เอ็นไอเอโชว์ 3 นวัตกรรมรองรับโรครักษายาก - ค่าใช้จ่ายสูงด้วยเอไอและดีพเทค หนุนเทรนด์ Innovative Healthcare พร้อมนำนวัตกรรมเข้าถึงทุกการดูแลสุขภาพ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA หนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงฝีมือคนไทยเพื่อรองรับกลุ่มโรคที่พบบ่อย และโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง โดยเป็นนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech) ได้แก่ เทคโนโลยีการส่องกล้องทางเดินอาหารด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อรองรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการคัดกรองมะเร็งเต้านม และแพลตฟอร์มคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยการส่งเสิมนวัตกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมของไทยไปใช้ในวงกว้าง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และช่วยทำให้งบประมาณด้านการรักษาพยาบาลของไทยมีราคาถูกลง

เอ็นไอเอโชว์ 3 นวัตกรรมรองรับโรครักษายาก - ค่าใช้จ่ายสูงด้วยเอไอและดีพเทค หนุนเทรนด์ Innovative Healthcare พร้อมนำนวัตกรรมเข้าถึงทุกการดูแลสุขภาพ

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยมีความตื่นตัวในการพัฒนานวัตกรรมและกลไกการรักษาด้วยเทคนิคการแพทย์ขั้นสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มโรคที่พบบ่อยซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ทั้งนี้ นอกจากจะทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาในหลายพื้นที่ด้วยนวัตกรรมการแพทย์ที่มีราคาถูกลง

NIA ในฐานะผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรมของประเทศเห็นโอกาสและศักยภาพการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะนวัตกรรมเพื่อการวินิจฉัยหรือรักษาด้วยเทคโนโลยีเชิงลึก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อโรคที่รักษาได้ยาก การลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ การรับมือสถานการณ์ทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ลดต้นทุนบริการทางสุขภาพ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับนวัตกรรมการแพทย์ไทยให้ได้รับการยอมรับระดับโลก

"วงการแพทย์ของไทยถูกขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์โดยประยุกต์วิธีการรักษากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases : NCD) เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน และโรคหลอดเลือด ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วย Innovative Healthcare ซึ่งมีบทบาทช่วยส่งเสริมและปรับเปลี่ยนกระบวนการรักษาแบบเดิมให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำขึ้น โดยปัจจุบัน NIA มีการส่งเสริมกลุ่มนวัตกรรมเพื่อรองรับภาวะดังกล่าวซึ่งมีตัวอย่างนวัตกรรมดังต่อไปนี้"

  • AI สำหรับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้หญิง เพราะส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำ ดังนั้น การเพิ่มโอกาสการรักษาจำเป็นจะต้องทำการตรวจคัดกรองสม่ำเสมอเมื่อมีภาวะเสี่ยงด้วยเทคโนโลยีการตรวจแมมโมแกรม แต่อย่างไรก็ตามการอ่านภาพแมมโมแกรมยังมีความท้าทายหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสรีระของประชากร การขาดแคลนแพทย์รังสีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจ และการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองของกลุ่มผู้หญิงที่มีความเสี่ยง ผ่านโครงการ "การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการคัดกรองมะเร็งเต้านมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดไทยและต่างประเทศ" โดยอาศัยเทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยี Web/Mobile application ช่วยแพทย์ในการวิเคราะห์รอยโรคและวินิจฉัยคัดกรองมะเร็งเต้านม ทำให้แพทย์สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ในระยะเริ่มต้น โดยการอ่านผลด้วยแพทย์รังสีและระบบปัญญาประดิษฐ์ร่วมกันเพื่อแยกกลุ่มที่สงสัยจะมีความผิดปกติส่วนน้อยออกมาเพื่อดำเนินการต่อ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองผู้ป่วยในและต่างประเทศอย่างรวดเร็วและถูกต้องตามการยอมรับของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างแท้จริง
  • DeepGI ส่องกล้องทางเดินอาหารด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูงเป็นอันดับ 4 และมีแนวโน้มที่อัตราผู้ป่วยมะเร็งลำไส้จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการรักษาในปัจจุบันนิยมใช้วิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง Endoscopic เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ถูก และรวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม อีกทั้งมะเร็งลำไส้เป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟักตัว ดังนั้น หากตรวจพบได้เร็วจะทำให้มีโอกาสหายได้ รัฐบาลจึงสนับสนุนการตรวจคัดกรอง (Screening test) ในประชากรอายุมากกว่า 50 ปีซึ่งมีจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน ปัจจุบันสถานพยาบาลของรัฐจำนวน 13,364 แห่ง แต่มีหน่วยส่องกล้องทางเดินอาหารที่มีศักยภาพและความพร้อมประมาณ 2,000 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชนประมาณ 370 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งด้านจำนวนสถานพยาบาล และบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะการผ่าตัดแบบส่องกล้องต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูงในการวินิจฉัย บริษัท อี.เอส.เอ็ม.โซลูชั่น จำกัด ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EMR ในโรงพยาบาลด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี และมีความชำนาญด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการส่องกล้อง จึงได้พัฒนาระบบ AI ที่เรียกว่า DeepGI มาช่วยตรวจจับความผิดปกติในทางเดินอาหารขณะส่องกล้อง และนำระบบดังกล่าวมาต่อยอดเทคโนโลยีให้มีความสามารถมากขึ้น เหมาะกับการใช้งาน และมีประสิทธิภาพ ภายใต้เทคโนโลยี "Scope-Life Studio" ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก NIA ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้แพทย์ทำการตรวจรักษาแบบส่องกล้องได้แม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยงบประมาณที่เข้าถึงได้ในการรักษาภายในประเทศ อีกทั้งยังสามารถแข่งขันในระดับโลกได้อีกด้วย
  • EIPCA แพลตฟอร์มช่วยคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์ โรคทางหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก และทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมากถึงปีละ 17.9 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการคัดกรองโรคหัวใจที่ล่าช้าและเข้าถึงได้ยาก โดยในประเทศไทยมีศูนย์โรคหัวใจเพียง 37 แห่งเท่านั้น ทำให้การตรวจคัดกรองต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อผู้เข้ารับการรักษาหนึ่งคน จากปัจจัยข้างต้นสนับสนุนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เจ้าของรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 คิดค้นและพัฒนา "EIPCA แพลตฟอร์มช่วยคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์" เป็นเครื่องมือสำหรับคัดกรองโรคหัวใจด้วยการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาที่ช่วยเพิ่มอัตราการเข้าถึงการคัดกรองโรคหัวใจด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลผลกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้สามารถคัดกรองและประเมินความเสี่ยงได้ง่ายขึ้นด้วยตนเอง แต่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจในโรงพยาบาล ผ่าน 3 ขั้นตอน คือ 1) ทำแบบประเมินความเสี่ยง 2) วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย EIPCA-Device และ 3) รับผลผ่าน EIPCA-Web-Application ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ แทปเลต และโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้ตรวจทราบถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและสามารถปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำ หรือ เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้

ข่าวo:editor+o:healวันนี้

"โพรโพลิซ" สร้างปรากฏการณ์วันเสียงโลก ปล่อยแคมเปญ 'Propoliz Day Empower Your Voice' จัดโรดโชว์ส่งไอเทมสเปรย์ เม็ดอม สนับสนุนการดูแลและการใช้ 'เสียง'อย่างมั่นใจ

"บมจ.ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล" หรือ TMAN ผู้นำธุรกิจเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย เดินพันธกิจ ESG สู่ความยั่งยืนเพื่อสังคม นำโพรโพลิซ (Propoliz Series) สร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกเปิดตัวแคมเปญ "Propoliz Day Empower Your Voice" รับวันเสียงโลก ภายใต้แนวคิด "Propoliz Support ทุกการใช้เสียง เพราะเราเชื่อว่าเสียงของคุณ…สำคัญเสมอ" เดินสายจัดโรดโชว์กิจกรรมในย่านสีลม รถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง มุ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของเสียง การดูแลสุขภาพเสียงและใช้เสียงอย่างมั่นใจทุกบทบาท

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอา... ประจำเดือนมาเจ็บหน้าอกทุกที สาเหตุโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด — เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอายุราว 40 ปี มารักษาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็น ๆ หาย...

บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness ... BDMS Wellness Clinic คว้า 2 รางวัล Healthcare Asia Awards 2025 ยกระดับมาตรฐาน Wellness ไทยสู่เวทีโลก! — บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ศ...

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญ... ศิริราช เชิญร่วมบริจาคเลือดรับปีใหม่ไทย 9 - 16 เม.ย.68 — คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญรับปีใหม่ "สงกรานต์สุขใจให้เลือด" โดย...

FILA ต้อนรับซัมเมอร์ด้วยแคมเปญ FILA ELEVA... FILA ต้อนรับซัมเมอร์ด้วยแคมเปญ FILA ELEVATION 'Elevate Your Every Day' — FILA ต้อนรับซัมเมอร์ด้วยแคมเปญ FILA ELEVATION 'Elevate Your Every Day' #WITHFILAT...

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำก... บลจ.กสิกรไทย คว้า 5 รางวัลยอดเยี่ยม Best of the Best Awards 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกองทุนของไทย — บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กส...