คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง "รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 - 15.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อเผยแพร่ผลการสำรวจและบทวิเคราะห์จากโครงการ "Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying" ซึ่งคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินโครงการ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และ ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมุ่งมั่นให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตของคนไทย โดยเฉพาะปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ที่ส่งผลกระทบทางจิตใจ งานวิจัยจากคณะจิตวิทยาที่ได้รับทุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการสร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในเสวนาครั้งนี้
ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แสดงความยินดีที่ได้ร่วมการเสวนาในครั้งนี้ และเผยว่าโครงการนี้มีการจัดทำคลิปวิดีโอและการเสวนาวิชาการออนไลน์ รวมถึงการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางออนไลน์และผลกระทบทางจิตใจในประเทศไทย การเสวนาครั้งนี้เป็นบทสรุปของการวิจัยที่จะช่วยดูแลสุขภาพจิตและสร้างความตระหนักรู้ในสังคม พร้อมเชื่อว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับข้อมูลและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา Cyberbullying อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย เพื่อผลิตสื่อให้ความรู้และสื่อสร้างสรรค์เกี่ยวกับ Cyberbullying รวมถึงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางในการรับมือ Cyberbullying ในมิติของการดูแลสุขภาพจิต การเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ Cyberbullying ให้บุคคลในสังคมเกิดความตระหนักรู้ พร้อมให้ข้อมูลและแนวทางในการดูแลจิตใจหลังจากถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบต่อไป
ในงานมีการเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ร่วมแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางในการรับมือกับปัญหา Cyberbullying ประกอบด้วย
ดำเนินรายการโดย คุณรวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา DJ คลื่น Eazy fm102.5
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินโครงการ "Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying" โดยมี ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผศ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นรองหัวหน้าโครงการฯ จุดมุ่งหมายของโครงการมุ่งสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในกลุ่มประชากรไทยที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทุกกลุ่มอายุ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการป้องกันปัญหาดังกล่าวในสังคมไทย โครงการนี้จะทำการสำรวจพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ และนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ในมุมมองของนักจิตวิทยา เพื่อนำเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ และงานเสวนา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหานี้และสามารถหยุดพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง รวมทั้งยังให้ข้อมูลและแนวทางการดูแลจิตใจของเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย ได้ที่ https://bit.ly/45UxJ4F
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit