มหาวิทยาลัยฉาง ร่วมมือกับ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ในโครงการความร่วมมือสามชาติ พัฒนาบัณฑิตปริญญาโทระดับนานาชาติ

30 Aug 2024

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 25 คนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ในประเทศไทย จะเริ่มต้นหลักสูตรปริญญาโทแบบสองปริญญา (3+2) เป็นเวลาสองปี ที่มหาวิทยาลัยฉางกังตั้งแต่ปี 2567 โดยหลักสูตรนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ โดยได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 20 ทุน พร้อมโอกาสฝึกงานในช่วงฤดูร้อนและการจ้างงานในบริษัท ในวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น ประธานมหาวิทยาลัยฉางกัง นายถัง หมิง-เชอ พร้อมคณะศาสตราจารย์และคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมจัดพิธีเปิดโครงการดังกล่าวแก่นักศึกษาไทยที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนั้นได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมทั้งด้านสื่อการเรียนรู้และด้านวิจัยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งมีการเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรให้แก่นักศึกษา

มหาวิทยาลัยฉาง ร่วมมือกับ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ในโครงการความร่วมมือสามชาติ พัฒนาบัณฑิตปริญญาโทระดับนานาชาติ

สำนักงานการต่างประเทศกล่าวว่า หลักสูตรปริญญาคู่แบบ 3+2 ช่วยให้นักศึกษาสามารถศึกษาในมหาวิทยาลัยต้นสังกัดเป็นเวลา 3 ปี เพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากนั้นไปศึกษาต่ออีก 2 ปีที่มหาวิทยาลัยพันธมิตรเพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ภายในเวลาเพียง 5 ปี นักศึกษาจะได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัดและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยพันธมิตร ในครั้งนี้สำหรับนักศึกษา 20 คนที่ได้รับทุนการศึกษาทั้ง 2 ปีจากบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ทางบริษัทฯ ได้มอบโอกาสให้นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาดังกล่าวเข้าทำงานที่เดลต้า ประเทศไทยได้ทันทีหลังจากการจบการศึกษา นอกจากนี้ นักศึกษาอีก 5 คนยังได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนจากมหาวิทยาลัยฉางกัง ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีระดับสูงระดับนานาชาติในไต้หวันอีกด้วย

ประธาน ถัง หมิง-เชอ กล่าวว่า "ไต้หวันได้ชื่อว่าเป็น 'เกาะแห่งเทคโนโลยี' ที่มีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมากมาย โดยมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในด้านเซมิคอนดักเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงมีคณะวิชาและหลักสูตรที่มีความเชี่ยวชาญ ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฉางกัง เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสองแห่งในประเทศไทย นักศึกษาจะได้รับการศึกษาและประสบการณ์ที่ดีที่สุดในสาขาของตนเอง" ประธานถังยังได้แนะนำให้นักศึกษาใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้ภาษาจีนและสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษาไต้หวัน เพื่อเข้าใจวัฒนธรรมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสายงานอาชีพในอนาคตของนักศึกษาเมื่อเข้ามาทำงานที่เดลต้าอีกด้วย"

นายฉี่ ฮ๊าว หวง หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล ของบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) เน้นย้ำว่า "เดลต้ามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยงานพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เดลต้าได้พัฒนาความสำพันธ์และความร่วมมือในหลากหลายรูปแบบ เช่น การฝึกงานด้านเทคโนโลยี, โครงการบ่มเพาะนักเทคโนโลยี และโครงการอื่น ๆ ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยโครงการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานวิจัยด้านวิชาการ ของมหาวิทยาลัยฉางกัง เราหวังว่านักศึกษาไทยทั้ง 20 คนนี้ เมื่อสำเร็จการศึกษาและการวิจัยด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยฉางกังแล้ว จะพร้อมก้าวไปอีกขั้นกับเดลต้า เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศไทยได้อย่างก้าวกระโดด"

มหาวิทยาลัยฉางกังกำลังส่งเสริมการศึกษาแบบสองภาษาอย่างจริงจัง โดยนักศึกษาต่างชาตินอกจากจะได้รับการเรียนรู้และทำวิจัยในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ยังจะได้รับการต้อนรับและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จากทางมหาวิทยาลัยในชีวิตประจำวันในตลอดการศึกษาอีกด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์กล่าวว่าในยุคโลกาภิวัตน์นี้ กลุ่มนักศึกษาในหลักสูตรปริญญาคู่แบบ 3+2 ของไทย ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ด้วยเป้าหมายที่มุ่งมั่นของโครงการคาดว่าในอนาคตจะมีนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ และแม้กระทั่งบริษัทต่าง ๆ ให้ความสนใจในการเข้าร่วมความร่วมมือที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ร่วมกันมากขึ้นกับมหาวิทยาลัยฉางกังในมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของหลักสูตรปริญญาคู่หรือการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ ความร่วมมือเหล่านี้จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้แข็งแกร่งขึ้น