ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคที่พบบ่อย และป้องกันได้ยาก เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง ซึ่งอาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบนขณะที่ยังไม่มีอาการ นิ่วในถุงน้ำดีหากไม่รีบรักษาจะทำให้นิ่วที่อยู่ในถุงน้ำดีตกไปในท่อน้ำดี กลายเป็นนิ่วในท่อน้ำดี ทำให้มีความยุ่งยากในการรักษาและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

  • ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย
  • ปวดท้องบริเวณชายโครงขวาหรือลิ้นปี่อย่างรุนแรง มักเกิดหลังทานอาหารมัน ของทอด
  • ปวดท้องเกร็ง ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 15-30 นาที อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • ในรายที่มีนิ่วอุดตันท่อน้ำดี อาจมีไข้สูง หนาวสั่น และตาเหลือง

ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ป่วยคือมักเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร จึงซื้อยาลดกรดหรือยารักษาโรคกระเพาะมาทานเอง ส่งผลให้เมื่อมาพบแพทย์อาการมักรุนแรงและอักเสบไปมากแล้ว

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี แม้จะมีหลายวิธี แต่การผ่าตัดเอานิ่วออกเป็นวิธีที่แก้ปัญหาได้อย่างถาวร ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำและการสังเกตอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง...

นิ่วในถุงน้ำดี นวัตกรรมรักษาด้วยการ "ผ่าตัดส่องกล้อง" อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1408

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลรามคำแหง >> https://bit.ly/4bar1cLโทร.1512 ต่อ 2280, 2288, 2289Line Official : @ramhospital


ข่าวo:member+o:healวันนี้

ผลตรวจฝุ่นในพื้นที่อาคาร สตง. พบโลหะหนัก แร่ใยหินในเกณฑ์ปกติ แต่มีฝุ่นละออง PM10 เกินมาตรฐาน แนะ สวมหน้ากากป้องกันการระคายทางเดินหายใจ

กรมอนามัย ลงพื้นที่ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในศูนย์พักพิง เจเจ มอลล์ จตุจักร กรุงเทพมหานคร และบริเวณศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชนและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปฏิบัติงานกู้ซากอาคารถล่ม และญาติผู้ประสบภัยที่พักอาศัยภายในศูนย์พักพิงฯ เนื่องจากแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา พร้อมเผยผลตรวจวัดคุณภาพอากาศ พบฝุ่นโลหะหนัก แร่ใยหินอยู่เกณฑ์ปกติ แต่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐาน แนะ สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย

รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.ว... รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ — รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอา... ประจำเดือนมาเจ็บหน้าอกทุกที สาเหตุโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด — เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอายุราว 40 ปี มารักษาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็น ๆ หาย...

นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้า... ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน — นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...

กทม. เร่งดูแลรักษาคนไข้เด็กหลังได้รับยาเกินขนาด พร้อมทบทวนมาตรฐานการดูแลคนไข้

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรียนแพทย์โรงพยาบาลสังกัด กทม. ฉีดยาเกินขนาด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 68...

ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม ... เช็กลิสต์สุขภาพดีฉบับผู้หญิงยุคใหม่ — ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม "Accelerating Action" เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่...

Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเ... "Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ" — Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยและปลอดภัย โด...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... 'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...