วว. เพิ่มมูลค่า "หน่อไม้ฝรั่ง" พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง ตอบโจทย์ผู้บริโภค เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าวัสดุเศษเหลือรวมถึงผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน (เกรดต่ำ/ตกเกรด) ของหน่อไม้ฝรั่ง โดยการสกัดสารสำคัญและนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ คุกกี้ธัญพืช และเครื่องดื่มผง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ มุ่งเพิ่มช่องทางธุรกิจและเสริมแกร่งให้ผู้ประกอบการไทย

วว. เพิ่มมูลค่า "หน่อไม้ฝรั่ง" พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง ตอบโจทย์ผู้บริโภค เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย

"หน่อไม้ฝรั่ง" เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและนิยมปลูกกันมากในประเทศไทย เป็นพืชที่มีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง (ประมาณ 120 - 140 บาทต่อกิโลกรัม) เนื่องจากมีความต้องการในตลาดสูง ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่การเพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 8,908 ไร่ และมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 8,271 ตันต่อปี (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2566) อย่างไรก็ตามในระหว่างการผลิตหน่อไม้ฝรั่งจะมีวัสดุเศษเหลือรวมถึงผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน (เกรดต่ำ/ตกเกรด) ประมาณร้อยละ 30 - 50 ซึ่งวัสดุเศษเหลือบางส่วนจะถูกทิ้ง เกิดเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และบางส่วนถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์และปุ๋ย

ทั้งนี้เศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งจะมีสารอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ อีกทั้งมีปริมาณเส้นใยอาหารค่อนข้างสูงด้วย โดยเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งมีปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดประมาณร้อยละ 58 - 79 โดยน้ำหนักแห้ง ดังนั้นจึงเป็นวัตถุดิบที่มีความน่าสนใจในการนำมาผลิตเป็นเส้นใยอาหารที่มีมูลค่าสูง โดยเฉพาะเส้นใยอาหารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ

จากคุณประโยชน์ของเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งดังกล่าว วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ จึงได้ศึกษาการสกัดเส้นใยอาหารจากเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการสกัดด้วยเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส อัลคาเลส และอะไมโลกลูโคซิเดส และการสกัดด้วยน้ำ โดยได้เส้นใยอาหารที่มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นและมีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำและอุ้มน้ำมันดีขึ้น นอกจากนั้นยังได้ศึกษาการสกัดเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ด้วยวิธีการสกัดด้วยเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อให้ได้ผลผลิตเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้สูงและขยายขนาดการสกัดสู่ระดับอุตสาหกรรม อีกทั้งประยุกต์ใช้เส้นใยอาหารที่ผลิตได้นำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่ วว. พัฒนา มีดังนี้

1) คุกกี้ธัญพืชผสมสารสกัดไฟเบอร์จากหน่อไม้ฝรั่ง ให้พลังงาน 528.45 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม และเป็นพลังงานจากไขมัน 312.93 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม

2) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผงผสมสารสกัดไฟเบอร์จากหน่อไม้ฝรั่ง ให้พลังงาน 346.58 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม และเป็นพลังงานจากไขมัน 23.04 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม

โดยผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดมีต้นทุนการผลิต ดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชผสมสารสกัดไฟเบอร์จากหน่อไม้ฝรั่ง มีต้นทุนประมาณ 10.126 - 10.319 บาทต่อ 100 กรัม และ 2) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผงผสมสารสกัดไฟเบอร์จากหน่อไม้ฝรั่ง มีต้นทุนประมาณ 6.231 - 9.827 บาทต่อ 100 กรัม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก วว. ติดต่อได้ที่ call center โทร. 0 2577 9000 หรือ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ โทร. 0 2577 9015 (คุณสุพัตรา โมราถบ) E-mail : innofood @ tistr.or.th หรือที่ระบบบริการลูกค้า "วว. JUMP"


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมโชว์ผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดงสำหรับบรรเทาอาการของโรคไต: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์" จัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" โอกาสนี้ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. / ธ.ก.ส. หารือแนวทางนำเทคโนโลยีเกษตร ชีวภาพ อาหาร ต่อยอดดำเนินงานร่วมกันในปี 2568 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ...