ส.ส.ร.: กลุ่มองค์กรต่างๆ เตรียมหารือในกลุ่มเพื่อประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ

05 Mar 1997

กรุงเทพ--5 มี.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.

คณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของสถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจ และองค์กรเอกชน นำโดย นายลิขิต ธีรเวคิน ประธานคณะกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็นฯ ร่วมกันหารือเพื่อกำหนดทิศทางการรับฟังความคิดเห็น จากกลุ่มองค์ เอกชน โดยได้มีการจัดแบ่งไว้ดังนี้ * ภาคธุรกิจ อาทิ สภาอุตสาหกรรม, สภาหอการค้า, ธนาคารไทย, สมาคมเงิน

ทุนหลักทรัพย์ และวินาศภัย * องค์กรพัฒนาเอกชน อาทิ สมาพันธ์แรงงานฯ 25 องค์กร เพื่อประชาธิปไตย และ

องค์กรนิสิตนักศึกษา * สถาบันการศึกษาและวิชาชีพ อาทิ สมาคมแพทยสภา สมาคมสถาปนิก สถาบัน

ราชภัฎ และวิทยาลัยต่าง ๆ * พรรคการเมือง และวุฒิสภา

โดยนายสมเกียรติ พงศ์ไพบูรณ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ในฐานะอนุกรรมา ธิการฯ เปิดเผยว่าในกลุ่มสมัชชาคนจน ซึ่งมีสมาชิก 221 คน ได้ร่วมกันศึกษาแนว ทางการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านทางโรงเรียนการเมืองของกลุ่มสมัชชา โดยมี ส. ศิวรักษ์ และตัวแทน 25 องค์กรเพื่อประชาธิปไตยเป็นที่ปรึกษาโดยเชื่อว่าพร้อมจะส่ง ความเห็นต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ในสัปดาห์หน้า

ด้านนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่าจะรวบรวม ความเห็นที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาแรงงานทั้ง หมด เช่น สิทธิในการรวมตัวเป็นสหภาพ สิทธิการใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนอก ภูมิลำเนา เพื่อเข้าหารือในคณะอนุกรรมาธิการฯ

ส่วนรศ.ประณต นันทิยกุล ประธานเฉพาะกิจติดตามร่างรัฐธรรมนูญ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและอนุกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่าจะนำความเห็นของคณา จารย์ต่อร่างรัฐธรรมนูญ เสวนาร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ และระหว่างสถาบัน อุดมศึกษา จะเปิดประชุมระดับอธิการบดีและประธานคณาจารย์จากทั้งประเทศ เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยจะมุ่งเน้นที่ประเด็น สิทธิ หน้าที่ และการมีส่วนร่วม ของพลเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งสถาบันการเมืองและความสัม พันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

ขณะที่นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ยืน ยันว่า จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและวุฒิสมาชิกด้วย เนื่องจากเป็น กลุ่มที่ต้องลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้จะต้องกำหนดรูปแบบ การแสดง ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญ ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้--จบ--