอน วูกล่าวว่า "ในกรณีที่โครงการถูกทิ้ง สิ้นสุด หรือยกเลิก ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ความรับผิดชอบดังกล่าวจะเป็นของบริษัทโฮปเวลล์(ประเทศไทย)
โดยจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง แต่อย่างใด"
เซอร์กอร์เดน วูให้ข้อสังเกตว่า "อย่างไรก็ตาม ผมขอย้ำว่า จนถึงขณะนี้ บริษัทฯยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งเกี่ยวกับโครงการเบิร์ทจากรัฐบาลไทยเลย"
บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศฮ่องกง เป็นผู้พัฒนาและดำเนินการโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่หลายโครงการในเอเซีย
ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการขนส่ง การผลิตกระแสไฟฟ้าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ กรุงเทพฯ - บริษัท แพ็ตเตอร์สัน แอนด์ พาร์ตเนอร์ ประเทศไทย จำกัด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.(662)637-0270-9
เจมี ฮอดจ์สัน โทร.661-662-2483 หรือ 662-391-1454
ฮ่องกง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit