สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคมไตรมาส 4 พ.ศ.โรคซึมเศร้า565 พบว่าโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายจากปัญหาสุขภาพจิต มีอัตราเพิ่มขึ้น และจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในปี พ.ศ. โรคซึมเศร้า563 มีอยู่ 355,537 ราย และในปี พ.ศ. โรคซึมเศร้า564 เพิ่มเป็น 358,โรคซึมเศร้า67 ราย รวมถึงอัตราการฆ่าตัวตายในปี พ.ศ. โรคซึมเศร้า564 อยู่ที่ 7.38 รายต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ช่วงปีพ.ศ. โรคซึมเศร้า547 - โรคซึมเศร้า563 ที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 5 - 6 รายต่อประชากรแสนคน โดยพบว่ากลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ กลุ่มอายุ กรมสุขภาพจิต5 - 34 ปี เป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น โดยมีปัจจัยหลัก คือ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ในสถานที่ทำงาน หรือในโรงเรียน รวมทั้งภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง การใช้สุราและสารเสพติด และภาวะเครียดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
สถานการณ์ภาวะสุขภาพจิตในภาคเหนือ มีอัตราฆ่าตัวตายและสำเร็จ 15.31 รายต่อแสนประชากร ซึ่งสูงสุดเป็น อันดับ 1 ของประเทศ และสถิติผู้พยายามฆ่าตัวตายมากถึง 1,816 ราย โดยร้อยละ 50 เป็นกลุ่มวัยเรียนมีช่วงอายุ 10 - 24 ปี ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จำนวน 214 ราย จังหวัดเชียงใหม่ 198 ราย จังหวัดลำปาง จำนวน 138 ราย และจังหวัดพะเยา จำนวน 132 ราย (ที่มา: ข้อมูล รง 506S ปีงบประมาณ 2565) ในส่วนของมหาวิทยาลัยพะเยาพบรายงานการเข้ารับบริการศูนย์ให้คำปรึกษานิสิต ผลสำรวจจากการมารับบริการในปี 2563 - 2566 เรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ปัญหาซึมเศร้า ปัญหาการเรียน และปัญหาครอบครัวมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี นิสิตที่สังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์ส่วนหนึ่งได้เข้ารับบริการเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ หน่วยคุณภาพนิสิตและกิจการนิสิตของคณะสาธารณสุขศาสตร์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว พร้อมหาแนวทางการแก้ไขป้องกัน คณะสาธารณสุขศาสตร์จึงประเมินปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของนิสิต ในหลาย ๆ มิติ ประกอบด้วย มิติภาวะความเครียด (ST-5) มิติด้านภาวะเสี่ยงซึมเศร้า (9Q) และภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย (8Q) และคณะผู้บริหารได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต จึงได้มีนโยบายและมีการดำเนินการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ แบบมีส่วนร่วม ซึ่งมุ่งเน้นเติมพลังวัคซีนใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในทุกมิติ ได้แก่ วัคซีนใจนิสิต วัคซีนใจบุคลากร และวัคซีนใจผู้ปกครอง เช่น กิจกรรม Strong Together (เสริมพลังใจนิสิตใหม่) กิจกรรม "งานสร้างสุข สู่องค์กรสร้างสรรค์" กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "แกนนำวัคซีนใจ สร้างภูมิคุ้มกันสุขภาวะ" รุ่นที่ 1 เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และการดูแลผู้ใกล้ชิดได้อย่างถูกต้อง
จาการดำเนินงานในหลาย ๆ มิติ หน่วยคุณภาพนิสิตและกิจการนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ต้องการ ที่จะทำงานเชิงรุกเพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มนิสิตและขยายผลรวมถึงบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา จึงทำให้เกิดแนวคิดแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ในรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ ที่ชื่อว่า "PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน" และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชัน จึงมีแนวคิดพัฒนาให้สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุมในระบบ IOS และ Android
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ดำเนินลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) การดูแลจิตใจ สร้างเครือข่ายด้านสุขภาพจิต ระหว่าง โรงพยาบาลสวนปรุง และศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 เชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา นิสิต ในการดูแลด้านสุขภาพจิต ทักษะการจัดกิจกรรม และทักษะชีวิตที่จำเป็น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยในเชิงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านความรอบรู้ และส่งเสริมการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ต่อไป
ในโอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิตและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง ว่าที่ร้อยโทโฆษิต กัลยา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 เชียงใหม่ และคณะผู้บริหาร บุคลากร และนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตของนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยพะเยา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีม SEhRT ผลัด 2 ปฏิบัติภารกิจด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข (Thailand EMT) ผลัด 2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมาย นายแพทย์อุดม อัศวุตมางกุร สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 4 พร้อมด้วย นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สุทัศน์ โชตนพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายภิญญาพัชญ์ จุลสุข
ไปรษณีย์ไทย ร่วมกรมอนามัย เปิดโซลูชันส่งน้ำนมแม่ด้วยบริการส่งด่วน EMS ฟรี เชื่อมโยงสายใจจากแม่สู่ลูก - หนุนกลุ่มเด็กแรกเกิดได้ดื่มนมแม่
—
บริษัท ไปรษณีย์ไ...
'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...
กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
สธ. แนะ 4 วิธี 'ปลอดโรค ปลอดภัย สุขอนามัยดี' เตรียมพร้อมก่อนเที่ยวสงกรานต์
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์...
เฮอร์บาไลฟ์ ประเทศไทย ส่งเสริมสุขภาพคนไทย ร่วมกิจกรรมงานเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ FDA Running 2025
—
เฮอร์บาไลฟ์ ประเทศไทย เข้าร่วมกิจกรรม FDA Running 2025 งา...
กรมอนามัย ชี้ญาติผู้สูญหายในอาคารถล่มกำลังใจดี มีสุขภาพแข็งแรง ย้ำสภาพแวดล้อมโดยรอบยังปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
—
อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผ...
'เดชอิศม์' ชื่นชม 2 แพทย์หญิงกรมอนามัย ช่วยชีวิต 2 หนูน้อยแรกคลอด ขณะเกิดเหตุ แผ่นดินไหว
—
เดชอิศม์' แสดงความชื่นชม แพทย์หญิงนภา พฤฒารัตน์ และ แพทย์หญิงพิ...