นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตนมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและเด็ก ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ในปัญหาคุณภาพชีวิตและน้ำดื่มน้ำใช้ที่ไม่มีคุณภาพและความปลอดภัย โดยกระทรวง อว. มีนโยบายเน้นย้ำให้นำผลงานวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมที่ดีตอบโจทย์แก้ไขปัญหาตรงความต้องการของประชาชน ตนจึงได้ส่งทีม "ผู้พันวิทย์" หรือหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วของกระทรวง อว. ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหา และวางแผนจัดทำข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์ พร้อมกันนั้นได้มอบหมายกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ซึ่งพบว่ามีปัญหาคุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ที่ไม่สะอาดและปนเปื้อนสารเคมี ในหลายพื้นที่ของประเทศ เช่น พื้นที่ห่างไกล พื้นที่ทุรกันดารและตนได้ขับเคลื่อนนโยบาย "การนำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน" เพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนเป็นอย่างดีด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และอาศัยกลไกสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลที่มีปัญหาน้ำดื่ม น้ำใช้ไม่ได้คุณภาพและไม่ปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเด็ก ๆ ให้มีน้ำดื่มที่สะอาดมีคุณภาพและปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่ม และตั้งได้เป้าหมายภายใน 2 ปี ทุกพื้นที่ของประเทศไทยจะมีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและปลอดภัย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล
กรมวิทย์ฯ บริการ เป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบเพื่อการอุปโภคบริโภค และมีศักยภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงานเครือข่ายมากว่า 20 ปี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ได้ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาและติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงราคาถูกมาก สามารถผลิตได้เองในพื้นที่ จนประสบความสำเร็จสามารถนำไปใช้ได้จริงเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติโดยให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องกรองน้ำและการบำรุงรักษาให้แก่ครู เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้นให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. กล่าวว่า กรมวิทย์ฯ บริการ เป็นหน่วยงานหลักด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกด้านโดยเฉพาะปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ที่ไม่ได้คุณภาพและความปลอดภัยในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกล ตนได้รับข้อมูลจากทีม "ผู้พันวิทย์" และได้มอบหมายสถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชุมชน ร่วมกับสำนักวิทยาศาสตร์บริการ เขต 9 ที่ดูแลจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ลงแก้ไขปัญหา และได้ประสานสร้างความร่วมมือกับจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานปกครองในระดับท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และการประปาภูมิภาคเขตรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า (นักศึกษาหลักสูตร ปปร. รุ่น 26) ในการดำเนินการสร้างต้นแบบการพัฒนา แก้ไขปัญหา คุณภาพน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยในพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชนและเด็ก ๆ ในพื้นที่ด้วยหลักการ "เรานำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน" ซึ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนพึ่งตนเองได้ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมน้อมนำความรู้และเทคโนโลยีด้านการกรองน้ำดื่มสะอาดที่ปลอดภัยเข้ามาช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ครูและนักเรียน ณ โรงเรียนโนนแท่นพิทยาคม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง
ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ ต้องใช้น้ำจากบ่อ และน้ำประปาไม่มีคุณภาพอยู่ในระดับที่ดื่มได้ สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนต้องซื้อน้ำดื่มบริโภค การดำเนินงานประกอบด้วย วิธีการผลิตน้ำดื่มให้มีคุณภาพปลอดเชื้อโรค และการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาดและส่งเสริมสุขอนามัยในชุมชนตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคที่อาจเกิดจากการบริโภคน้ำไม่สะอาด นอกจากนี้ ได้ให้ "สถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชุมชน" ดำเนินการสร้างและติดตั้งเครื่องกรองน้ำในพื้นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ขยายผลโมเดลการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยในพื้นที่ทั่วประเทศต่อไป
อธิบดีกรมวิทย์ฯ บริการ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อการดำเนินการโมเดลการพัฒนาฯ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้บรรลุเป้าหมายจะส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตในพื้นที่ดีขึ้นทั้งยังมีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัยและที่สำคัญด้วยพลังความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่ได้ลงปฎิบัติงานจริงในพื้นที่จะไม่เพียงแต่แก้ไขปัญหาน้ำดื่มเท่านั้น แต่เมื่อพบปัญหาอื่น ๆ ก็จะนำมาช่วยกันแก้ไขปัญหาดูแลพี่น้องประชาชน ด้วยหลักการ "เรานำวิทยาศาสตร์สู่การดูแลประชาชน" ซึ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนพึ่งตนเองได้ ด้วยพลังความร่วมมือที่มุ่งเน้น "ดูแลพี่น้องประชาชน"
กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platform ชวนโรงพยาบาล แชร์-เชื่อม-ใช้ ภาพทางการแพทย์ 2.2 ล้านภาพ หวังเป็นแพลตฟอร์มกลางที่ใช้ AI เป็นตัวช่วยคัดกรอง-หมอวินิจฉัยโรครวดเร็ว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เดินหน้าขับเคลื่อนการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในภาคสาธารณสุข โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว. โชว์ผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดง สำหรับบรรเทาอาการของโรคไต" ในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 สมาพันธรัฐสวิส
—
นางสาวศุภมา...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
'Food ingredients Asia Thailand และ Vitafoods Asia 2025' จัดงานดินเนอร์ ทอล์ก เนื่องในวันสตรีสากล
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (ที่ 4 จากขวา) รัฐมนตรีว่าการกร...
"ศุภมาส" นำทีมเสวนา วิจัยไขคำตอบ ลดตระหนก สร้างตระหนัก สู่ทางรอดภัยแผ่นดินไหว
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งช...
สจล.จัดงาน KMITL Innovation Expo 2025 ฉลอง 65 ปี โชว์นวัตกรรม กว่า 1,000 ชิ้น พร้อมเปิดตัว Knowva แชทบอทครูแนะแนว AI ตัวแรกของไทย
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี...
รมว.กระทรวง อว. วางศิลาฤกษ์ อาคาร "ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี" ณ ม.พะเยา
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา...
รัฐมนตรี อว. สนับสนุนการนำนวัตกรรมโดรนแปรอักษร ส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย ณ เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โด...